thaiall logomy background

กระดานแสดงความคิดเห็น

my town
263 ข้อดีของเฟซบุ๊ก
263 ข้อดีของเฟซบุ๊ก

เหรียญมีสองด้าน เคยแสดงความเห็นเชิงลบเกี่ยวกับเฟซบุ๊กให้เพื่อนในกลุ่มฟัง ก็มีเพื่อนท่านหนึ่งหันมาถามว่าอยากให้มองเรื่องบวกที่ได้จากเฟซบุ๊กบ้าง เพราะถ้าไม่มีเรื่องดีเลย แล้วคุณมาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก เจ้าของเว็บไซต์ที่เริ่มพัฒนาระบบจากในมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ดจะติดอันดับรวยระดับโลกด้วยวัยประมาณ 26 ขวบได้อย่างไร ก็คงต้องบอกว่าเฟซบุ๊กมีมุมบวกอยู่มิใช่น้อย ด้วยตำแหน่งเว็บไซต์เครือข่ายสังคม (Social Networking Website) ที่สมบูรณ์และมีผู้ใช้มากที่สุดในปัจจุบัน

มองมุมบวกสำหรับผู้ใช้ระดับกลุ่มคน หรือองค์กร คือ บริการ Group Page ที่เปิดให้เพื่อนในชมรม หรือทีมงานสื่อสารกันเฉพาะในกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพมีระดับของผู้ใช้แบ่งเป็น admin กับ members ซึ่งผู้เป็น admin แต่ละคนก็ยังเป็นเจ้าของข้อความ ภาพ วีดีโอ หรือบันทึกที่ส่งเข้าไปในกลุ่ม เหมือนกลุ่มนักดนตรี กลุ่มดีเจรายการวิทยุ หรือกลุ่มครูในโรงเรียน เป็นต้น อีกบริการที่ทำให้เฟซบุ๊กเป็นที่ชื่นชอบของนักพัฒนาเว็บไซต์ หรือดารานักร้อง คือ บริการ Fan Box ที่สามารถเชื่อมโยงภาพสมาชิกที่ชื่นชอบ Fan Box ไปเผยแพร่บนเว็บไซต์ภายนอก เช่น เว็บไซต์ของดารานักร้อง เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย เมื่อมหาวิทยาลัยลงประกาศข่าว หรือนักร้องแจ้งกำหนดการไปออกคอนเสิร์ต ก็จะมีบรรดาแฟนเพลงที่ชื่นชอบเข้าไปติดตามความเคลื่อนไหวทุกวัน ซึ่งผู้ดูแล Fan Box อาจมีหลายคน แต่ภาพ Profile จะแสดงในนาม Fan Box เท่านั้น ต่างกับ Group Page ที่แสดงภาพ Profile ของผู้ลงข้อความเฉพาะบุคคล

มองมุมบวกสำหรับผู้ใช้ระดับบุคคล คือ มีบริการสร้างห้องสะสมภาพ ห้องสะสมวีดีโอ ห้องบันทึกไว้เผยแพร่ให้เพื่อนสนิท ขอย้ำว่าเพื่อนสนิท เพราะเพื่อนของผู้เขียนหลายคนไม่รับผู้เขียนเป็นเพื่อนในเฟซบุ๊ก แม้จะรู้จักกันและทำงานด้วยกัน แต่เขาไม่นับผมเป็นเพื่อนสนิท จึงไม่มีโอกาสเห็นข้อมูลของเขา ถ้าเพื่อนคนใดที่เคยรับเป็นเพื่อนสนิทมีพฤติกรรมก่อความรำคาญ เช่น Tag ภาพที่ไม่เกี่ยวข้องเป็นการยัดเยียดข้อมูลข่าวสารก็จะถูกขับออกจากการเป็นเพื่อน ส่วนข่าวสารที่ส่งไม่ถูกเวลาก็อาจมีคนเห็นเพียงไม่กี่คน สรุปว่าถ้าไม่เข้าไปในระบบก็จะไม่ได้อ่านข่าวสารข้อมูลที่เพื่อนหลายร้อยคนเขียนกันหลายร้อยเรื่องในแต่ละวัน แล้วต้องมีทัศนะเชิงบวกว่าสาระหลายร้อยเรื่องนั้น เป็นเรื่องที่มีคุณค่าแก่การติดตามเป็นส่วนใหญ่


จากคุณ : บุรินทร์ .
09:34am (4/10/10)
ทความเกี่ยวกับไอทีในชีวิตประจำวัน (Information Technology in Life) ถูกเขียนลงในหนังสือพิมพ์ฅนเมืองเหนือ เป็นหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ เริ่มเขียนปลายปีพ.ศ. 2549 จนถึงมิถุนายน พ.ศ.2560 รวมได้ 611 บทความมีโฮมเพจอยู่ที่ http://www.thaiall.com/itinlife และ http://www.thaiall.com/opinion เพื่อเป็นแหล่งแบ่งปันเรื่องราวที่ได้พบ ได้อ่าน ได้ปฏิบัติ แล้วนำมาเรียบเรียงแบ่งปันแก่เพื่อนชาวไทย และส่งให้กองบรรณาธิการนำไปตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นของจังหวัดลำปาง
Opinion แปลว่า ความคิดเห็น วาทะ ความเชื่อ ที่สามารถสะท้อนออกมาให้อยู่ในรูปของวรรณกรรม หรืองานเขียน ที่เรื่องราวจะถูกร้อยเรียงเป็นตัวอักษร ไล่เรียงตามลำดับให้ได้รู้และเข้าใจความคิดความเห็น ที่ไม่เลือนหายไปตามเวลาเหมือนความทรงจำ
version 1.3 (15 ตุลาคม 2566)
Thaiall.com
Thaiall.com