thaiall logomy background

กระดานแสดงความคิดเห็น

my town
285 รำลึกอดีตกับคลิ๊ปเปอร์
285 รำลึกอดีตกับคลิ๊ปเปอร์

ในวิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์ มีตัวแปลภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ถูกพัฒนาขึ้นมากมาย ภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 3 คือภาษาระดับสูง (High-Level Languages) ยังเป็นการเขียนโปรแกรมต้นฉบับ (Source Code) ที่ต้องอาศัยทักษะค่อนข้างมาก อาทิ COBOL, FORTRAN, BASIC, PASCAL, C, Foxpro, DBase หรือ Clipper เริ่มมีตัวแปลภาษาเพื่อตรวจสอบความผิดพลาดของรหัสต้นฉบับก่อนนำไปประมวลผลจริง การปรับปรุงแฟ้มข้อมูลในสื่อโบราณ อาทิ เทปกระดาษ หรือเทปแม่เหล็ก ยังใช้หลักการประมวลผลแบบตามลำดับในการประมวลผล ภาษายุคต่อมาทำให้การพัฒนาทางซอฟท์แวร์เป็นไปอย่างก้าวกระโดด เพราะสามารถใช้คำสั่ง SQL ในการจัดการข้อมูล เริ่มรองรับการพัฒนาแบบโมดูล มีภาษาใหม่เกิดขึ้นอย่างหลากหลาย

ภาษาคอมพิวเตอร์ที่ต้องเขียนรหัสต้นฉบับ แล้วนำไปแปลให้ได้โปรแกรมที่นำไปประมวลผลได้ทันที ใช้โครงสร้างภาษาของ DBase ใช้แฟ้มข้อมูล Dbase ก็มีภาษาคลิ๊ปเปอร์ (Clipper) ที่ได้รับความนิยมอีกภาษาหนึ่ง การพัฒนาตัวแปลภาษาก้าวกระโดดไปพร้อมกับการพัฒนาระบบปฏิบัติการ ทำให้ผู้พัฒนานิยมเลือกใช้ภาษาที่มีความสามารถทางกราฟฟิก มีความสามารถเชิงวัตถุ จัดการกับข้อมูลได้ง่ายด้วยคำสั่ง SQL และทำงานอย่างมีประสิทธิภาพบนโปรแกรมจัดการฐานข้อมูลรุ่นใหม่ จึงกล่าวได้ว่าภาษาคลิ๊ปเปอร์พ่ายแพ้ในตลาดตัวแปลภาษาไปพร้อมกับระบบดอส และดีเบส หลังการแข่งขันกับตัวแปลภาษายุคใหม่ที่เน้นด้านกราฟฟิก และการโปรแกรมเชิงวัตถุ

มีสองกรณีที่ผู้เขียนได้ติดต่อกับเพื่อนนักพัฒนาเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา ท่านแรกเปลี่ยนสายงานและไปทำงานในต่างประเทศ ไม่นานมานี้ได้มีโอกาสได้จับภาษาคลิ๊ปเปอร์อีกครั้ง ซึ่งท่านสอบถามถึงตัวแปลภาษาเพื่อนำไปใช้พัฒนาโปรแกรมหลังทิ้งไปแล้วหลายปี อีกท่านหนึ่งพบปัญหาการส่งข้อมูลให้โปรแกรมประมวลผล แล้วประมวลผลไม่ถูกต้อง ซึ่งโปรแกรมถูกใช้ต่อเนื่องมาแล้วหลายปี การพัฒนาโปรแกรมใหม่ก็เป็นไปไม่ได้ เพราะผู้พัฒนาย้ายหน่วยงานไปแล้ว ภาษาคลิ๊ปเปอร์จะใช้คำสั่งเลือกข้อมูลแบบเดิม ถ้ากำหนดเงื่อนไขไม่ครอบคลุมแบบของข้อมูลก็ต้องพิจารณาเลือกป้อนข้อมูลที่ผ่านการคัดกรองอย่างดีก่อนส่งเข้าไปประมวลผล มิเช่นนั้นก็จะประมวลผลผิดพลาด ยังมีองค์กรอีกมากที่ยังใช้โปรแกรมรุ่นเก่า มิได้ไล่ตามเทคโนโลยี ถ้าโปรแกรมที่เคยใช้ยังใช้ได้ก็ยังใช้ต่อไป แต่ถ้าเกิดปัญหาก็ต้องแก้ไขไปตามอาการ เพื่อให้กระบวนการทำงานไหลลื่นต่อไป


จากคุณ : บุรินทร์ .
10:49am (17/03/11)
ทความเกี่ยวกับไอทีในชีวิตประจำวัน (Information Technology in Life) ถูกเขียนลงในหนังสือพิมพ์ฅนเมืองเหนือ เป็นหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ เริ่มเขียนปลายปีพ.ศ. 2549 จนถึงมิถุนายน พ.ศ.2560 รวมได้ 611 บทความมีโฮมเพจอยู่ที่ http://www.thaiall.com/itinlife และ http://www.thaiall.com/opinion เพื่อเป็นแหล่งแบ่งปันเรื่องราวที่ได้พบ ได้อ่าน ได้ปฏิบัติ แล้วนำมาเรียบเรียงแบ่งปันแก่เพื่อนชาวไทย และส่งให้กองบรรณาธิการนำไปตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นของจังหวัดลำปาง
Opinion แปลว่า ความคิดเห็น วาทะ ความเชื่อ ที่สามารถสะท้อนออกมาให้อยู่ในรูปของวรรณกรรม หรืองานเขียน ที่เรื่องราวจะถูกร้อยเรียงเป็นตัวอักษร ไล่เรียงตามลำดับให้ได้รู้และเข้าใจความคิดความเห็น ที่ไม่เลือนหายไปตามเวลาเหมือนความทรงจำ
version 1.3 (15 ตุลาคม 2566)
Thaiall.com
Thaiall.com