การแรกนาขวัญเป็นราชประเพณีที่ทำเพื่อมุ่งความสวัสดีแก่ชาวนาผู้ยึด อาชีพกสิกรรมเป็นอาชีพหลัก ในสมัยสุโขทัย เดือน 6 แรกนาขวัญ พวกพราหมณ์อัญเชิญเทวรูปเข้า ไปในโรงพิธี ครั้นถึงวันฤกษ์แรกนาขวัญ พระร่วงเสด็จออกไปประทับ ณ ตำหนักห้าง พร้อมด้วยพระอัครชายา และพระบรมวงศานุวงศ์ และสนมกำนัล ใน ซึ่งเป็นที่ต้องพระราชหฤทัยออกญาพหลเทพธิบดีแต่งตัวอย่างลูกหลวง ต้น ขบวนแห่มาที่มณฑลชาวโคอุสุภราชออกเทียมไถทอง พระครูพรหมพรตมอบ ยมไถ และปฎักทองให้ ครั้นแล้วออกอาญาพหลฯ เดิมไถต่อไปเป็นอันดับหนึ่ง
ในสมัยรัตนโกสินทร์ การแรกนาขวัญ การแรกนาขวัญโปรดให้ราชการผู้ใหญ่เป็นผู้แรก ครั้นถึงวันกำหนด ตอนบ่ายสวดมนต์พิธีพืชมงคลมี ขบวนแห่เทวรูปพระอิศวร,พระอุมาภควดี,พระนารายณ์,พระมหาวิฆเนศวร, พระพลเทพแบกไถจากพระบรมมหาราชวัง ไปเฝ้าพิธี ณ ทุ่งพญาไท เวลาค่ำ พระมหาราชครูทำพิธี รุ่งขึ้นแห่พระยาแรกนาขวัญ มีคนในขบวน 500 ครั้นถึง โรงพิธีแล้ว พระยานั้นบูชาเทวรูปตั้งสัตยาธิษฐาน จับผ้าได้เสี่ยงทายผืนใดผืน หนึ่งในจำนวน 3 ผืน แล้วนุ่งทับผ้าผืนเดิม ถ้าจับได้ผ้าผืนกว้างทายว่าน้ำน้อย ถ้าจับได้ผ้าผืนแคบทายวาน้ำมาก
ลำดับนั้น มีราชบัณฑิตเชิญพระเต้าเทวบิฐเดินนำหน้าประพรมน้ำมนต์ ไป พราหมณ์ 1 คน คือเป่าสังข์ 2 คน เชิญเทวรูปพระพลเทพแบกไถ 1 คน พระยาจับยามไถถือไม้ปฎักหุ้มแพรไถดะไปกว้างยาวด้านละ 3 รอบ นางเทพี 4 คน หาบกระเช้าข้าวปลูก คือกระเช้าเงิน 2 คน กระเช้าทอง 3 คน สำหรับให้ พระยาหว่าน ครั้นหว่านแล้วไถกลบด้านละ 3 รอบ ลำดับนั้นปลดพระโคออก กินข้าวเปลือก ข้าวโพด ถั่ว งา เหล้า น้ำ หญ้า รวม 7 สิ่ง โคกินสิ่งใดทายว่าสิ่ง นั้นอุดมสมบูรณ์