thaiall logomy background ระบบข้อมูลด้านสุขภาพ การดำรงชีวิต หรือการใช้ชีวิต
my town
ข้อมูลการดำรงชีพ

ข้อมูล คืออะไร

ข้อมูล (Data) คือ ข้อมูลปฐมภูมิ สารสนเทศ (Information) คือ การนำข้อมูลมาผ่านการประมวลผล ความรู้ (Knowledge) คือ การนำสารสนเทศมาผ่านกระบวนการจัดการ ปัญญา (Wisdom) คือ การใช้ความรู้จนชำนาญ และจดจำ เรียกใช้ได้ตลอดเวลา
โรคภัยไข้เจ็บ | การปฐมพยาบาล | อาหารที่ต้องพึงระวัง | การดูแลสุขภาพ | ผู้สูงอายุ | egovernment | การจัดการฐานข้อมูล | โครงสร้างข้อมูล |
ข้อมูลและสารสนเทศ ข้อมูล (Data) คือ ข้อเท็จจริง ที่เก็บรวบรวมมา แต่ยังไม่ได้ประมวลผล เพื่อให้ได้สารสนเทศตามเป้าหมาย
สารสนเทศ (Information) คือ การนำข้อมูลมาประมวลผล เพื่อให้ได้สารสนเทศตามเป้าหมาย
ข้อมูล (Data) เป็นข้อมูลปฐมภูมิ
สารสนเทศ (Information) เป็นการนำข้อมูลมาผ่านการประมวลผล
ความรู้ (Knowledge) เป็นการนำสารสนเทศมาผ่านกระบวนการจัดการ
ปัญญา (Wisdom) เป็นการใช้ความรู้จนชำนาญ และจดจำ เรียกใช้ได้ตลอดเวลา
ข้อมูล 3 เรื่อง

ฐิตินาถ ณ พัทลุง
ทำจิตให้เข้มแข็ง

บ่งปันข้อมูลใน 3 เรื่อง ที่ควรรู้ไว้ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการดำเนินชีวิต หรือการใช้ชีวิต ได้แก่ 1) อาหาร คือ สสารใด ๆ ซึ่งบริโภคเพื่อเสริมโภชนาการให้แก่ร่างกาย อาหารมักมาจากพืช หรือสัตว์ และมีสารอาหารสำคัญ เช่น คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน วิตามิน หรือแร่ธาตุ สิ่งมีชีวิตย่อยและดูดซึมสสารที่เป็นอาหารเข้าสู่เซลล์ เพื่อนำไปสร้างพลังงาน คงชีวิต หรือกระตุ้นการเจริญเติบโต ซึ่งอาหารเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้มนุษย์ดำรงชีวิตอยู่ได้ อย่างน้อยต้องทานอาหารวันละหนึ่งมื้อ หรือให้เพียงพอกับที่ร่างกายต้องการ ควรมีข้อมูลเบื้องต้นว่าอาหารใดเหมาะกับเรา และอะไรควรหลีกเลี่ยงตามโรคประจำตัวของเรา 2) โรคภัย คือ สภาวะผิดปกติของร่างกาย หรือจิตใจของสิ่งมีชีวิต ซึ่งทำให้การทำงานของร่างกายเสียไป ผิดปกติ หรืออาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิต ที่อาจแสดงออกจากโรคได้ชัดเจน หรือไม่ก็ได้ ซึ่งโรคเป็นปัญหาที่ไม่มีใครอยากให้เกิดกับตนเอง ถ้าเกิดโรคแล้วก็ควรอย่างยิ่งที่จะต้องหาข้อมูล เพื่อรักษาให้หาย 3) การปฐมพยาบาล คือ การให้การช่วยเหลือผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุต่าง ๆ หรือเจ็บป่วยกระทันหัน ณ สถานที่เกิดเหตุ ให้พ้นอันตราย ก่อนที่จะส่งไปให้แพทย์รักษาต่อไป โดยใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมือเท่าที่หาได้ในขณะนั้น
โรคภัยไข้เจ็บ การปฐมพยาบาล อาหารที่ต้องพึงระวัง
ชวนมอง ชวนใช้ ข้อมูลภาครัฐ
จำนวนนักเรียน รายชื่อมหาวิทยาลัย
Data.go.th ถูกจัดตั้งตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อปีพ.ศ. 2556 ในเรื่อง แนวทางการยกระดับการให้บริการประชาชน ผ่านบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ เพื่อให้เกิดการบูรณาการ การเชื่อมโยงที่สมบูรณ์ครอบคลุมการให้บริการแก่ภาคประชาชน ภาคธุรกิจ และหน่วยงานของรัฐด้วยกันเอง ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและรองรับการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community: AC) ในปี พ.ศ. 2558
Data.go.th หรือ ศูนย์กลางข้อมูลภาครัฐ มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อทำให้ผู้ใช้บริการทั้งภาคประชาชน ภาคธุรกิจเอกชน รวมถึงหน่วยงานของรัฐ สามารถค้นหาและเข้าถึงข้อมูลที่มีคุณภาพของภาครัฐได้ง่าย โดยมีเป้าหมายสูงสุด เพื่อส่งเสริมให้เกิดธรรมาภิบาล เกิดความร่วมมือของภาครัฐ และสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน โดยการดำเนินการของศูนย์กลางข้อมูลภาครัฐนั้นสร้างมูลค่า ทั้งในด้านของความโปร่งใส การมีส่วนร่วม การปรับปรุง หรือพัฒนาสินค้าและบริการใหม่ การสร้างนวัตกรรม การปรับปรุงประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการให้บริการของภาครัฐ และการเพิ่มมูลค่าให้กับหน่วยงานราชการเอง โดย “ข้อมูลเปิด” นั้นนอกจากจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการแล้วยังช่วยลดค่าใช้จ่ายของหน่วยงานราชการได้
ความเป็นมาเกี่ยวกับ data.go.th
ข้อมูลตำบลในจังหวัดลำปาง #
6 ข้อควรรู้เกี่ยวกับ Open Data
รายชื่อมหาวิทยาลัยทั้ง 390 แห่งตามจังหวัด (Handsontable)
รายชื่อมหาวิทยาลัยทั้ง 390 แห่งตามจังหวัด #2 (\u0e01)
API : รายชื่อมหาวิทยาลัย อธิการบดี และที่ตั้ง (data.go.th - default limit 100)
ส่งข้อมูลออกเป็น ส่งออก: image ส่งออก: pdf
PDPA : ข้อมูลมีอิทธิพลต่อความคิด/การกระทำ ซึ่งมีกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ความคิด (Thinking) มาจาก (Influenced by) ข้อมูล (Data)
ประสบการณ์ (Experience)
และพื้นฐาน (Fundamental)
ที่ต่างกันไป (Different)

PBL = Problem Based Learning
"นักเรียน ต้องหมั่นเพียร
ตั้งโจทย์ กำหนดปัญหาขึ้นมา
เพื่อถามตัวเอง
ว่า ข้อมูลอะไร ความเชื่ออะไร ประสบการณ์อะไร
ที่ส่งผลให้เราคิด หรือมีอิทธิพลต่อตัวเรา
ได้นำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ เป็นพฤติกรรม
ที่ต่างจากเดิม หรือเหมือนเดิม
แล้วผลลัพธ์สุดท้าย คืออะไร
"
แนะนำ หัวข้อ/หนังสือที่น่าสนใจ
Book : Thinking Clearly with Data: A Guide to Quantitative Reasoning and Analysis
Blog : How I Let Data Influence Choices
Blog : Data-Driven Decision Making: A Primer for Beginners
Techtalkthai : ข้อมูลนั้นสำคัญทั้งบุคคล และธุรกิจ (/mis19)
ความสุข ของ Grand age 8 ตัวอย่าง (แกะดำทำธุรกิจ)

คลิ๊ป The grand age final (17.13 นาที)
facebook.com/groups/olderperson
ความสุข นอกจากสุขภาพดีแล้ว ก็มีอีกหลายวิธีในการหาความสุข
เรื่องเล่า Grand age ใน 8 ตัวอย่าง
"โลกของผู้สูงอายุ อาจไม่เหมือนที่คุณคิด
ถึงตอนนี้คุณยังคิดเหมือนเดิม อยู่อีกหรือเปล่า
"
2.00 : 1) นรินทร์ บุญทวีกิจ และ กรองแก้ว บุญทวีกิจ
- ว่างก็ไป shopping ทานอาหารคลีน
- tour ทั่วไทย 2000 ก.ม.
- ออกกำลังกายที่บ้าน ทานน้ำปั่น ทุกวัน
3.18 : 2) สมชาย จงนรังสิน
- Tri กีฬา ปั่น ว่าย วิ่ง
- ปั่น 600 กิโล มา 3 ครั้งแล้ว
- จากไม่เคยมีจักรยาน ตอนนี้มี 12 คัน
4.04 : 3) ชัชวาล วิริยะไพบูลย์
- วิ่งตั้งแต่อายุ 50
- วิ่งได้ถ้วย 2 ปีที่ผ่านมา ได้ 50 กว่าใบ (แม่เมาะ ลำปาง)
- กลุ่มเยอะ ไลน์ ส่งสวัสดีวันจันทร์ บอกกูยังอยู่นะ
5.11 : 4) ปัญญา ศรีสุพรรณ
- เดินป่า ถ่ายรูป 3 ปี 70 ทริป
- ไปไหนมาก็ถ่ายรูปอัพเฟสบุ๊ค
- ยุคนี้เริ่มเห็น คนเดินป่าตอนอายุเยอะล่ะ
5.32 : 5) สุพจน์ สนสุวรรณ
- เล่นกีต้า อายุเยอะก็เล่นได้
- หลัง 60 ชีวิตไม่หยุดนิ่ง หนึ่งนาทีมีค่า อย่าหยุดกับที่
- ซื้อออนไลน์ได้เกือบทุกอย่าง ยกเว้นทีวีตู้เย็น
5.46 : 6) ธนสวรรณ เทพสาธร
- กระตือรือร้นกับตัวเองตลอด แก่ไม่ได้
- สังสรรค์กับเพื่อนปีละครั้ง
- ทุกเดือนต้องนัดเจอ
5.52 : 7) อรัญญา จีระมะกร
- ยังไม่รู้สึกว่าต้องเกษียณ
- เรียนวาดรูป ร้องคอรัสกับเพื่อน ฝึกโยคะ
6.00 : 8) มานพ เด่นซอ
- อายุ 81 ยังเป็นหัวหน้าทัวร์
- ยังมีไฟอยู่ ไฟมันยังไม่หมด
สิ่งที่ดีที่สุด (The grand age final)
1. สายกินเที่ยว
เลือกใช้ชีวิตอย่างมีอิสระเสรี กินอะไรก็ได้ ไปที่ไหนก็ได้ ทั่วไทย ทั่วโลก ทั่วทุกอำเภอ ทั่วทุกห้างสรรพสินค้า ไปเที่ยวกัน
2. สายไตรกีฬา
เลือกเป็นซุปเปอร์แมน ทำทุกอย่าง แข่งกับตนเอง เป็นนักปั่นน่องเหล็ก นักว่ายน้ำปอดเหล็ก นักวิ่งมาราธอน
3. สายวิ่ง
เลือกที่จะวิ่ง วิ่งทุกสนาม วิ่งจนได้โล่ วิ่งล่าถ้วย วิ่งเพื่อสุขภาพ วิ่งกับเพื่อน วิ่งแล้วสนุก วิ่งมาราธาน ชีวิตมีอะไรอีกเยอะ
4. สายป่า
เลือกเข้าป่า ออกทริป ตั้งแคมป์ ลุยทุกป่า มีกลุ่ม มีแก๊งเพื่อนเดินป่า หนีคอนกรีต กลับสู่ธรรมชาติ ถ่ายรูป อัพเฟส
5. สายกีต้า
เลือกอยู่บ้าน ไม่หยุดนิ่ง เล่นดนตรีกีต้า ร้องเพลง ช้อปปิ้งออนไลน์ จับจ่ายใช้สอยสะดวกด้วยปลายนิ้วสัมผัส
6. สายมีทติ้ง
เลือกใช้ชีวิตสนุกสนาน แต่งตัว เที่ยวเล่น เมาท์กับกลุ่มเพื่อน สังสรรค์เฮฮา ปาร์ตี้ ตามประสาเพื่อนเป็นประจำ
7. สายเรียนร้องเล่นรำ
เลือกคิดว่ายังไม่เกษียณ ชีวิตยังมีอะไรให้ต้องเรียนรู้อีกมาก เรียนวาดรูป ร้องคอลัส ฝึกโยคะ ออกกำลังกาย
8. สายจัดทัวร์
เลือกทำงานจนกว่าจะหมดแรง จัดทัวร์ ออกท่องเที่ยวกับลูกทัวร์ มีอาชีพอีกมากที่ต้อนรับผู้เกษียณที่ยังมีไฟ
Thaiall.com