#595 การกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์
ในโลกแห่งความเป็นจริงมีการกลั่นแกล้งกันตลอดเวลา พบร่องรอยได้ในหน้าหนังสือพิมพ์อยู่เสมอ ส่วนการกลั่นแกล้งในโลกไซเบอร์ก็ย่อมเกิดขึ้น เพราะเป็นโลกที่สะท้อนจากโลกแห่งความเป็นจริง แล้วสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ได้ทำการสำรวจ ทัศนคติของเด็กและเยาวชนไทยต่อพฤติกรรมการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ เมื่อปลายมีนาคม 2560 จากผู้ที่อายุไม่เกิน 25 ปีจำนวน 1172 ตัวอย่าง ซึ่งพฤติกรรมแบบนี้ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Cyberbullying พบว่า ในกลุ่มตัวอย่างมีคนตอบว่าเคยเป็นผู้กระทำ และผู้ถูกกระทำ หรือเคยเป็นทั้งสองอย่างก็มี
พฤติกรรมที่เยาวชนพบเห็นการกลั่นแกล้งในโลกไซเบอร์มากที่สุด คือ การโพสต์ด่าทอ พูดจาส่อเสียด ให้ร้าย ดูถูก หรือข่มขู่ทำร้าย มีถึงร้อยละ 29.18 รองลงมา คือ การแอบอ้าง การสวมรอย หรือปลอมแปลงเป็นผู้อื่น มีร้อยละ 17.04 พฤติกรรมอันดับสาม คือ เป็นการหลอกลวง ฉ้อโกง ต้มตุ๋น มีร้อยละ 14.30 ส่วนพฤติกรรมอื่นที่พบได้แก่ การสร้างกลุ่มในโซเชียลเพื่อโจมตีโดยเฉพาะ การแบล็กเมล์กัน การคุกคามทางเพศแบบออนไลน์
การกลั่นแกล้งในโลกออนไลน์ที่พบนี้ เป็นข้อมูลจากสำรวจเยาวชน หากไปสำรวจผู้ใหญ่ก็เชื่อว่าคงได้ผลไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ละคนจะมีประสบการณ์ หรือพบพฤติกรรมการกลั่นแกล้งแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับว่าชาวออนไลน์ผู้นั้นพาตนเองเข้าไปอยู่ในสถานการณ์ที่จะมีพฤติกรรม CyberBullying หรือไม่ หากทำตัวเป็นชาวออฟไลน์ (Off-line) ก็จะมีบทบาทเดียว คือ เป็นผู้ถูกกระทำ จากประสบการณ์ของผู้เขียนมักจะไม่พบพฤติกรรม CyberBullying เพราะไม่ชอบการอ่านข่าวสารที่ไม่คัดกรอง และไม่นิยมการแสดงความคิดเห็นต่อข่าวสารที่เราไม่รู้จริง ที่เราไม่ได้เกี่ยวข้องทางตรง หรือทางอ้อม ในผลสำรวจพบข้อเสนอแนะอันดับแรก คือ ควรมีหน่วยงานที่ดูแลเกี่ยวกับ CyberBullying โดยเฉพาะ แล้วสอบถามเพิ่มเติม พบความคิดเห็นว่า ควรมีกฎหมายหรือแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อคุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบ ซึ่งสอดคล้องกับ พรบ.คอมพิวเตอร์ ปี 2560 ที่มีส่วนหนึ่งเกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้ถูกละเมิดในโลกออนไลน์อย่างชัดเจน
การกลั่นแกล้งในโลกออนไลน์ที่พบนี้ เป็นข้อมูลจากสำรวจเยาวชน หากไปสำรวจผู้ใหญ่ก็เชื่อว่าคงได้ผลไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ละคนจะมีประสบการณ์ หรือพบพฤติกรรมการกลั่นแกล้งแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับว่าชาวออนไลน์ผู้นั้นพาตนเองเข้าไปอยู่ในสถานการณ์ที่จะมีพฤติกรรม CyberBullying หรือไม่ หากทำตัวเป็นชาวออฟไลน์ (Off-line) ก็จะมีบทบาทเดียว คือ เป็นผู้ถูกกระทำ จากประสบการณ์ของผู้เขียนมักจะไม่พบพฤติกรรม CyberBullying เพราะไม่ชอบการอ่านข่าวสารที่ไม่คัดกรอง และไม่นิยมการแสดงความคิดเห็นต่อข่าวสารที่เราไม่รู้จริง ที่เราไม่ได้เกี่ยวข้องทางตรง หรือทางอ้อม ในผลสำรวจพบข้อเสนอแนะอันดับแรก คือ ควรมีหน่วยงานที่ดูแลเกี่ยวกับ CyberBullying โดยเฉพาะ แล้วสอบถามเพิ่มเติม พบความคิดเห็นว่า ควรมีกฎหมายหรือแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อคุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบ ซึ่งสอดคล้องกับ พรบ.คอมพิวเตอร์ ปี 2560 ที่มีส่วนหนึ่งเกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้ถูกละเมิดในโลกออนไลน์อย่างชัดเจน
http://nidapoll.nida.ac.th/index.php?op=polls-detail&id=521
https://www.facebook.com/childmedia.thailand/photos/a.490109367820283.1073741829.490083944489492/772623886235495/