ปรับปรุง : 2567-08-27 (บทความวารสาร) |
|
Education | Moodle | e-Learning |
|
1. มูเดิ้ล คืออะไร (What is Moodle?)
มูเดิ้ล (Moodle = Modular Object-Oriented Dynamic Learning Environment) คือ โปรแกรมที่ประมวลผลในเครื่องบริการ (Server-Side Script) ทำหน้าที่ให้บริการระบบอีเลินนิ่ง ทำให้ผู้ดูแลระบบสามารถเปิดบริการแก่ครู และนักเรียน ผ่านบริการ 2 ระบบ คือ 1)ระบบซีเอ็มเอส หรือระบบจัดการเนื้อหา (CMS = Course Management System) บริการให้ครูสามารถจัดการเนื้อหา เตรียมเอกสาร สื่อมัลติมีเดีย แบบฝึกหัดตามแผนการจัดการเรียนรู้ 2)ระบบแอลเอ็มเอส หรือระบบจัดการเรียนรู้ (LMS = Learning Management System) บริการให้นักเรียนเข้าเรียนรู้ตามลำดับ ตามช่วงเวลา ตามเงื่อนไขที่ครูได้จัดเตรียมอย่างเป็นระบบ และประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียน พร้อมแสดงผลการตัดเกรดอัตโนมัติ ปัจจุบันมีโปรแกรมที่ทำหน้าที่เป็นเพียงระบบซีเอ็มเอส(ไม่มีระบบแอลเอ็มเอสในตัว) สามารถสร้างวัตถุเรียนรู้จากนอกมูเดิ้ล แล้วนำเข้าไปใช้งานในมูเดิ้ล เช่น สกอร์ม (SCORM = Sharable Content Object Reference Model) ที่สามารถนำไปติดตั้งเป็นส่วนหนึ่งในมูเดิ้ล หรือโปรแกรมเลินสแควร์ (Learnsquare) ได้ ผู้พัฒนามูเดิ้ล คือ Martin Dougiamas โปรแกรมมีลักษณะเป็นโอเพนท์ซอร์ท (Open Source) ภายใต้ข้อตกลงของจีพีแอล (General Public License) สามารถดาวน์โหลดไปใช้งานได้ฟรีจาก moodle.org โดยผู้ดูแลระบบ (Admin) นำไปติดตั้งในเครื่องบริการ (Server) ที่บริการเว็บเซอร์ฟเวอร์ (Web Server) รองรับภาษาพีเอชพี (PHP Language) และมายเอสคิวแอล(MySQL) ความหมายของอีเลินนิ่ง หรือ อีเลิร์นนิ่ง (e-Learning) ถูกตีความต่างกันไปตามประสบการณ์ของแต่ละคน แต่มีส่วนที่เหมือนกัน คือ ใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ โดยมีการพัฒนา และความก้าวหน้าของเทคโนโลยีตลอดเวลา #1 อีเลิร์นนิ่ง คือ การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ #2 อีเลิร์นนิ่ง คือ การใช้เทคโนโลยี โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ตเข้ามาส่งเสริมการเรียน การสอน ให้เกิดประสิทธิผล คำที่มีความหมายใกล้เคียงกับอีเลิร์นนิ่ง เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI = Computer Assisted Instruction) หรือ การสอนโดยใช้เว็บเป็นฐาน (WBI = Web-based Instruction) หรือ การเรียนรู้โดยใช้เว็บเป็นฐาน (Web-based Learning) เลิร์นนิ่งออฟเจ็ค (Learning Object) คือ แฟ้มดิจิทอลเพื่อใช้นำเสนอให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ จนบรรลุผลตามวัตถุประสงค์ของสื่อ มักอยู่ในรูปของสื่อผสมที่มีการออกแบบอย่างเป็นระบบ # # #
|
2. ข้อควรทราบเกี่ยวกับมูเดิ้ล
|
3. รวมแหล่งคู่มือ moodle
|
4. ดาวน์โหลด (Download)
การติดตั้งมูเดิ้ลมักทำโดยผู้ดูแลระบบอินเทอร์เน็ตของสถาบัน ซึ่งมีอยู่ 2 วิธี 1) ติดตั้งโปรแกรมทีละโปรแกรม ได้แก่ apache, php, mysql และ moodle 2) ติดตั้งโปรแกรมที่รวมชุดมา เช่น appserv, thaiabc, xoops แนะนำแหล่งโปรแกรม + Moodle http://download.moodle.org + Apache http://httpd.apache.org/ + Appserv http://www.appservnetwork.com + Thaiabc http://www.thaiabc.com + PHP http://www.php.net/downloads.php + MYSQL http://www.mysql.com + โปรแกรมบริหาร mysql ด้วย PHPmyadmin + ตัวอย่างบทเรียนวิชา ระบบปฏิบัติการที่สำรองข้อมูลไว้ นำไปกู้คืนได้ 318 KB |
41. การติดตั้ง (Installation) โดย ผู้ดูแล
การนำเสนอ การสอนจะใช้ Windows Picture and Fax Viewer ซึ่งมีอยู่ใน Windows XP ก็ได้ เปิดภาพ .GIF ขนาด 800 * 600 แล้วกด F11 (Slide Show) สามารถ Pause และใช้ Manual Click for Next Image ได้ แฟ้มที่ใช้ 1. moodle-1.5.zip 17 MB 2. moodle_th4902.zip# 207 KB จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. เพื่อให้ผู้ดูแลระบบ เข้าใจเรื่อง Web Server ด้วย Apache 2. เพื่อให้ผู้ดูแลระบบ เข้าใจเรื่อง Server-Side Script ด้วย PHP 3. เพื่อให้ผู้ดูแลระบบ เข้าใจเรื่อง Database ด้วย MySQL 4. เพื่อให้ผู้ดูแลระบบสามารถติดตั้งโปรแกรมด้วยตนเองได้ แฟ้มภาพ : minst01.gif - minst24.gif Click to open thumbnails & details |
42. สมัครสมาชิกใหม่ เป็นนักเรียน และครู โดย ผู้ดูแล
จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. เพื่อให้ผู้ดูแลระบบ สามารถสมัครสมาชิกเป็นนักเรียน 2. เพื่อให้ผู้ดูแลระบบ สามารถสมัครสมาชิกเป็นครู 3. เพื่อให้ผู้ดูแลระบบ รู้วิธีแก้ไขข้อมูลของตนเอง 4. เพื่อให้ผู้ดูแลระบบ เพิ่มผู้สร้างรายวิชาได้ 5. เพื่อให้ครูสามารถสร้าง และแก้ไขวิชาได้ 6. เพื่อให้ครูสามารถแนะนำนักเรียน เข้าเรียนวิชาของตนได้ แฟ้มภาพ : mnewmem01.gif - mnewmem18.gif Click to open thumbnails & details |
43. นำแฟ้มเนื้อหาที่เตรียมไว้ ส่งเข้าเครื่องบริการ โดย ครู
จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. เพื่อให้ครูแก้ไขรายละเอียดในหน้าวิชาได้ 2. เพื่อให้ครูอัพโหลดแฟ้มเข้าไปในแหล่งเก็บแฟ้มได้ 3. เพื่อให้ครูเพิ่มแฟ้มที่เคยเตรียมสอน เข้าไปเป็นในแหล่งข้อมูลให้นักเรียนศึกษาเองได้ แฟ้มภาพ : mcontent01.gif - mcontent17.gif Click to open thumbnails & details |
44. เพิ่มแหล่งข้อมูล โดย ครู
จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. เพื่อให้ครูเข้าใจการใช้ประโยชน์จากแหล่งข้อมูล 2. เพื่อให้ครูเพิ่มแหล่งข้อมูลเว็บเพจได้ 3. เพื่อให้ครูเพิ่มแหล่งข้อมูลไดเรกทรอรี่ได้ 4. เพื่อให้ครูเพิ่มแหล่งข้อมูลป้ายประกาศได้ แฟ้มภาพ : mresource01.gif - mresource09.gif Click to open thumbnails & details |
45. เพิ่มกิจกรรมกลุ่ม โดย ครู
จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. เพื่อให้ครูเข้าใจการใช้ประโยชน์จากกิจกรรม 2. เพื่อให้ครูเพิ่มกิจกรรมกระดานเสาวนาได้ 3. เพื่อให้ครูสามารถเพิ่มกระทู้ในกระดานเสาวนาได้ 4. เพื่อให้ครูเพิ่มกิจกรรมการบ้านได้ 5. เพื่อให้ครูเพิ่มกิจกรรมบันทึกความก้าวหน้าได้ 6. เพื่อให้ครูเพิ่มกิจกรรมห้องปฏิบัติการได้ 7. เพื่อให้ครูเพิ่มกิจกรรมห้องสนทนาได้ 8. เพื่อให้ครูเพิ่มกิจกรรมโพลล์ได้ แฟ้มภาพ : mactivities01.gif - mactivities18.gif Click to open thumbnails & details |
46. เข้าสำรวจวิชา โดย นักเรียน
จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. เพื่อให้ครูเข้าใจ พฤติกรรมการเข้าเรียนในวิชา 2. เพื่อให้นักเรียนแก้ไขข้อมูลของตนเองได้ 3. เพื่อให้นักเรียนบันทึกรูปถ่ายของตนเข้าในระบบ 4. เพื่อให้นักเรียนแสดงรายชื่อเพื่อนร่วมชั้นได้ 5. เพื่อให้นักเรียนเพิ่มกระทู้ลงกระดานเสวนาได้ 6. เพื่อให้นักเรียนส่งหรืออัพโหลดการบ้านได้ 7. เพื่อให้นักเรียนเขียนบันทึกความก้าวหน้าได้ 8. เพื่อให้นักเรียนตอบโพลล์ได้ 9. เพื่อให้นักเรียนแสดงปฏิทินได้ แฟ้มภาพ : msurvey01.gif - msurvey32.gif Click to open thumbnails & details |
47. เข้าการตั้งค่าในการจัดการระบบ โดย ผู้ดูแล
จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. เพื่อให้ผู้ดูแลเข้าใจว่าตั้งค่าเพื่ออะไร 2. เพื่อให้ผู้ดูแลทราบว่าสามารถตั้งค่าได้ 3. เพื่อให้ผู้ดูแลสามารถตั้งค่าต่าง ๆ ได้ 4. เพื่อให้ผู้ดูแลสามารถเปลี่ยน Theme ได้ 5. เพื่อให้ผู้ดูแลสามารถเลือกกรองข้อมูลที่ต้องการได้ แฟ้มภาพ : mconfig01.gif - mconfig18.gif Click to open thumbnails & details |
48. เข้าจัดการสมาชิกในการจัดการระบบ โดย ผู้ดูแล
จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. เพื่อให้ผู้ดูแลเข้าใจมีข้อมูลสมาชิกอะไรที่จัดการได้บ้าง 2. เพื่อให้ผู้ดูแลเลือกวิธีการอนุมัติสมาชิกได้ 3. เพื่อให้ผู้ดูแลเข้าใจว่าสามารถอัพโหลดสมาชิกจำนวนมากได้ 4. เพื่อให้ผู้ดูแลกำหนดวิธีการรับเข้าเรียนได้ 5. เพื่อให้ผู้ดูแลกำหนดครูให้กับวิชาได้ 6. เพื่อให้ผู้ดูแลลบนักเรียนออกจากระบบได้ แฟ้มภาพ : mmembers01.gif - mmembers14.gif Click to open thumbnails & details |
49. เพิ่มกิจกรรม แบบทดสอบ โดย ครู
จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. เพื่อให้ครูเข้าใจการสร้างแบบสอบแบบเลือกตอบ 2. เพื่อให้ครูสร้างแบบสอบแบบต่าง ๆ ได้ 3. เพื่อให้ครูเพิ่มข้อสอบในแบบสอบได้ 4. เพื่อให้ครูทดสอบแบบสอบก่อนเปิดใช้ได้ 5. เพื่อให้ครูเข้าใจการส่งคำตอบและการจบแบบสอบ 6. เพื่อให้ครูสามารถตรวจดูคะแนนของนักเรียนได้ 7. เพื่อให้ครูสามารถนำคะแนนไปใช้ใน Excel ได้ แฟ้มภาพ : mquiz01.gif - mquiz26.gif Click to open thumbnails & details |
50. สร้างแบบทดสอบแบบ GIFT ด้วย Excel
จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. เพื่อให้ครูเข้าใจการพิมพ์แบบสอบใน Excel 2. เพื่อให้ครูเข้าใจแฟ้มตามมาตรฐาน GIFT 3. เพื่อให้ครูสามารถนำแฟ้มแบบ GIFT เข้าไปใน Moodle ได้ 4. เพื่อให้ครูสร้างแบบสอบโดยใช้แฟ้มที่นำเข้าได้ 5. เพื่อให้ครูสามารถนำแฟ้มข้อสอบออกจากโปรแกรม Moodle ได้ แฟ้มภาพ : mgiftxls01.gif - mgiftxls20.gif Click to open thumbnails & details |
51. สร้าง SCORM ด้วย exe แล้วนำเข้า
จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. เพื่อให้ครูเข้าใจคำว่า SCORM 2. เพื่อให้ครูเข้าใจหน้าที่ของโปรแกรม exe 3. เพื่อให้ครูสร้าง SCORM ด้วย exe ได้ 4. เพื่อให้ครูนำ SCORM ที่สร้างขึ้นเข้า Moodle ได้ แฟ้มภาพ : exescorm01.gif - exescorm20.gif หมายเหตุ - สร้าง SCORM ด้วย exe มีปัญหาภาษาไทย .. ผมยังไม่ได้หาวิธีแก้ไข - ตัวอย่างแฟ้มที่ได้จาก exe (SCORM Editor) : exescorm.zip 236 KB : scormexephp.zip 2,952 KB (8 Chapters in PDF) - โปรแกรมที่ทำงานบบน Handy Drive หรือ CD รุ่น 1.04 Click to open thumbnails & details |
52. สร้าง SCORM ด้วย reload แล้วนำเข้า
จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. เพื่อให้ครูเข้าใจคำว่า SCORM 2. เพื่อให้ครูเข้าใจหน้าที่ของโปรแกรม reload 3. เพื่อให้ครูสร้าง SCORM ด้วย reload ได้ 4. เพื่อให้ครูนำ SCORM ที่สร้างขึ้นเข้า Moodle ได้ แฟ้มภาพ : reloadscorm01.gif - reloadscorm20.gif หมายเหตุ - สร้าง SCORM ด้วย reload มีปัญหาภาษาไทย ในเมนู .. ผมยังไม่ได้หาวิธีแก้ไข - ตัวอย่างแฟ้มที่ได้จาก reload (SCORM Editor) : thaiallscorm.zip 209 KB : scormreloadpl.zip 3,246 KB (12 Chapters in PDF) Click to open thumbnails & details |
92. แปลงแบบทดสอบ Excel เป็นแฟ้มสกุล GIFT
moodle 1.5 สามารถพิมพ์ข้อสอบใน excel แล้วแปลงเป็น text file แบบ GIFT เพื่อ import ไปใน moodle โปรแกรมที่เขียนขึ้นด้วย php นี้ ใช้แปลงข้อมูลจาก Text ไปเป็นแฟ้มแบบ GIFT เพื่อส่งเข้า Moodle เปิดใช้แบบออนไลน์จาก http://www.thaiall.com/php/txt2gift.php หรือ Download thaiabc5b.zip จาก thaiabc.com :: http://www.soberit.hut.fi/sprg/resources/moodle/GiftConverter.html :: http://learn.uci.edu/cms/help.php?module=quiz&file=formatgift.html (good)
|
93. สำรอง และกู้คืน (Backup & Restore)
เมื่อครูเตรียมสอน สามารถทำได้ทั้งแบบ online และ offline ถ้าทำแบบ online หมายถึงทำกับ server โดยตรง ข้อมูลทั้งหมดจึงอยู่ใน server เพื่อความไม่ประมาท ครูควรสำรองข้อมูลเก็บเป็นแฟ้ม .zip เก็บไว้ ถ้าสักวันหนึ่ง server ล่ม หรือถูก hack จนข้อมูลเสียหาย ครูสามารถนำแฟ้มที่สำรองไว้ นำกลับมากู้คืนได้ด้วยตนเอง หรือครูบางท่านอาจมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่บ้าน และติดตั้ง moodle เพื่อใช้เตรียมสอนแบบ offline สามารถสำรองข้อมูลจากที่บ้าน มากู้คืนในเครื่อง server ของสถาบันได้ ทำให้ทำงานได้สะดวก ไม่จำเป็นต้องเตรียมการสอนแบบ online เพราะไม่สะดวกเรื่องเวลา และสถานที่ ข้อมูลเกี่ยวกับการสำรอง และกู้คืน 1. การสำรองข้อมูลนี้อาจทำโดยผู้ดูแลระบบ เก็บข้อมูลจากห้อง moodle data folder และจาก mysql หรือใช้ระบบสำรองที่ระบบเตรียมไว้ให้ 2. การสำรองนั้นทำได้ไม่ยาก .. แต่ให้ระวังเรื่องขนาดแฟ้ม เพราะเป็นข้อจำกัดใน php.ini 3. การกู้คืนจะต้อง upload เข้าไปใน ไฟล์ของเว็บไซต์ จึงจะกู้คืนแฟ้มนั้นได้ 4. กู้คืนได้ 3 แบบ 1.รายวิชาใหม่ 2.เพิ่มลงในรายวิชาที่มีอยู่ 3.ลบก่อนลงข้อมูลในวิชาที่มีอยู่ 5. ถ้าเลือก กู้คืน .zip แต่มีวิชาเดิมอยู่ หรือเคยกู้คืนมาก่อนหน้านี้ และเลือกแบบรายวิชาใหม่ ระบบจะเพิ่มวิชาที่มีคำว่า สำเนา 1 ต่อท้าย 6. ถ้ากู้คืน วิชาที่มีอยู่ก่อน ควรเลือกเพิ่มใหม่ หรือลบของเดิม อย่างเข้าใจ 7. ชื่อย่อ (Code) ซ้ำกันไม่ได้ แต่ชื่อเต็มซ้ำกันได้ ให้ระวังถ้ามีครูหลายคนในระบบ 8. กู้คืนแบบ เพิ่ม หรือลบ ต้องเลือกวิชา 8.1 ถ้าเลือกเพิ่มในวิชาเดิม ข้อมูลหลายส่วนจะมี 2 ชุด อย่างไม่ถูกต้อง 8.2 ถ้าเลือกลบในวิชาเดิม ก่อนลงใหม่ ปัญหาจาก 8.1 จะหายไป 9. ครูมีสิทธิ์สำรอง หรือกู้คืนในวิชาของตนเองเท่านั้น แต่ผู้ดูแลระบบทำได้ทุกวิชา 10. วิชาเดียวกัน อาจมีสำรองไว้หลายชุด และสามารถกู้คืนสลับกันได้ ในแต่ละภาคเรียน 11. เพื่อความปลอดภัย ครูไม่ควรเป็นผู้สร้างวิชา เพราะอาจกู้คืนไปทับวิชาอื่น ควรเป็นหน้าที่ของผู้ดูแลที่ชำนาณ |
94. สกอร์ม (SCORM = Sharable Content Object Reference Model)
|
95. โปรแกรม edi-mo เพื่อการประเมินผลบทเรียน moodle (2550-11-21) |
โดย ศุภชานันท์ วนภู
supachanun@g.sut.ac.th ลักษณะโปรแกรม + พัฒนาด้วย java + php + client-server + Multi-thread โครงการการศึกษาไร้พรมแดน เป็นหน่วยงานที่มีภารกิจสำคัญในการดำเนินการผลิตชุดสื่อประสม (Multimedia) เพื่อรองรับการจัดการเรียนการสอนทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ซึ่งได้ดำเนินการพัฒนาและออกแบบระบบการจัดเรียนรู้ด้วย E-Learning โดยเริ่มต้นจากการพัฒนาระบบบริหารจัดการขึ้นใช้เองในรูปแบบสื่อ WBI (Web Based Instruction) ซึ่งปัจจุบันได้ทำเป็น Demo Course นับตั้งแต่ปีการศึกษาที่ 2547 ได้มีการนำเอา LMS ในรูปแบบเปิดเผยซอร์สโค๊ดของ Moodle ย่อมาจาก Modular Object Oriented Dynamic Learning Environment มาใช้ในการจัดการเรียนการรู้ด้วย E-Learning โดยใช้ชื่อว่า “SUT-LMS” ด้วยคุณสมบัติหลายประการของ Moodle โดยเฉพาะการออกแบบฟังก์ชั่นการใช้งานต่างๆที่ง่ายและสะดวก ประกอบกับ Moodle ได้รับการเลือกให้นำไปใช้สำหรับโครงการโรงเรียนในฝันของรัฐบาล จึงส่งผลให้ Moodle เป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามแม้ว่า Moodle จะได้มีการออกแบบและพัฒนาฟังก์ชันพื้นฐานไว้อย่างสมบูรณ์ครบถ้วนแล้วก็ตาม จากการที่ผู้วิจัยได้ติดตามและประเมินผลการใช้งานจริงบนระบบ SUT-LMS ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ในช่วงระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา สามารถสรุปประเด็นปัญหาหลักๆ ที่พบจากในการใช้งานจริงระบบ SUT-LMS ดังนี้ 1. มีการใช้งานในระบบ E-Learning จำนวนมาก แต่ยังไม่มีระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารงาน 2. ครูไม่ได้รับความสะดวกในการติดตามและประเมินผลการการเข้าศึกษาบทเรียนต่างๆ โดยเฉพาะรายวิชาที่มีนักเรียนจำนวนมาก 3. เนื่องจากมีการบรรจุสื่อต่างๆ ไว้ในระบบ LMS จำนวนมาก ทำให้พบปัญหาในการประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพสื่อการสอนต่างๆ ว่าควรจะดำเนินงานอย่างไร 4. ปัญหาในการจัดการลงทะเบียนนักเรียนให้เข้าใช้บทเรียนที่สอดคล้องกับการลงทะเบียนเรียนในแต่ละภาคการศึกษา จากปัญหาดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาวิเคราะห์ระบบฐานข้อมูล และฟังก์ชั่นการทำงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลการเข้าใช้บทเรียนของนักเรียน ของระบบ LMS-Moodle โดยวิเคราะห์จากข้อมูลจริงที่ได้จากระบบ SUT-LMS ของรายวิชาสิ่งแวดล้อมกับการพัฒนา ในภาคการศึกษาที่ 3/2547 และรายวิชาองค์การและการจัดการ ในภาคการศึกษาที่ 2/2548 โดยทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมการเข้าใช้บทเรียน E-Learning จำนวน 2 เรื่อง จากผลการวิจัย พบว่า สามารถนำเอาข้อมูลที่ได้บันทึกการเข้าใช้บทเรียนที่จัดเก็บอยู่ในฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของระบบ LMS นั้น มาผ่านกระบวนการวิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อให้เกิดเป็นสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อไปได้ จึงเป็นที่มาของการออกแบบและพัฒนา " โปรแกรม Edi-Mo" ในครั้งนี้ โปรแกรม Edi-Mo มีชื่อภาษาไทยว่า “โปรแกรมการประเมินผลบทเรียน E-Learning โดยใช้การถ่ายโอนข้อมูลจาก Moodle” ส่วนคำว่า “Edi-Mo” ย่อมาจากชื่อภาษาอังกฤษ “E-Learning Evaluation Program by Using Data Interfacing from Moodle” Edi-Mo เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่พัฒนาขึ้นด้วยภาษาจาวา รองรับการติดต่อกับฐานข้อมูล MySQL โดยโปรแกรม Edi-Mo จะทำการเชื่อมโยงและถ่ายโอนข้อมูลต่างๆ มาจากระบบฐานข้อมูล LMS ของ Moodle เพื่อนำมาจัดเตรียมข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่พร้อมสำหรับการทำรายงานรูปแบบต่างๆ เมื่อทำการประมวลผลข้อมูลการเข้าใช้งานบทเรียน E-Learning ต่างๆ แล้ว ผู้ใช้สามารถที่จะจัดทำรายงานหรือ Report ในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ กราฟวงกลม กราฟเส้น กราฟแท่ง และเอกสารรายงานจำแนกตามภาคการศึกษา หรือจำแนกตามรายวิชา เพื่อนำไปใช้ในการติดตามและประเมินผลบทเรียน E-Learning ต่อไป Edi-Mo เป็นการพัฒนา Application Software ขึ้นมาใหม่ โดยการนำเอาหลักการที่เกี่ยวข้อง 3 ด้าน ได้แก่ หลักการออกแบบและพัฒนาบทเรียน E-Learning หลักการวัดและประเมินผล และหลักการพัฒนาระบบสารสนเทศ มาผนวกเข้าด้วยกัน เพื่อให้ได้ข้อมูลสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ในการแก้ปัญหาในการติดตามและประเมินคุณภาพบทเรียน E-Learning ที่ใช้ระบบ LMS ของ Moodle ให้ได้รับความสะดวกรวดเร็ว และตรงกับความต้องการของผู้ใช้งานในสถานศึกษาต่างๆ ทุกระดับ เหมาะสำหรับนำไปใช้เพื่อการพัฒนาบทเรียน E-learning ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นต่อไป http://sutonline.sut.ac.th/edi-mo/modules/content/background.php http://sutonline.sut.ac.th/edi-mo/modules/content/components1.php สนับสนุนโดย กองทุนนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โปรแกรมนี้ผมทดสอบเมื่อใช้กับ moodle ในโปรแกรม thaiabc.com แล้วเชื่อมต่อได้ .. แต่เชื่อมเข้าขององค์กรยังไม่ได้ |
96. ชมรมผู้พัฒนา Moodle e-Learning แห่งประเทศไทย
ผมทราบเรื่องการประชุมเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2547 เพราะได้รับหนังสือเชิญจาก ผศ.ดร.ฐาปนีย์ ธรรมเมธา ศูนย์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขต พระราชวังสนามจันทร์ อ.เมือง จ.นครปฐม ให้เข้าประชุมกลุ่มผู้ใช้งาน Software Opensource Moodle e-Learning ซึ่งเป็นระบบบริหารจัดการการเรียนการสอนผ่านเครือข่าย (LMS) ณ ห้องประชุมหน่วยประสานงาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี สุรนารี อาคารพญาไทพลาซ่า ชั้น 22 กรุงเทพมหานคร เพื่อร่วมหาแนวทางการดำเนินกิจกรรม และการก่อตั้งชมรม โดยมีผู้เข้าร่วมจากสถาบันต่าง ๆ มากมาย แต่ผมไม่สามารถเดินทางไปร่วมประชุมได้ ด้วยสาเหตุดังต่อไปนี้ 1. เรื่องเงิน : ผมต้องเสียเงินส่วนตัว 800 บาท เป็นอย่างน้อย (สถาบันไม่มีงบ) สำหรับค่าเดินทางจากลำปาง ไปประชุมแค่ 2 ชั่วโมง .. ไม่คุ้ม 2. เรื่องหัวข้อ : เข้าใจว่าไปเพื่อรวมกลุ่มกันตั้งชมรม ถ้าไปแค่นี้ผมก็ไม่สะดวก เพราะหัวข้อน้อยไป 3. เรื่องศรัทธา : ผมศรัทธาใน moodle เพราะไม่มีระบบไหนยอดเท่า moodle แต่ผมไม่ศรัทธาใน "อุดมการณ์ของนักการศึกษาไทย ด้านคอมพิวเตอร์ ในภาพรวม" ทุกวันนี้เห็นแต่นักวิชาการที่คมในฝัก มีนักวิชาการจำนวนไม่มากที่ออกมาพัฒนาเว็บไซต์ และถ่ายทอดความรู้ ผมเคยเข้าประชุมในกลุ่มนักการศึกษา ที่พัฒนา e-Learning แต่สิ่งที่ผมไปฟังคือ เขามาทะเลาะกัน ว่าทำไมมีงบให้แล้ว ไปให้คนอื่น สถาบันของตนก็ทำ ทำไมไม่ได้ และองค์กรที่ไปดูงานก็ไปดูงานของตน แต่พอให้งบพัฒนาไปให้ที่อื่น .. ทำให้ผมไม่ค่อยอยากเข้าประชุมเรื่อง e-Learning กับใครเท่าไร เพราะความคาดหวังของผมสูงครับ ผมรู้ว่าความสามารถของครูในสถาบันต่าง ๆ ทำอะไรได้ รู้ถึงศักยภาพของมนุษย์ และองค์กรด้านการศึกษา แต่สิ่งที่ขาดไปคือ การให้ความรู้แก่สังคม บวกกับความไม่หวงวิชาในฐานะครู ขนาดผมเป็นแค่เด็กบ้านนอก ไอคิวก็ไม่สูง เงินเดือนหมื่นกว่า ยังทำเว็บไซต์ได้ขนาดนี้ .. แล้วมองออกไปหาเว็บไซต์ของนักวิชาการชาวไทย ที่เป็น ผศ. รศ. ดร. หรือ ม. เต็มบ้านเต็มเมือง ทำไมมีน้อยเหลือเกิน .. สรุปได้ว่าผมจะสู้ต่อไปเพื่อการศึกษา .. เพราะปัจจุบันผมมีอาชีพเป็นครูครับ และผมไม่คิดว่าตนเองรับจ้างสอน เหมือนที่ นายกด่านักวิชาการบางคนแน่นอน .. แม้อนาคตจะเปลี่ยนอาชีพ แต่เว็บผมต้องอยู่ (ยกเว้นผมจะไปขายก๋วยเตี๋ยว) มีใครทราบบ้างว่าเว็บด้านการศึกษาใน truehits.net มีเท่าไร ผมบอกได้ว่า ประมาณ 1500 เว็บ ซึ่งมากที่สุดในทุกกลุ่ม และกลุ่มเว็บด้านการศึกษาครองอันดับ 10 ของการถูก hit มาโดยตลอด คือประมาณ 2% จนกระทั่ง 1 สิงหาคม 2547 ทาง truehits.net มีนโยบายให้ผู้ดูแลต้อง login ทุกเดือน (ธ.ค.47 เหลือ 983 เว็บ) เพียงเท่านี้ กลุ่มเว็บมือถือ และกลุ่มยานยนต์ ก็ผลัดกันขึ้นมาครองอันดับ 10 แทน แล้วกลุ่มเว็บด้านการศึกษา ก็ลงไปอยู่อันดับที่ 15 .. เกือบบ๊วยแล้วครับท่าน .. แล้วใคร แคร์ .. แต่อย่างน้อยก็มีผมคนหนึ่งหละที่แคร์
|
97. งานประชุมวิชาการ Moodle Moot Thailand 2005 (1 - 3 กรกฎาคม 2548)
ข้อมูล - ท่านเลขานุการ สำนักงานคณะการการอุดมศึกษา ร่วมเป็นประธานพิธีเปิด และบรรยายพิเศษ - Mr.Martin Dougiamas:Moodle.org จะบินจาก Australia มาถึงเมืองไทยวันที่ 30 มิย.48 ร่วมบรรยายพิเศษวันที่ 1 กค.48 เรื่อง การพัฒนา Opensource Moodle+LAMS และกลับด่วนเช้า วันที่ 2 กค. 48 - ดร.วิมลลักษณ์ สิงหนาท ผู้พัฒนา Moodle ภาษาไทย บินจากรัสเซีย มาร่วมงาน Moodle Moot Thailand และบรรยายพิเศษ เรื่อง การประยุกต์ใช้ Moodle เพื่อการบริหารจัดการองค์ความรู้ขององค์กร (Knowledge Management) - การอบรมรมเชิงปฏิบัติการ Moodle for Instructors or Teacher วันที่ 2-3 กค. 48 ร่วมปฏิบัติการพิเศษ โดย ดร.อนุชัย ธีระเรืองชัยศรี (Moodler from คณะเภสัชจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รอง ผอ. Thai Cyber University) และ ดร. วิมลลักษณ์ สิงหนาท ผู้พัฒนา Thaimoodle Section ผู้เขียนหนังสือ Moodle E-Learning - การอบรมเชิงปฏิบัติการ Moodle for Administrator (ผู้ดูแลระบบ) วันที่2-3 กค.48 ร่วมปฏิบัติการพิเศษ โดย คุณไพทูรย์ คุณวรัท คุณสยาม คุณอดิศร ดร.คะชา ชาญศิลป์ และคุณกิตติพงษ์ Webmaster Team จาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และ กระทรวงศึกษาธิการ น่าเสียดายที่ 2 - 3 กรกฎาคม 2548 ผมติดอบรม JAVA เพื่อ เข้าสอบ JAVA Programmer ซึ่งเป็นโครงการของ SIPA |
98. การมีภาพประจำตัวแต่ละคน (งานของ admin)
เคยเข้า moodle.org แล้วเห็นภาพคุณ Martin Dougiamas มิใช่ภาพขนมเค๊กใส่แว่นดำเหมือนที่ระบบมีให้ เมื่อศึกษาก็พบว่าต้องติดตั้ง GD Library ใน php.ini จึงจะแสดงภาพแทนตัวเราได้ แล้วไปตรวจ Server ของผมว่าติดตั้ง GD หรือไม่ด้วยการเปิดเว็บ http://class.yonok.ac.th/admin/phpinfo.php (admin เท่านั้นที่ตรวจได้) ก็ไม่พบคำว่า GD Support จึงใช้ notepad เปิดแฟ้ม c:/windows/php.ini แล้วลบ ; ที่อยู่หน้าคำว่า extension=php_gd2.dll จากนั้นก็ restart apache ใหม่ เมื่อเปิดอีกครั้งก็พบว่ามี GD support มีค่าเป็น enabled แล้ว จึงเข้าไปแก้ไขข้อมูลของตนเองอีกครั้ง พบว่า upload ภาพถ่ายของตนเองเข้าไปใน server แทนภาพขนมเค๊กใส่แว่นดำสำเร็จ ภาพที่ผมใช้มีขนาด 100*100 และมีสกุลเป็น .jpg ใช้ mouse over บนภาพสักครู่ จะแสดงชื่อเจ้าของภาพครับ + อ.องอาจ ชาญเชาว์ (หน่วยศึกษานิเทศก์) chanmedia@hotmail.com + อ.โสภณ จาเลิศ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง sophonja@yahoo.com # |
99. ปัญหา และวิธีแก้ไข (Problems and Solutions) (ปัญหาส่วนใหญ่ หาวิธีแก้ได้จาก moodle.org)
|
"ไม่เริ่มต้นในวันนี้ จะไม่มีทางสำเร็จในวันพรุ่ง" โดย โยฮัน ว็อล์ฟกัง ฟ็อน เกอเทอ |
|
|
|
|
|