กระดานแสดงความคิดเห็น
Home
Contents
Articles
Quiz
Members
Sponsor
Print-friendly
MENU
ปรับปรุง : 2566-10-15 (กระดานแสดงความคิดเห็น)
เว็บเพจหน้านี้สำหรับผู้ดูแลเท่านั้น
รหัส secure
=>
นำตัวอักษร สีขาวบนพื้นแดง มาป้อนในช่องนี้
edit_topic_password =>
<center><table width=90% border=0 bgcolor=#000080><tr><td><font color=white size=4>Explicit และ Tacit KM เป็นแนวคิดของ Michael Polanyi และ Ikujiro Nonaka</td></tr></table><table width=90% bordercolor=#000080 border=1><tr><td bgcolor=white><br>http://www.tct.ac.th/News/KNowledge-Creating_Company_part_1.pdf<br /> http://gotoknow.org/blog/manat97/812<br /> http://www.pdamobiz.com/show_news.asp?NewsID=32896<br /> http://www.ftpi.or.th/dwnld/pworld/pw54/54_hr3.pdf<br /> http://area.obec.go.th/nonthaburi1/tanes/BLOG2.doc เครื่องมืออันทรงพลังของ KM<br /> http://qa.mcru.ac.th/work/news06.doc<br /> http://gotoknow.org/blog/tanes<br /> การพูดถึงความรู้ (knowledge) ในกระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM) Michael Polanyi และ Ikujiro Nonaka บอกว่า ความรู้มีอยู่ 2 ประเภท คือ<br /> tacit knowledge (ความรู้ฝังลึก) เป็นความรู้ที่อยู่ในตัวบุคคล อันเกิดจากการสั่งสม <br /> ประสบการณ์การเรียนรู้หรือพรสวรรค์ต่าง ๆ ของแต่ละบุคคล <br /> explicit knowledge (ความรู้เด่นชัด) เป็นความรู้เปิดเผยที่ถูกเก็บรวบรวมไว้อยู่ในหนังสือ <br /> เอกสาร คอมพิวเตอร์ เป็นต้น<br /> ความรู้ส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 80 จะเป็นความรู้ประเภท tacit knowledge ซึ่งเป็นความรู้ที่สื่อสาร หรือ ถ่ายทอด ด้วยลายลักษณ์อักษรได้ยาก แต่สามารถแบ่งปันกันได้ ส่วน อีกร้อยละ 20 เป็นความรู้ประเภท explicit knowledge ซึ่งเปรียบเสมือนภูเขาน้ำแข็งที่โผล่พ้นน้ำมาให้เห็นเพียงประมาณร้อยละ 20 <br /> จากส่วนที่เหลือใต้พื้นน้ำที่มองไม่เห็นอีกประมาณร้อยละ 80 <br /> <br /> แต่คนที่มี tacit knowledge บางคนก็ขาดเทคนิควิธีการถ่ายทอดความรู้ หรือบางคนก็ไม่อยากจะถ่ายทอดความรู้ให้ใคร และองค์กรก็ยังไม่มีการสร้างกลไกหรือเงื่อนไขให้บุคลากรได้แบ่งปันความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน เพื่อทำให้ความรู้งอกงามขึ้นหรือทำให้ tacit knowledge กลายเป็น explicit knowledge จึงทำให้ tacit knowledge อันมีคุณค่าของแต่ละคนถูกละทิ้งไปอย่างน่าเสียดาย<br /> <br /> ดังนั้น กระบวนการ KM จึงพยายามหาเทคนิควิธีดึงความรู้ (Capture) จาก tacit knowledge ของแต่ละคนที่มี best practices (วิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด) มาเป็น explicit knowledge เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานให้เกิดความก้าวหน้าแก่องค์กร และพัฒนาไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ (learning organization) ต่อไป ปัจจุบันมีองค์กรที่ส่งเสริมพัฒนาเรื่องนี้หลายองค์กร เช่น สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม(สคส) สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาระบบราชการ(กพร.) สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล(พรพ) วิทยาลัยการจัดการทางสังคม(วจส.) เป็นต้น <br /> <br /> กิจกรรมหลัก ๆ ในกระบวนการ KM ก็คือ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน (share & learn) ซึ่งอาจมีเครื่องมือย่อย ๆ อีก เช่น สุนทรียสนทนา ( dialogue) หรือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านสื่อต่าง ๆ เป็นต้น <br /> <br /> <br /> blog คือ อะไร<br /> <br /> มีเครื่องมือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของ KM ชนิดหนึ่งที่ได้รับความสนใจใช้กันมากขณะนี้คือ blog ซึ่งเป็นคำย่อของ weblog คือ เว็บไซต์เพื่อการบันทึกไดอารี่ที่เปิดโอกาสให้มีการแบ่งปันความรู้ที่เป็นข้อความหรือรูปภาพที่บันทึกเอาไว้ ซึ่งผู้เขียน blog และผู้เยี่ยมชมสามารถเข้าถึงข้อมูลนั้น โดยผ่านโปรแกรมเว็บบราวเซอร์<br /> <br /> วัตถุประสงค์ของการใช้บล็อกก็เพื่อให้คนทั่วไปที่ต้องการจดบันทึก สามารถใช้บล็อกเป็นที่จดบันทึกและใส่รูปภาพพร้อมทั้งส่งต่อให้แก่ผู้อื่นได้ โดยผู้เข้าเยี่ยมชมก็สามารถมีส่วนร่วมได้ด้วย คล้าย ๆ กับการโพสต์ข้อความโต้ตอบกันในเว็บบอร์ด แต่บล็อกมีเครื่องมือและตัวเลือกมากกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บันทึกสามารถเป็นเจ้าของบล็อกได้ จึงต้องมีการลงทะเบียนแสดงความรับผิดชอบต่อบล็อกของตนเอง<br /> <br /> ปัจจุบันมีผู้พัฒนาบล็อกที่ให้บริการฟรี ภายใต้เว็บไซต์ซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไปเช่น http://www.gotoknow.org/ หรือ http://www.blogger.com/ เป็นต้น ซึ่งทั้งสองบล็อกนี้ได้ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการแลกเปลี่ยน tacit knowledge ในกระบวนการ KM อย่างกว้างขวาง เป็นเครือข่ายคล้าย จ.ส.100 หรือ ร่วมด้วยช่วยกัน <br /> <br /> <br /> <br /> ถ้าจะเข้ามาเขียนบล็อกต้องทำอย่างไร ?<br /> <br /> เราต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถเชื่อมต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ตและต้องมี <br /> e-mail address ของตนเองก่อน<br /> <br /> เข้าไปในเว็บไซต์ที่เราต้องการสมัครเป็นสมาชิก แล้วลงทะเบียนสมัครเข้าเป็นสมาชิก ซึ่ง <br /> การสมัครทำได้ง่ายมาก คล้ายการสมัคร e-mail โดยดูตามเมนูคำสั่งหลักที่ระบุให้ปฏิบัติ เมื่อระบบตอบรับเป็นสมาชิกแล้วเราก็จะมีเว็บไซต์เป็นของตนเอง เช่น เว็บไซต์ของผม www.gotokhow.org/blog/tanes เป็นต้น<br /> <br /> เวลาจะเขียนบันทึกลงบล็อกของตนเองก็ต้องเข้าใช้ระบบก่อน โดยใส่ password และ รหัส <br /> ตามที่บล็อกระบุไว้<br /> <br /> เข้าไปที่แผงควบคุม ซึ่งมีตัวเลือกให้เราเลือกดำเนินการได้มากมาย เช่น การเขียน <br /> บันทึก การอัพโหลดรูปภาพ การจัดรูปแบบบล็อก การเปิดชุมชน (แพลนเน็ต) การสมัครเข้าร่วมชุมชน (แพลนเน็ต) เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีเครื่องมือย่อย ๆ ภายในให้เราเลือกใช้อีกมากมาย <br /> <br /> <br /> แนะนำ blog gotokhow<br /> <br /> ขอยกตัวอย่างบล็อกหนึ่ง คือ blog gotokhow ซึ่งได้พัฒนาขึ้นเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2548 โดย อาจารย์จากคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 2 ท่าน คือ ดร.จันทวรรณ น้อยวัน เป็นผู้ออกแบบระบบ และ ดร.ธวัชชัย ปิยะวัฒน์ เป็นผู้เขียนโปรแกรม ได้พัฒนา blog gotokhow version 1 ให้แก่ <br /> <br /> สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) ให้เป็นเครื่องมือในการจัดการความรู้(KM)ช่องทางหนึ่ง ซึ่งถือเป็นขุมทรัพย์ทางปัญญา อันทรงพลังที่สร้างและพัฒนาโดยคนไทยและใช้โดยคนไทย<br /> <br /> หลังจากที่ blog gotokhow เริ่มมีการใช้อย่างแพร่หลายทำให้เกิด blogger และมีชุมชนสมัครเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกิดขึ้นกันมากมาย จนครบหนึ่งปีในเดือนมิถุนายน 2549 ก็ได้พัฒนา blog gotokhow เป็น version 2 ที่ก้าวหน้ามากขึ้นอีกดังที่เห็นในปัจจุบัน <br /> <br /> <br /> จุดเด่นของ blog gotoknow<br /> <br /> จุดเด่นของบล็อกนี้ประการหนึ่งคือการเชื่อมโยงเป็นชุมชนของความรู้ที่เรียกว่าแพลนเน็ต โดยมีคำหลักหรือป้ายในการบันทึกจัดกลุ่มให้ คล้ายกับ CoPS (community of practice) ที่รวม tacit khowledge ให้เป็น explicit khowledge เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้<br /> <br /> <br /> เนื่องจาก blog เป็นเว็บไซต์เชื่อมต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ต การบันทึกลงในบล็อกจึงถูกลิงค์ไปยังเว็บไซต์ gloogle ด้วย จึงทำให้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ขยายเครือข่ายไปกว้างขวางมากขึ้น <br /> <br /> <br /> ศิลปะการเขียน blog<br /> <br /> การสมัครเป็นสมาชิกบล็อกสามารถทำได้ง่าย แต่การลงมือเขียนและบันทึกแบ่งปัน tacit khowledge ลงในบล็อก ให้น่าสนใจ เป็นเรื่องที่ต้องเริ่มต้นและฝึกฝน<br /> <br /> คุณธวัช หมัดเต๊ะ จากสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) ให้คำแนะนำไว้ว่า<br /> <br /> <br /> การเขียนสะท้อนการปฏิบัติก็คล้ายการเล่าเรื่องเพียงแต่จัดเรียงประโยคสื่อสารให้ชัดเจน สั้น ง่าย อ่านเข้าใจ เท่านั้นก็เพียงพอ ถ้าผู้อ่านชอบเขาก็จะได้ความรู้และได้เรียนรู้สไตล์ของเราไปพัฒนาการเขียนของเขาต่อ<br /> <br /> สำหรับผมมีหลักในการบันทึกลงใน blog gotokhow ของตนเองว่า จะเขียนตามสไตล์ของตนเอง ตามที่เราถนัด เขียนอะไรก็ได้ตามที่อยากจะเขียน เพื่อสื่อสารให้คนอ่านและตัวเรารู้ว่าอยากจะเล่าอยากจะบอกอะไร การที่เราอยากจะเล่าจะทำให้มีพลังในการเขียน ส่วนเนื้อหารูปแบบหรือวิธีการเขียนนั้นจะพัฒนาไปเอง <br /> <br /> เรื่องที่เขียนก็จะเขียนในเรื่องที่เรารู้หรือได้ลงมือปฏิบัติมาแล้ว บางครั้งก็เขียนจากเรื่องที่ไปศึกษาดูงาน การประชุมสัมมนา การพูดคุยหรือสัมภาษณ์ผู้ที่มี best practice แต่ละเรื่องที่น่าสนใจ ถ้าเรื่องใดเราสนใจเป็นพิเศษ ก็จะถ่ายภาพแล้วโหลดรูปภาพลงไปด้วย เวลาบันทึกผมจะพิมพ์ลงไปในโปรแกรม word แล้ว coppy <br /> มาวางในบล็อก พร้อมทั้งตกแต่งรูปแบบให้น่าสนใจแล้วจึงบันทึก <br /> มีหลายเรื่องที่มีผู้อ่านโพสต์เข้ามา หรือบางคนก็เข้ามาถามมาคุยเป็นการส่วนตัวทาง e-mail ที่ระบุไว้ในบล็อก ก็จะมีการโต้ตอบปฏิสัมพันธ์กันทำให้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กว้างขวางและมีแรงจูงใจในการเขียนบล็อกได้อย่างต่อเนื่อง จากสถิติการเข้ามาอ่านบล็อกแต่ละเรื่องที่เขียนในแต่ละวัน มีจำนวนไม่น้อยทีเดียว แสดงว่าคนไทยมีความสนใจ การอ่านบล็อกมากขึ้น แต่ยังไม่ค่อยชอบโพสต์หรือแสดงความคิดเห็น ซึ่งเป็นเรื่องที่ควรหาวิธีกระตุ้นกันต่อไป<br /> <br /> เสน่ห์ของ blog จึงเป็นเสน่ห์ที่ยิ่งเข้าไปลงมือเขียนก็ยิ่งเกิดความผูกพันจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันและยังช่วยพัฒนาจิตใจตนเองให้มีความเอื้ออาทร รู้จักแบ่งปันความรู้ แนวคิดให้แก่ผู้อื่น และรู้จักรับฟังเก็บเกี่ยวความรู้จากผู้อื่นด้วย<br /> <br /> Blog จึงเป็นเครื่องมืออันทรงพลังของ KM. จริง ๆ <br /> <br /> เอกสารอ้างอิง <br /> คณิศร หงส์วัชรสกุล การสร้างบล็อกด้วยบริการฟรี ๆ จาก blogger.com เอกสารประกอบการบรรยาย <br /> ของมหาวิยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ วิทยาเขตนนทบุรี 2549<br /> <br /> ประพนธ์ ผาสุขยืด การจัดการความรู้ ฉบับมือใหม่หัดขับ กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ใยไหม 2548 <br /> วิจารณ์ พานิช การจัดการความรู้ฉบับนักปฏิบัติ กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์สุขภาพใจ 2548 <br /> <br /> <br><br></td></tr><tr><td align=right bgcolor=black><font color=white><small><b>จากคุณ :</b> บุรินทร์ <a href=mailto:></a><a title='61.90.155.5'>.</a><br> 08:11pm (5/01/07)</font></td></tr></table></center>