thaiall logomy background รวมการประชุมวิชาการระดับชาติ
my town
conference

ประชุมวิชาการระดับชาติ

การเผยแพร่ผลงานวิจัยในการประชุมวิชาการระดับชาติ คือ การนำเสนอบทความวิจัยในการประชุมวิชาการและบทความฉบับสมบูรณ์ (Fullpaper)ได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุม (Proceedings) โดยมี กองบรรณาธิการจัดทำรายงานการประชุม หรือคณะกรรมการจัดประชุม ประกอบด้วย ศาสตราจารย์หรือผู้ทรงคุณวุฒิระดับปริญญาเอก หรือผู้ทรงคุณวุฒิที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับในสาขาวิชานั้นๆ
spss | apa | peer review | TCI-1140 | research | NCCIT | ประชุมวิชาการ |
การประชุมวิชาการระดับชาติ (National Conference)
mba student Lampang 2020 บูมลำปาง สู่เมืองเศรษฐกิจใหม่
ารเผยแพร่ผลงานวิจัยในการประชุมวิชาการระดับชาติ (National Conference) หมายถึง การนำเสนอบทความวิจัยในการประชุมวิชาการและบทความฉบับสมบูรณ์ (Fullpaper)ได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุม (Proceedings) โดยมี กองบรรณาธิการจัดทำรายงานการประชุม หรือคณะกรรมการจัดประชุม ประกอบด้วย ศาสตราจารย์หรือผู้ทรงคุณวุฒิระดับปริญญาเอก หรือผู้ทรงคุณวุฒิที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับในสาขาวิชานั้นๆ จากนอกสถาบันเจ้าภาพ อย่างน้อยร้อยละ 25 โดยต้องมีผู้ประเมินบทความที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้นด้วย และมีบทความที่มาจากหน่วยงานภายนอกสถาบันอย่างน้อย 3 หน่วยงาน และรวมกันแล้วไม่น้อยกว่าร้อยละ 25
** บทความในการประชุมวิชาการทั้งระดับชาติและนานาชาติ ที่นำเสนอให้กองบรรณาธิการหรือคณะกรรมการจัดประชุมพิจารณาคัดเลือก ต้องเป็นฉบับสมบูรณ์ (Full paper) และได้รับการตีพิมพ์ ซึ่งสามารถอยู่ในรูปแบบเอกสารหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้
อ้างอิง คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษภายใน ระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2557 หน้า 33 #
ความเป็นมาของการประชุมวิชาการ
Lampang 2020 บูมลำปาง สู่เมืองเศรษฐกิจใหม่
ด้วยเหตุที่ โลกของเรามีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลาในแบบที่เรียกว่า โลกาภิวัตน์ (Globalization) ยกระดับในทุกด้าน เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และสุขภาพ โดยการใช้องค์ความรู้ทั้งวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ แทนที่การเน้นใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่นับวันจะหมดลง หน่วยงานด้านการศึกษา จึงร่วมกันจัดประชุมวิชาการทั้งในระดับชาติ และนานาชาติ พร้อมสร้างความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษากับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และระหว่างประเทศ เพื่อจัดให้มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์อย่างกว้างขวาง ที่เปิดให้นักวิชาการ นักวิจัย นิสิต นักศึกษา และผู้สนใจ ได้ใช้เป็นเวทีเพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยอันนำไปสู่การประยุกต์ใช้ ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์ และสุขภาพ ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาสังคมโลกอย่างยั่งยืนต่อไป
conferenceinthai.com
ประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น ครั้งที่ 20 : ปาฐกถาพิเศษ
ภาพวาดการ์ตูนฝีพระหัตถ์ เกษตรทฤษฎีใหม่แบบประยุกต์ (โคก หนอง นา) แก่ปวงชนชาวไทย การประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 20 กำหนดการ การประชุมวิชาการระดับชาติ ดร.กฤษฎา ตันเปาว์ มอบของที่ระลึกแก่ ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร
ระชุมวิชาการและนําเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 เรื่อง ปลูกถ่ายแนวคิดการวิจัย สู่การขับเคลื่อนนวัตกรรม เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน วันเสาร์ที่ 25 และวันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2565 ณ อาคารคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น อําเภอลําลูกกา จังหวัดปทุมธานี โดยมี ดร.ประภากร สมิติ นายกสภามหาวิทยาลัยเวสเทิร์น ประธานในพิธีกล่าวต้อนรับ และ เปิดการประชุมวิชาการและนําเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 เรื่อง “ปลูกแนวคิดการวิจัย สู่การขับเคลื่อนนวัตกรรม นําเศรษฐกิจ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” และมี ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง "เศรษฐกิจพอเพียงสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน" โดย ดร.วิวัฒน์ ศัลยกําธร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ด้ฟัง ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร ผู้ที่ลูกศิษย์เรียกว่า “อาจารย์ยักษ์ มีประเด็นที่น่าสนใจมากมาย เช่น ทฤษฎีการเติบโต 5 ขั้นของรอสตาว (Rostow's 5 Stages of Growth) : 1) จอดนิ่งติดเครื่อง 2) วิ่งบนรันเวย์ 3) ทะยาน 4) ติดลมบน 5) สะสมความมั่งคั่ง หรือ ปรัญชาเศรษฐกิจพอเพียง หรือ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานภาพวาดการ์ตูนฝีพระหัตถ์ เกษตรทฤษฎีใหม่แบบประยุกต์ (โคก หนอง นา) แก่ปวงชนชาวไทย เมื่อ 29 มกราคม 2564 พร้อมพระราชทานข้อความว่า "VOR. KOR." "AJ. Yak's Class" "Sustainable Agronomy" และทรงพระประมาภิไธย 29th Jan 64 แล้วได้ยกกรณีตัวอย่างการพัฒนาของ โรงเรียนปูทะเลย์มหาวิชชาลัย - ศูนย์การเรียนกสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง ศูนย์การเรียนกสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง ในสังกัด สพป.ชลบุรี เขต1 และ สพม.เขต18 เปิดคลิปวิดีโอ ที่เล่าถึงแนวคิดของโรงเรียนปูทะเลย์ แนะนำ ครูอาบอำไพ รัตนภาณุ (พี่แตง) ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์การเรียนกสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง (โรงเรียนปูทะเลย์มหาวิชชาลัย) และอาจารย์พิเศษ คณะศิลปศาสตร์ หลักสูตรผู้ประกอบการสังคม สถาบันอาศรมศิลป์
ก่อนจบปาฐกถาพิเศษ มีผู้ร่วมประชุม คือ รศ.ดร.สืบพงศ์ สุขสม ได้มีคำถาม เรื่องการเชื่อมโยงทฤษฎีด้านการพัฒนาฯ ซึ่ง ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร ได้ตอบว่า เป็นเรื่องที่ท่านทำวิจัยมา หากตอบแบบละเอียดก็จะใช้เวลาหลายวันได้เลย ส่วนที่จะเชิญมาบรรยายให้นิสิตของมหาวิทยาลัย ขอจัดแบบ Active learning เพราะแบบ Passive learning ที่บรรยายคนเดียว จะได้ประโยชน์น้อยกว่า จึงต้องการจัดแบบพูดคุยแลกเปลี่ยน จะได้ผลดีกว่า แล้ว ผศ.ดร.กฤษฎา ตันเปาว์ เป็นตัวแทนของที่ประชุมมอบของที่ระลึกให้กับ ดร.วิวัฒน์ ศัลยกําธร
ประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น ครั้งที่ 20 : โปสเตอร์
เรื่อง ปลูกถ่ายแนวคิดการวิจัย สู่การขับเคลื่อนนวัตกรรม เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติครั้งที่ 20 วันเสาร์ที่ 25 และวันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน 2565 ณ อาคารคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาเขตวัชรพล พบว่า เพื่ออาจารย์หลายท่าน นำเสนอผลงานวิชาการในการประชุมครั้งนี้ ผมเข้าไปที่ ตรวจสอบสถานะ แล้วก็ค่อย ๆ เลื่อนดูชื่อ พบ อ.ศศิวิมล แรงสิงห์ อ.พัชรีภรณ์ หรพร้อม อ.วีระพันธ์ แก้วรัตน์ ส่งผลงานเข้าไปในระบบแล้ว ไปดูหัวข้อกำหนดการ พบว่าหมดเขตส่งผลงาน 31 พฤษภาคม 2565 โดยครั้งนี้มี นายวิวัฒน์ ศัลยกำธร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มาเป็นปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียงสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน“
รวมการเผยแพร่โปสเตอร์จากการประชุม
การประชุมวิชาการ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ #EDTECH2016
การประชุมวิชาการระดับชาติ เทคโนโลยีการศึกษาสัมพันธ์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 30 ณ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 21 - 22 มกราคม 2559 จัดโดย ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร สมาคมเทคโนโลยีการศึกษาแห่งประเทศไทย และสถาบันอุดมศึกษากว่า 30 สถาบัน
edtech30.weebly.com/
#SKRU2016
การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ครั้งที่ 6 "การศึกษาและวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น" The 6th SKRU Conference: Focus on Education and Culture for Community Development 15 - 16 สิงหาคม 2559 ณ อาคารศูนย์ภาษาและคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา จัดโดย มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
research-skru.com/conference2016/
#KUSRC2016
งานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 1 "การวิจัยเพื่อพัฒนาอย่างยั่งยืน" 26 สิงหาคม 2559 ณ ห้องประชุมชั้น 4 อาคาร 14 หอสมุดอนุสรณ์ 10 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา จัดโดย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา
src.ku.ac.th/conference/
#TECHCON2016
การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 2 นวัตกรรมและงานวิจัย กลไกพัฒนาประเทศ 14 กรกฎาคม 2559 จัดโดย คณะเทคโนโลยี วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม
siamtechno.ac.th
#JCSSE2016
13th International Joint Conference on Computer Science and Software Engineering (JCSSE) "Machine Learning in the Internet of Things Era" 13 - 15 July 2016, Pullman Khon Khaen Raja Orchid Hotel, Thailand organized by the Department of Computer Science, Faculty of Science Khon Kaen University, Thailand
jcsse2016.cs.kku.ac.th/
jcsse2016.cs.kku.ac.th/../CFP_version25_30April2016.pdf
jcsse2016.cs.kku.ac.th/../eHPC2016.pdf
#KDS2015
การประชุมวิชาการระดับชาติ สังคมความรู้และดิจิตอล Knowledge & Digital Society National Conference ณ โรงแรมแคนทารี่ฮิลส์ จังหวัดเชียงใหม่ 25 - 26 ธันวาคม 2558 จัดโดย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
! http://kds2015.camt.cmu.ac.th/
#NCTECHED2016
การประชุมวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรมระดับชาติ ครั้งที่ 9 The 9th National & the 4th International Conference onf Technical Education 24 - 25 พฤศจิกายน 2016 จัดโดย คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ncteched.fte.kmutnb.ac.th/
#IEC2015
The Sixth TCU International e-Learning Conference 2015 International e-Learning Conference 2015 (IEC2015) 20 - 21 กรกฎาคม 2015 จัดโดย โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
iec2021.thaicyberu.go.th/
#NCIT2015 #ICITEE2015
การประชุมวิชาการระดับประเทศทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ครั้งที่ 7 (National Conference on Information Technology : NCIT) 29-30 ตุลาคม พ.ศ. 2558 จัดโดย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ncit2015.it.kmitl.ac.th/
icitee2015.it.kmitl.ac.th/
ncit2015.it.kmitl.ac.th/call-for-paper/
facebook.com/ncit.thailand/
#ECIT-CARD2016
การประชุมวิชาการงานวิจัยและพัฒนาเชิงประยุกต์ ECIT-CARD 2016 ครั้งที่ 8 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอย่างชาญฉลาดเพื่อตอบสนองภาคอุตสาหกรรมสมัยใหม่อย่างยั่งยืน 27 - 29 กรกฎาคม 2559 ณ โรงแรมหัวหินแกรนด์ แอนด์ พลาซ่า ประจวบคีรีขันธ์ จัดโดย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร สาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ และสมาคมวิชาการไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ โทรคมนาคมและสารสนเทศประเทศไทย
ecticard2016.ecticard.org/
ecticard2016.ecticard.org/
#ACTIS2016 #NCOBA2016
การประชุมวิชาการด้านคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศประยุกต์ ครั้งที่ 9 The 9th National Conference and 2016 International Conference on Applied Computer Technology and Information Systems and 2016 National Conference on Business Administration 19 กุมภาพันธ์ 2559 นครพนม Organized by : Nakhon Pathom Rajabhat University
actis2016.npru.ac.th
#NCCIT2016 #IC2IT2016
การประชุมทางวิชาการระดับชาติด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ครั้งที่ 12 7 - 8 กรกฎาคม 2559 ณ โรงแรมเซ็นทาราแอนด์คอนเวนชั่นเซนเตอร์ ขอนแก่น
nccit.net
แหล่งสืบค้น พบว่า ในมหาวิทยาลัยเนชั่น อ.อดิศักดิ์ จำปาทอง ได้แชร์ข้อมูลข่าวสาร การเผยแพร่แหล่งสืบค้นฯ โดย CMMU Library เรื่อง ระบบสืบค้นวารสารอิเล็กทรอนิกส์ (e-Journals) แบบไม่ต้องใช้รหัสผ่าน
1. Oxford Open รวบรวมงานวิจัยคุณภาพเอาไว้ในรูปแบบ Open Access
https://academic.oup.com/journals/pages/open_access/
2. Open Access Library Inc.
https://www.oalib.com/
3. Thai Journals Online (ThaiJO)
https://www.tci-thaijo.org/
4. Springer Open
https://www.springeropen.com/
5. Hindawi Publishing Corporation
https://www.hindawi.com/
6. Chulalongkorn Journal online (CUJO)
http://eresource.car.chula.ac.th/chula-ejournals/
7. Cambridge University Press
https://www.cambridge.org/core/what-we-publish/open-access/
8. ScienceOpen
https://www.scienceopen.com/
9. วารสารจากสำนักพิมพ์ชั้นนำทั่วโลก
https://www.facebook.com/CMMAHIDOL/posts/162392805443619
https://www.elsevier.com/open-access/open-access-journals
https://about.jstor.org/oa-and-free/
https://www.tandfonline.com/openaccess/openjournals
https://www.emerald.com/insight/content/open-access
https://muse.jhu.edu/search?action=oa_browse
https://authorservices.wiley.com/open-research/open-access/browse-journals.html
https://open.ieee.org/
https://uk.sagepub.com/en-gb/asi/pure-gold-open-access-journals-at-sage
https://www.worldscientific.com/page/open#Open-Access-Journals
ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ทั่วโลก
NDLTD (Networked Digital Library of Theses & Dissertations)
http://www.ndltd.org/
OATD
https://oatd.org/
PQDT OPEN
https://pqdtopen.proquest.com/search.html
EBSCO Open Dissertation
https://biblioboard.com/opendissertations/
ฐานข้อมูลเริ่มต้นสำหรับผู้ทำวิจัยและนักศึกษา
https://www.facebook.com/CMMAHIDOL/posts/168904091459157
รายชื่อวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ (Mahidol e-Theses)
https://www.li.mahidol.ac.th/list-e-thesis
การประชุม หรือวารสาร ต่างก็มีรูปแบบ full paper ที่กำหนดขึ้น ตัวอย่างรูปแบบบทความ จาก วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คำแนะนำผู้แต่ง
การจัดเตรียมต้นฉบับบทความ
1) ต้นฉบับบทความต้องเป็นไฟล์เวิร์ด (Microsoft word) เท่านั้น
2) กระดาษ A4 มีความยาวระหว่าง 10-15 หน้า (รวมหน้า References) พิมพ์บนกระดาษหน้าเดียว 1 คอลัมน์ ใช้ตัวอักษรแบบ THSarabunPSK (ขนาดอักษร 16 pt.)
3) ตั้งค่าหน้ากระดาษโดยเว้นขอบกระดาษ ขอบบน – ล่าง.1.23 นิ้ว ขอบขวา - ซ้าย 1.06 นิ้ว
4) การนำเสนอรูปภาพและตาราง ต้องนำเสนอรูปภาพและตารางที่มีความคมชัดพร้อมระบุหมายเลขและชื่อกำกับใต้รูปภาพไว้ด้านล่าง พิมพ์เป็นตัวหนา เช่น ตารางที่ 1 หรือ Table 1 และ รูปภาพที่ 1 หรือ Figure 1 โมเดลที่ 1 หรือ Model 1 รูปภาพที่นำเสนอต้องมีคำอธิบายรายละเอียดของข้อมูลครบถ้วนและเข้าใจได้โดยไม่จำเป็นต้องกลับไปอ่านที่เนื้อความอีก ระบุลำดับของรูปภาพทุกรูปให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่อยู่ในต้นฉบับ โดยคำอธิบายต้องกระชับและสอดคล้องกับรูปภาพที่นำเสนอ
5) ชื่อเรื่องต้องมีภาษาไทย (18 pt.) และภาษาอังกฤษ (18 pt.) ตรงกลางหน้ากระดาษ
6) ชื่อผู้เขียน ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (14 pt.) ไม่ต้องระบุตำแหน่งทางวิชาการ คำนำหน้า นาย/นาง/นางสาว/คุณ/ยศตำแหน่ง (ยกเว้นกรณีเป็นพระภิกษุ) พิมพ์ด้วยตัวอักษรปกติอยู่ใต้ชื่อเรื่องโดยชิดขอบขวา และใช้ตัวเลขยกกำกับหน้าชื่อผู้เขียนแสดงชื่อหน่วยงาน
7) มีบทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไม่เกิน 500 คำต่อบทคัดย่อ
8) กำหนดคำสำคัญ (Keywords) จากชื่อบทความ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (3 - 5 คำ)
9) การเรียงหัวข้อ หัวข้อใหญ่สุด (16 pt. ตัวหนา) ให้พิมพ์ชิดขอบด้านซ้าย หัวข้อย่อย (16 pt. ตัวหนา)
10) การใช้ตัวเลขตลอดทั้งบทความ ต้องใช้ตัวเลขอารบิกทั้งหมด ไม่ใช้ตัวเลขไทย
รูปแบบบทความวิจัย
บทความวิจัยมีองค์ประกอบหัวข้อ ดังนี้
1) ชื่อเรื่องภาษาไทย (18 pt.) ภาษาอังกฤษ (18 pt.)
2) ชื่อผู้เขียนและผู้ร่วมเขียนบทความ (ภาษาไทย 14 pt.)
- ผู้เขียนระบุเลขยกหน้าชื่อผู้เขียนแต่ละท่าน
3) ชื่อผู้เขียนและผู้ร่วมเขียน (ภาษาอังกฤษ 14 pt.)
4) คณะ, สถาบัน (ภาษาไทย 14 pt.) ไม่ต้องหนา
- (คณะหรือสถาบันที่ต่างกันระบุเลขยกตามลำดับ)
5) Faculty, Institute, Thailand. (อังกฤษ 14 pt.) ไม่ต้องหนา
6) Corresponding Author’s Email (อีเมลผู้ติดต่อประสานบทความ 14 pt.)
7) บทคัดย่อ (หัวเรื่อง 16 pt., เนื้อความ 14 pt., 500 คำ, ระบุวัตถุประสงค์วิจัย ประเภทของงานวิจัย กลุ่มประชากร พื้นที่ การวิเคราะห์ข้อมูล (สถิติ, เชิงพรรณนา) และผลการวิจัยตามลำดับของวัตถุประสงค์)
8) คำสำคัญ (14 pt.) (3 – 5 คำ ตามชื่อของบทความ คั่นด้วยเครื่องหมาย Semicolon ;)
9) Abstract (16 pt., เนื้อความ 14 pt.) (แปลรักษารูปคำและประโยคให้ตรงกับภาษาไทย ไม่แปลสรุปย่อ ไม่แปลจับประเด็น ไม่แปบขยายความ ใส่ตัวเลขข้อย่อหน้า วรรคตอน ลำดับหัวข้อหลัก หัวข้อรอง ให้ตรงกับภาษาไทย)
10) keywords (14 pt.)
11) บทนำ (16 pt., เนื้อความ 16 pt.) แบ่งเป็นสี่ย่อหน้า ดังนี้
- ความเป็นมา บริบท สภาพปัญหาของประเด็น (อ้างอิง)
- กรณีที่ศึกษา/กรณีพื้นที่ (อ้างอิง)
- หลักการ แนวคิด ทฤษฎี เชิงวิชาการ แนวทางปฏิบัติ มาตรฐานการแก้ไขปัญหาหรือการส่งเสริมพัฒนา (อ้างอิง)
- แรงจูงใจที่อยากจะศึกษา (ต้องสะท้อนเชื่อมโยงกับประเด็นที่กล่าวมาข้างต้น และระบุเกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์) เหตุผลความคาดหวัง คุณค่า ประโยชน์ ที่หวังได้จากการศึกษา
12) วัตถุประสงค์ของการวิจัย (16 pt., เนื้อความ 16 pt.)
เพื่อ...
13) สมมุติฐานของการวิจัย (ถ้ามี)
14) กรอบแนวคิดการวิจัย (ถ้ามี)
15) วิธีดำเนินการวิจัย (16 pt., เนื้อความ 16 pt.)
ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาด้านเนื้อเอกสารแนวคิดทฤษฎี (Documentary Study)
ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาในภาคสนาม (Field Study)
ขั้นตอนที่ 3 ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants)
ขั้นตอนที่ 4 เครื่องมือและวิธีการที่ใช้ในการศึกษา
1) การสัมภาษณ์ (In–depth Interviews)
2) การจัดประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group Discussion)
3) ศึกษาและติดตามผลการปฏิบัติ/ทดลอง/ฝึกอบรม
ขั้นตอนที่ 5 การรวบรวมข้อมูล
ขั้นตอนที่ 6 การวิเคราะห์ข้อมูล
ขั้นตอนที่ 7 สรุปผลการศึกษาวิจัย และ การนำเสนอผลการศึกษาวิจัย (Presentation of the Research Results)
16) ผลการวิจัย (16 pt., เนื้อความ 16 pt.)
วัตถุประสงค์ที่ 1 ผลการวิจัยพบว่า...
17) สรุป (16 pt., เนื้อความ 16 pt.)
สรุปภาพรวมครอบคลุมผลการวิจัย เป็นความเรียงไม่ใส่เลขเป็นข้อมาตรา ไม่เอียง
ไม่หนา ไม่แทรกภาพโมเดล (ไม่ต้องแทรกอ้างอิง)
18) อภิปรายผลการวิจัย (16 pt., เนื้อความ 16 pt.)
เสนอเป็นความเรียง ชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยง ความสอดคล้อง ความเหมือน ความแตกต่างกับกรอบแนวคิดทฤษฎี งานวิจัยอื่นๆในอดีตที่ผ่านมาอย่างไร
ผลจากการวิจัยวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 พบว่า... ทั้งนี้เป็นเพราะ... สอดคล้องกับแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยของ... (อ้างอิง)
19) ข้อเสนอแนะ (16 pt., เนื้อความ 16 pt.)
ข้อเสนอแนะจากการวิจัย (เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์
ผลจากการวิจัยวัตถุประสงค์ที่ 1 พบว่า ...ดังนั้น
ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป (ต้องเกี่ยวเนื่องต่อยอดจากบทความนี้)
...
20) บรรณานุกรม (16 pt., เนื้อความ 16 pt.) ในรูปแบบของ APA
เฉพาะบทความวิจัยควรมีการอ้างอิง แหล่งข้อมูลอ้างอิง ที่ปรากฏในเนื้อหาบทความทั้งหมด จะต้องนำมาเขียนเป็นรายการอ้างอิงใน References ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ทุกๆอ้างอิง ตามรูปแบบอ้างอิงของวารสาร และเรียงลำดับตามตัวอักษร (ห้ามอ้างอิง References ที่ไม่ปรากฏการอ้างอิงในเนื้อหาบทความ)
รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 28
อีบุ๊ค proceeding รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 28 ประจำปี 2561 "งานวิจัยและนวัตกรรม เพื่อสังคมที่มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน" Research and Innovation for Social Statibility, Prosperity and Sustainability วันที่ 8-9 พฤษภาคม 2561 ณ โรงแรมบีพี สมิหลา บีช อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา จัดทำโดย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยทักษิณ ISBN 978-974-474-060-1 มีปุ่มดาวน์โหลด PDF ได้มามีขนาดแฟ้ม 57.8 MB จำนวน 2122 หน้า ซึ่งนำมาอ่านแบบ off-line ได้โดยง่าย พบว่า Made with FlippingBook มี session ที่หลากหลาย ดังนี้
การนำเสนอผลงานวิจัยภาคบรรยาย
O1-O7 วิทยาศาสตร์ชีวภาพและเกษตรศาสตร์
O8-O9 วิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช
O10-O21 ฟิสิกส์ศึกษา ฟิสิกส์ประยุกต์และวิศวกรรมศาสตร์
O22-O29 คณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์
O30-O32 วิทยาศาสตร์สุขภาพ
O33-O39 การศึกษา
O40-O44 มนุษยศาสตร์
O45-O51 สังคมศาสตร์
O52-O60 บริหารธุรกิจและเศรษฐศาสตร์
O61-O65 ผลงานสร้างสรรค์/นวัตกรรม
การนำเสนอผลงานวิจัยภาคโปสเตอร์
P1-P41 วิทยาศาสตร์ชีวภาพและเกษตรศาสตร์
P42-P49 วิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช
P50-P65 ฟิสิกส์ศึกษา ฟิสิกส์ประยุกต์และวิศวกรรมศาสตร์
P66-P81 คณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์
P82-P89 วิทยาศาสตร์สุขภาพ
P90-P145 การศึกษา
P146-P149 มนุษยศาสตร์
P150-P158 สังคมศาสตร์
P159-P177 บริหารธุรกิจและเศรษฐศาสตร์
P178-P238 ผลงานสร้างสรรค์/นวัตกรรม
รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปิยวุฒิ เกาะหมาน และ พิชามญชุ์ วรรณชาติ. (2562). แนวคิดเรื่องบาปทั้ง 6 ตามความเชื่อทางศาสนาคริสต์และด้านมืดของตัวละคร ในนวนิยายชุด เจรจาต่อตาย ของ tiara. ใน การประชุมวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ระดับชาติ ครั้งที่ 2 (น. 317-327). สงขลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

ความเป็นมาของการประชุม
Proceeding : ครั้งที่ 1 : 20 - 21 สิงหาคม 2561
Proceeding : ครั้งที่ 2 : 5 - 6 สิงหาคม 2562
Proceeding : ครั้งที่ 3 : 21 - 22 กรกฎาคม 2565
Proceeding : ครั้งที่ 4 : 14 - 15 มิถุนายน 2566
Thaiall.com