thaiall logomy background
ลักษณะข้อเสนอแนะต่อบทความวิจัยจากผู้ทรงคุณวุฒิ
my town
spss | apa | peer review | TCI-1140 | research | NCCIT | ประชุมวิชาการ | อักขราวิสุทธิ์ |
กรณี ค่าสถิติ : ผู้ทรงคุณวุฒิให้ข้อเสนอแนะบทความวิจัยฟ้าทะลายโจร ระทรางสาธารณสุข ยันผลวิจัยฟ้าทะลายโจรช่วยลดปอดอักเสบผู้ป่วยที่มีอาการเล็กน้อย เหตุที่ถอนการตีพิมพ์ เพราะมีข้อผิดพลาดการคำนวณตัวเลขสถิติ 1 จุด ไม่กระทบผลวิจัยหลัก ชี้เป็นความซื่อสัตย์ที่นักวิจัยนำมาแก้ไขเพื่อส่งตีพิมพ์ใหม่ ไม่ได้ถูกวารสารปฏิเสธหรือส่งกลับคืน (9ส.ค.64)
ดยความผิดพลาดทางสถิติ 1 จุด คือ ค่านัยสำคัญทางสถิติ เนื่องจากจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่ค่อนข้างน้อย ตอนแรกค่านัยสำคัญทางสถิติอยู่ที่ 0.03 หมายถึง ทดลอง 100 ครั้ง ผลลัพธ์คงเดิม 97 ครั้ง ระหว่างรอตีพิมพ์มีการพิจารณาอีกครั้ง พบว่าค่าอยู่ที่ 0.112 หมายถึง ทดลอง 100 ครั้ง ผลลัพธ์คงเดิม 90 ครั้ง จึงต้องถอนงานวิจัยออกมา เพราะเป็นเรื่องสำคัญในทางวิชาการ นักวิจัยต้องมีความซื่อสัตย์ต่อผลลัพธ์
กรณี ปลอมผล : Hwang Woo Suk นักวิจัยที่เกาหลีใต้ถอนงานวิจัย Stem cell

Fake stem cell
สัตวแพทย์ผู้มีความรู้ด้านเทคโนโลยีชีวภาพ Hwang Woo Suk นักวิจัยที่เกาหลีใต้ถอนงานวิจัยจากเหตุที่ถูกกล่าวหาจากผู้ร่วมเขียนบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสาร ว่าที่เขาสามารถผลิตตัวอ่อนของมนุษย์จำนวน 11 ตัว และสามารถใช้ประโยชน์ stem cell จากตัวอ่อนได้นั้น หากสำเร็จอาจสามารถสร้างเนื้อเยื่อหรืออวัยวะใหม่ของผู้ป่วย เช่น หัวใจ หรือ โรคเบาหวานที่เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอ แต่พบว่า ผลการวิจัยนี้ เป็นเรื่องไม่จริงที่เขาสร้างหลักฐานปลอมหลอกลวงให้คนเชื่อ ดังนั้น Seoul National University จึงตั้งคณะกรรมการสอบสวนขึ้น พบว่า จากคำให้การของเพื่อนร่วมงานกล่าวหาว่าเขาปลอมตัวอ่อนขึ้น ที่จริงแล้วมีเพียง 2 ตัว (N=2) โดยใช้การถ่ายภาพตัวอ่อนซ้ำให้ดูเหมือนมีหลายตัว และตัวอ่อนที่สร้างขึ้น ก็ติดเชื้อและตายหมดแล้ว เป็นผลให้เขาถูกตัดความสัมพันธ์ที่เคยมีงานศึกษาวิจัยร่วมกัน
กรณี ปลอมเอกสาร : ถอดถอนตำแหน่ง ผศ. และ รศ. 44 คน บว่า กรรมการสภามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง เตรียมพิจารณาถอดถอนตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์และรองศาสตราจารย์ จำนวน 44 คน กรณี ก.พ.อ.มีคำสั่งให้ถอดถอนตำแหน่ง หลังพบมีการปลอมแปลงเอกสารการประเมินผลงานทางวิชาการ โดยให้ยุติการจ่ายเงินประจำตำแหน่งและให้ชำระเงินย้อนหลัง จากการตรวจสอบเอกสารการประเมินตำแหน่งทางวิชาการ พบความผิดปกติในขั้นตอนการประเมิน มีทั้งการคัดลอกผลงานทางวิชาการ และการเสนอผลประเมินที่เป็นเท็จ ซึ่งได้ส่งผลงาน ประเมินตำแหน่งทางวิชาการจำนวน 198 คน พบว่า มีการทุจริตโดยการปลอมแปลงเอกสารการประเมิน จำนวน 44 คน
เตรียมถอด "44 ผศ.-รศ." ปลอมเอกสาร
กกอ.ส่งคำสั่งยกเลิกขอตำแหน่งของ 50 ผศ.-รศ.
ทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ กับ รศ.ดร.ทนพ.มนัส โคตรพุ้ย ด้เข้ารับการอบรม เรื่อง "การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ การวิเคราะห์อภิมาน และแนวทางการเผยแพร่ผลงาน (Systematic review, Meta-analysis & Publication guidelines)" เมื่อวันเสาร์ที่ 29 มกราคม 2565 9.00-12.00 กับ รศ.ดร.ทนพ.มนัส โคตรพุ้ย สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดโดย มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น และมหาวิทยาลัยเนชั่น มีผู้ดำเนินรายการ คือ ดร.ทนพ.ถิรวัฒน์ วรรณตุง หัวข้อบรรยายประกอบด้วย 1) Introduction 2) Systematic review 3) Meta-analysis 4) How to report systematic review/meta-analysis? 5) Journals for publication 6) Question/Answer/Discussion ซึ่งความแตกต่างของ Narrative review กับ Systematic review นั้น มี Feature ที่แตกต่างกัน โดย Systematic review มีลักษณะ ดังนี้
1) Research question
- Specified and specific
2) Literature sources and search
- Comprehensive source (more than one database) and explicit search strategy
3) Study selection
- Explicit selection criteria and selection by two independent reviewers
4) Quality assessment included studies
- Critical appraisal on the basic of explicit quality criteria
How to conduct a systematic review and meta-analysis? มีขั้นตอนดังนี้ 1. Questions/hypothesis 2. Article searching strategy 3. Eligibility criteria 4. Study selection 5. Data extraction 6. Quality assessment (risk of bias) 7. Data syntheses 8. Publication bias
ดยคำตอบของ What is a systematic review? คือ การตอบคำถามที่สงสัยโดยใช้หลักฐานทางวิชาการที่ดีที่สุดในขณะนั้น ส่วนคำตอบที่น่าสนใจต่อคำถามที่ว่า ควรเริ่มต้นอย่างไรในการเริ่มต้น คำตอบคือ ควรเริ่มต้นจากการสืบค้นหาบทความที่มีคุณภาพมาอ่านเพื่อเป็นแนวทาง หรือทำความเข้าใจจาก Prisma 2020 checklist ในการเขียน Reporting systematic reviews ก็ได้
การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ : วิธีการปฏิบัติทีละขั้นตอน

อัจฉรา คำมะทิตย์, และมัลลิกา มากรัตน์. (2559). การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ : วิธีการปฏิบัติทีละขั้นตอน. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 3(3), 246-259.

ขั้นตอนการทำการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ (Systematic Review) - ตาราง 2 หน้า 250
1. สรรหาคณะทำงาน
2. เขียนโครงร่างการศึกษาตามประเด็นต่าง ๆ
2.1 หลักการและเหตุผลในการทบทวนวรรณกรรม (Background)
2.2 ระบุประเภทการทบทวนวรรณกรรม (Type of Review) เช่น เชิงทดลอง หรือเชิงพรรณนา
2.3 วัตถุประสงค์การทบทวนวรรณกรรม (Objective)
2.4 คำถามการทบทวนวรรณกรรม (Review Question) เช่น วัคซีนใดป้องกันได้ดีกว่า
2.5 กรอบ PICO (Participant คือกลุ่มตัวอย่าง , Intervention, Comparison, Outcome)
2.6 กระบวนการทบทวนวรรณกรรม (Review Process)
2.6.1 Concept
2.6.2 Searching Terms
2.6.3 Inclusion Criteria เกณฑ์นำเข้า
2.6.4 Exclusion Criteria เกณฑ์นำออก
2.6.5 Database เช่น Medline, Pubmed, CINAHL, Thailis
2.7 การตรวจสอบคุณภาพงาน
2.7.1 Critical Appraisal process
2.7.2 Critical Appraisal Tools เครื่องมือประเมินค่างานวิจัย
2.8 ตารางรวบรวมข้อมูล (Data Extraction Sheet)
2.9 การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis)
3. การดำเนินงาน
3.1 การคัดกรองผลงาน (Screening)
3.2 สรุปตารางการสืบค้น
3.3 การพิจารณาคุณภาพงานวิจัยตามเกณฑ์ Critical Appraisal Tool
3.4 การวิเคราะห์และสรุปผลองค์ความรู้
4. การเขียนสรุปผลการศึกษา
สรุปลักษณะข้อเสนอแนะต่อบทความภาคบรรยาย และโปสเตอร์ จากผู้ทรงคุณวุฒิ รุปลักษณะข้อเสนอแนะต่อบทความภาคบรรยาย และโปสเตอร์ จากผู้ทรงคุณวุฒิ ที่เรียบเรียงจากบทความวิจัย เรื่อง การประเมินคุณภาพบทความวิจัยในการประชุมสัมมนาวิชาการการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติเครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 17 โดย สุวารีย์ วงศ์วัฒนา, ยุพร ริมชลการ, ไพศาล ริ้วธงชัย, และพัชราวลัย มีทรัพย์ ใน วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม–ธันวาคม 2561 ซึ่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ใช้การรวบรวมแบบประเมินบทความวิจัยในการประชุมสัมมนาวิชาการการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 17 ที่ผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความวิจัย (Peer review) จำนวน 435 บทความ
หัวข้อพิจารณาคุณภาพบทความ
1. การศึกษาและทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
2. ความคิดริเริ่มหรือองค์ความรู้ใหม่ทางเทคนิคหรือจุดเด่น
3. ขั้นตอน กระบวนการวิจัยที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ
4. ผลการวิจัย
5. ความถูกต้องและสมบูรณ์ทางวิชาการ
6. การลำดับเนื้อหาของบทความ ภาษาที่ใช้ วิธีการนำเสนอ
7. ความชัดเจนของภาพประกอบ หรือตารางหรือการอธิบาย
8. การนำไปใช้ประโยชน์ ประยุกต์ใช้ได้จริง
    สรุปลักษณะข้อเสนอแนะต่อบทความ จำแนกได้ 13 ประเด็นจาก 435 บทความ
    1. บทคัดย่อ / Abstract : มีจำนวน 51 บทความ
  1. 1.1 ตรวจสอบข้อความในบทคัดย่อ และ Abstract ให้ถูกต้อง และสอดคล้องกัน
  2. 1.2 ปรับบทคัดย่อ และ Abstract ให้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์
  3. 1.3 ปรับผลการวิจัยในบทคัดย่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
  4. 1.4 ควรปรับบทคัดย่อให้กระชับ ตามรูปแบบการเขียนบทคัดย่อ
  5. 1.5 เมื่อมีการปรับเนื้อหาก็ควรปรับบทคัดย่อให้สอดคล้องกัน
  6. 1.6 รูปแบบการเขียนยังขาดความชัดเจนควรเขียนเป็น 2 ย่อหน้า ย่อหน้าที่ 2 เป็นผลงานวิจัย
  7. 2. บทนำ และการทบทวนวรรณกรรม : มีจำนวน 46 บทความ
  8. 2.1 แนวคิดสภาพปัญหาควรเรียบเรียงให้กระชับชัดเจน ควรเขียนแบบสรุปไม่จำเป็นต้องให้รายละเอียดทั้งหมด
  9. 2.2 แนวคิดหรือบทนำไม่ควรเขียนเหมือนเอาแนวคิดทฤษฎีมาเชื่อมต่อกัน ควรมีการอ้างอิง ไม่ควรเกิน 2 หน้า
  10. 2.3 ควรตัดหัวข้อคำว่า ทบทวนวรรณกรรม และตัดส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องออก
  11. 2.4 ควรเขียนบทนำให้ครอบคลุมตัวแปรที่ศึกษา
  12. 2.5 การทบทวนวรรณกรรมควรสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การวิจัย
  13. 2.6 ควรเขียนความเป็นมาและปัญหาการวิจัยให้สะท้อนถึงที่มาของการทำวิจัยเรื่องนี้
  14. 2.7 ในบทนำควรเพิ่มการทบทวนวรรณกรรม เพื่อนำผลการวิจัยที่ผ่านมาช่วยสนับสนุนให้เกิดงานวิจัยในเรื่องนี้
  15. 3. วัตถุประสงค์ของการวิจัย : มีจำนวน 12 บทความ
  16. 3.1 การปรับวัตถุประสงค์ให้สอดคล้องกับชื่อเรื่อง หรือปรับชื่อเรื่องให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
  17. 3.2 กรณีการวิจัยไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และขอเสนอแนะ ควรปรับให้สอดคล้องกัน
  18. 3.3 ควรเขียนวัตถุประสงค์ให้สื่อความหมายที่กระชับ และชัดเจน
  19. 3.4 วัตถุประสงค์กับสมมติฐานการวิจัยควรสัมพันธ์กัน
  20. 4. ขอบเขตการวิจัย : มีจำนวน 6 บทความ
  21. 4.1 ควรเพิ่มหัวข้อขอบเขตการวิจัย
  22. 4.2 ควรเพิ่มตัวแปรที่ศึกษาให้ชัดเจน
  23. 4.3 ควรเขียนขอบเขตการวิจัยให้ชัดเจนครอบคลุมตามหลักการ
  24. 5. สมมติฐานการวิจัย : มีจำนวน 10 บทความ
  25. 5.1 ควรเพิ่มสมมติฐานการวิจัย
  26. 5.2 ควรปรับแก้สมมติฐานให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การวิจัย
  27. 5.3 ในกรณีที่เนื้อหามีการทดสอบสมมติฐานแต่ไม่มีการตั้งสมมติฐาน ขอเสนอแนะให้ตั้งสมมติฐานด้วย
  28. 6. ประชากร และกลุ่มตัวอย่าง : มีจำนวน 20 บทความ
  29. 6.1 ควรมีการระบุวิธีการสุ่มตัวอย่างให้ชัดเจน
  30. 6.2 ควรระบุประชากรและกลุ่มตัวอย่างให้ชัดเจน
  31. 6.3 ควรกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างให้ชัดเจน
  32. 6.4 ถ้าใช้ประชากรควรตัดกลุ่มตัวอย่างออก
  33. 7. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย และการเก็บรวบรวมข้อมูล : มีจำนวน 29 บทความ
  34. 7.1 ควรระบุวิธีการได้เครื่องมือ/วิธีสร้างเครื่องมือ/เครื่องมือที่ใช้นำมาจากแนวคิดใครพร้อมผลการพัฒนาคุณภาพเครื่องมือ
  35. 7.2 ควรเพิ่มหัวข้อเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
  36. 7.3 ควรทำการ Try Out เพื่อหาค่า Reliability ของเครื่องมือ
  37. 7.4 ควรระบุเกณฑ์หา Rating Scale
  38. 7.5 ควรเพิ่มค่า IOC
  39. 7.6 ควรมีการระบุผู้เชี่ยวชาญในการตรวจเครื่องมือ
  40. 7.7 ควรระบุวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลให้ชัดเจน
  41. 8. การวิเคราะห์ข้อมูล : มีจำนวน 8 บทความ
  42. 8.1 ควรบอกสถิติที่ใช้ ไม่จำเป็นต้องระบุสูตรทางสถิติ
  43. 8.2 ควรเลือกใช้สถิติให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย
  44. 9. ผลของการวิจัย : มีจำนวน 40 บทความ
  45. 9.1 ผลของการวิจัยเชิงปริมาณควรนำเสนอด้วยตารางตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจน
  46. 9.2 ควรปรับแก้การแปลผล และการบรรยายผลใต้ตารางให้ถูกต้องกระชับและชัดเจน
  47. 9.3 ควรปรับแก้ผลการวิจัยให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย
  48. 9.4 ควรปรับตารางแสดงผลการวิจัยให้ชัดเจน
  49. 9.5 ผลการวิจัยควรสอดคล้องกับเครื่องมือการวิจัย
  50. 9.6 ควรจัดหมวดหมู่ของผลการวิจัยให้กระชับ ชัดเจน และตรงประเด็น
  51. 10. การอภิปรายผล : มีจำนวน 30 บทความ
  52. 10.1 ควรมีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาอภิปรายผล
  53. 10.2 ควรปรับการเขียนอภิปรายผล ไม่ควรเขียนเหมือนการรายงานผลการวิจัยและสรุปผลการวิจัย
  54. 10.3 ควรเพิ่มหัวข้อการอภิปรายผล
  55. 10.4 ควรมีการศึกษาตัวอย่างการอภิปรายผลเพื่อนำมาเป็นแนวทาง
  56. 10.5 ควรมีการอภิปรายผลถึงแม้จะเป็นการศึกษาเอกสาร
  57. 10.6 ควรอภิปรายผลตามวัตถุประสงค์การวิจัย
  58. 10.7 การอภิปรายผลควรอ้างอิงเอกสารไม่ควรเกิน 10 ปี
  59. 11. ข้อเสนอแนะการวิจัย : มีจำนวน 16 บทความ
  60. 11.1 ควรเพิ่มข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้และการวิจัยในครั้งต่อไป
  61. 11.2 ข้อเสนอแแนะต้องมาจากผลการวิจัยเท่านั้น
  62. 11.3 ควรเขียนข้อเสนอแนะในการวิจัยให้ชัดเจนโดยแยกเป็นข้อ ๆ และควรเสนอแนะบนฐานของข้อค้นพบ
  63. 12. เอกสารอ้างอิง : มีจำนวน 75 บทความ
  64. 12.1 ควรเขียนการแทรกอ้างอิงและเอกสารอ้างอิงให้ถูกต้องตามรูปแบบที่การประชุมวิชาการกำหนด
  65. 12.2 เอกสารอ้างอิงให้เขียนเฉพาะที่ใช้อ้างอิงในงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเท่านั้น
  66. 12.3 ควรตรวจสอบ และแก้ไขการแทรกอ้างอิงให้ถูกต้อง ครบถ้วน และสอดคล้องเอกสารอ้างอิงท้ายบทความ
  67. 12.4 เอกสารอ้างอิงไม่ควรเกิน 10 ปีย้อนหลัง
  68. 12.5 เอกสารอ้างอิงมีน้อยเกินไป
  69. 12.6 ไม่ควรนำข้อมูลจาก Wikipedia มาอ้างอิง
  70. 13. ข้อเสนอแนะอื่น ๆ : มีจำนวน 92 บทความ
  71. 13.1 พบคำผิด การพิมพ์ การเว้นวรรคจำนวนมาก ควรตรวจสอบให้รอบคอบก่อนเข้าสู่ขั้นตอนพิจารณา
  72. 13.2 ควรศึกษารูปแบบวิธีการเขียนแต่ละหัวข้อให้ถูกต้องตามที่กำหนดไว้
  73. 13.3 ควรใช้ภาษาที่เป็นสากล คือ ให้ใช้ภาษาเขียนแทนภาษาพูด
  74. 13.4 ควรมีการเพิ่มกรอบแนวคิดการวิจัย
  75. 13.5 เขียนกรอบแนวคิดในการวิจัยให้ถูกต้อง และสอดคล้องกับตัวแปร
  76. 13.6 ควรระบุทฤษฎีที่ได้เป็นกรอบในการวิจัย
  77. 13.7 การใช้คำในบทความควรเขียนให้เหมือนกันทั้งบทความ ไม่ควรเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา
  78. 13.8 ควรตรวจสอบความถูกต้อง ตั้งแต่บทนำ วัตถุประสงค์ วิธีดำเนินการวิจัย ผลการวิจัย สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
  79. 13.9 เขียนบทความไม่ควรเขียนวกไปวนมา ควรเรียบเรียงให้กระชับ ชัดเจน ตรงประเด็นที่กำหนดไว้ มีการจัดลำดับก่อนหลัง
  80. 13.10 นิยามศัพท์เฉพาะไม่จำเป็นต้องมีในบทความ
  81. 13.11 การเขียนภาษาอังกฤษในวงเล็บควรต้องพิจารณาว่าจำเป็นหรือไม่ เพราะอาจทำให้ข้อความที่บรรยายสะดุดในการอ่าน
  82. 13.12 ควรเขียนชื่อเรื่องกับเนื้อหาให้สอดคล้องกัน
  83. 13.13 หัวข้อที่เสนอขาดการเกริ่นนำ ควรมีการเกริ่นนำในแต่ละหัวข้อที่นำเสนอ

เอกสาร pdf - 71 ตัวอย่างข้อเสนอแนะเขียนบทความวิจัย
คำถามชวนแลกเปลี่ยน 1. ท่านเคยได้รับข้อเสนอแนะ ที่คล้ายกับในรายการข้างต้น มีข้อใดบ้าง
2. ประสบการณ์ที่เคยได้รับข้อเสนอแนะ ที่เคยได้รับ แต่ไม่อยู่ในรายการข้างต้น มีลักษณะอย่างไร
3. โปรดบอกเล่าประสบการณ์ของท่าน ในการส่งผลงานไปตีพิมพ์ในวารสารต่าง ๆ
การประชุมวิชาการ / วารสาร / TCI และแบบฟอร์ม TCI-2 วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ / แบบฟอร์มบทความวิจัย
TCI-2 วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์ (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา) / แบบฟอร์มบทความวิจัย
TCI-1 วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตรบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ / แบบประเมินบทความวิจัย ***
TCI-1 วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ / รายละเอียด / แบบประเมินบทความวิจัย ***
แบบฟอร์ม สรุปรายละเอียดการแก้ไขบทความวิจัย (ใช้ในกรณีที่ต้องแก้ไข และส่งใหม่)
การประเมินคุณภาพบทความวิจัยในการประชุมสัมมนาวิชาการการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 17 #
การประเมินคุณภาพวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI รอบที่ 4 (2563-2567) / เกณฑ์เชิงคุณภาพ รอบ 4
มัลลิกา ธรรมจริยาวัฒน์ และ จำเนียร จวงตระกูล. (2563). ระบบการประเมินบทความก่อนการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการในประเทศไทย : ปัญหาและกลยุทธในการแก้ไข. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 14(3), 1-14.
rspsocial
Thaiall.com