http://physics.bsru.ac.th/web_physics1/old/JU/JU27-11-46/Iookstar.htm
http://202.29.77.139/design/sci-3/sara/StarAnswer.html
http://www.school.net.th/library/snet3/dr_sutat/bigtelsc.htm
http://edtech.kku.ac.th/~s48221275012/485050175-3/pp3.htm
http://www.ipst.ac.th/ThaiVersion/publications/in_sci/fastlight.html ***
http://www.ipst.ac.th/ThaiVersion/publications/in_sci/ ***
http://www.physorg.com/preview11713.html (superearth)
http://www.slashnot.com/articles/593/
โลกอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มาก แสงเดินทางจากดวงอาทิตย์
ใช้เวลาเพียง 500 วินาที หรือประมาณ 8.3 นาที
ความเร็วแสง C = 299,792.458 กิโลเมตร/วินาที
http://web1.dara.ac.th/daraspace/Data/Data_Darasart/galaxy/galaxy1.htm
http://www.darasart.com
http://www.darasart.com/astrovocab/a.html
http://web1.dara.ac.th/daraspace/Data/Data_Darasart/Universe/universe1.htm
http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/phichit/apichat_p/index.html
http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet3/astronomy/index.htm
http://news.bbc.co.uk/2/hi/science/nature/6589157.stm
http://www.vcharkarn.com/include/vcafe/showkratoo.php?Pid=22420
http://stardate.org/resources/ssguide/planet_form.html
http://zebu.uoregon.edu/~js/ast121/lectures/lec19.html
แปล และเรียบเรียงข้อมูลจาก
-เว็บไซต์ของ Space.com: http://www.space.com/scienceastronomy/super_earth_040825.html
-เว็บไซต์ของ CNN: http://www.cnn.com/2004/TECH/space/08/26/new.planet/index.html
-เว็บไซต์ของ BBC: http://news.bbc.co.uk/2/hi/science/nature/3599496.stm
The planet orbits the faint star Gliese 581, which is 20.5 light-years away in the constellation Libra.
Scientists made the discovery using the Eso 3.6m Telescope in Chile.
http://news.nationalgeographic.com/news/2006/03/0313_060313_super_earth.html
Scientists have discovered a new planet they call a "super-Earth" in a solar system 9,000 light-years away.
http://www.liverpoolthailand.com/webboard/index.php?showtopic=31304
ค้นพบโลกใบใหม่ Super Earth
นักดาราศาสตร์โลกตื่นตัว หลังค้นพบดวงดาวที่มีสภาพคล้ายคลึงกับโลกมนุษย์นอกระบบสุริยะเป็นครั้งแรก เผยมีอุณหภูมิพอเหมาะแก่การมีสิ่งมีชีวิต
ถือเป็นก้าวสำคัญในภารกิจสำรวจสิ่งมีชีวิตนอกโลก
นักดาราศาสตร์พบดาวดวงแรกนอก ระบบสุริยะที่มีความคล้ายคลึงกับโลกมนุษย์ ซึ่งคาดกันว่าอาจจะมีอุณหภูมิพอเหมาะที่จะทำให้น้ำบนดาวดวงดังกล่าว
มีสภาพเป็นของเหลว ซึ่งหมายความว่าอาจจะมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ด้วย
ดวงดวงนี้ ได้รับการเรียกขานจากนักวิทยาศาสตร์ว่า "ซูเปอร์-เอิร์ธ" หรือ 581 ซี โคจรอยู่รอบดาวกรีส 581 ในหมู่ดาวไลบรา นอกระบบสุริยะจักรวาล
ห่างจากโลกราว 20.5 ปีแสง ถูกค้นพบด้วยการใช้กล้องดูดาวเอโซ 3.6 เอ็ม จากหอดูดาวในประเทศชิลี
"เราคาดการณ์ว่าอุณหภูมิของซูเปอร์เอิร์ธอาจอยู่ราว 0 ถึง 4 0 องศาเซลเซียส ซึ่งนั่นหมายถึงน้ำจะมีสภาพเป็นของเหลว" สตีเฟน ยูดราย นักดาราศาสตร์จากหอดูดาวเจนีวา
ซึ่งเป็นหัวหน้าทีมสำรวจซูเปอร์เอิร์ธกล่าว "ขณะที่รัศมีของมันน่าจะใหญ่กว่าโลกของเราราว 1.5 เท่า มีน้ำหนักมากกว่าโลก 5 เท่า
จากการประเมินแล้วสภาพพื้นผิวอาจจะมีทั้งแผ่นดิน ภูเขา และมีมหาสมุทร"
สำหรับดาวกรีส 581 ซึ่งถูกจัดในหมวดหมู่ดาวแคระแดง ได้รับการค้นพบโดยหอดูดาวเซาเทิร์น ยูโรเปียน มีความคล้ายคลึงกับดวงอาทิตย์แต่มีพลังงานน้อยกว่า
โดยซูเปอร์เอิร์ธใช้เวลาโคจรรอบกรีส 581 เพียง 13 วันเท่านั้น และเมื่อเทียบระยะห่างระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์แล้ว ซูเปอร์เอิร์ธอยู่ใกล้กับกรีส 581 มากกว่าถึง 14 เท่า
นักดาราศาสตร์ระบุด้วยว่า ซูเปอร์เอิร์ธมีแรงดึงดูดมากกว่าโลก 1.6 เท่า และยังไม่มีการยืนยันว่ามันจะหมุนรอบตัวเองขณะโคจรรอบกรีส 581 หรือไม่
ด้านซาเวียร์ เดลโฟสส์ นักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเกรโนเบิล หนึ่งในทีมสำรวจ กล่าวว่า "เรารู้กันดีว่าน้ำเป็นบ่อเกิดและมีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิต" พร้อมกับเชื่อว่า
ดาวดวงนี้จะมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับภารกิจการสำรวจอวกาศในอนาคต เพื่อค้นหาสิ่งมีชีวิตนอกโลก
สำหรับภารกิจสำรวจอวกาศเพื่อค้นหาสิ่งมีชีวิต ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า อาจจะต้องส่งกล้องดูดาวออกไปในอวกาศ และทำการสำรวจหากระบวนการที่เกี่ยวข้องกับด้านชีววิทยา
ที่เป็นจุดเริ่มต้นของสิ่งมีชีวิต อีกทั้งจะต้องค้นหาก๊าซในธรรมชาติอย่างมีเทน หรือคลอโรฟีลที่มีบทบาทสำคัญในการสังเคราะห์แสงบนโลก
มิเชล เมยอร์ หนึ่งในทีมสำรวจ เชื่อว่า ตามทฤษฎีแล้วซูเปอร์เอิร์ธจะมีชั้นบรรยากาศ แต่จะเป็นอย่างไรยังเป็นปริศนาที่ต้องค้นหาต่อไป
หากชั้นบรรยากาศหนามาก ก็อาจจะทำให้อุณหภูมิร้อนเกินไป โดยจนถึงเวลานี้ดวงดาวนอกระบบสุริยะที่มีการค้นพบ 220 ดวงนั้นมีสภาพแตกต่างจากโลกอย่างสิ้นเชิง
ทั้งร้อนเกินไป เย็นเกินไป หรือมีก๊าซมากเกินไปเหมือนกับดาวพฤหัสบดี
อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญบางคนชี้ว่า ยังเร็วเกินไปที่จะบ่งบอกว่ามีน้ำบนดาวนั้นหรือไม่ "จะต้องมีการศึกษาอีกมากที่จะรู้ว่า มีน้ำหรือไม่ แต่คงจะไม่มี
การส่งนักบินอวกาศไปที่นั่นแน่ เพราะหากไม่มีน้ำก็ไม่รู้จะกลับกันอย่างไร" สตีฟ มาแรน อดีตนักบินอวกาศของศูนย์การบินอวกาศแห่งชาติสหรัฐหรือนาซากล่าว.
Galaxy (กาแลกซี่) เป็นส่วนหนึ่งของเอกภพ ที่ประกอบด้วยกลุ่มก๊าซ และดาวฤกษ์จำนวนนับล้านล้านดวง โดยส่งแรงดึงดูดถึงกันและกัน เกาะกลุ่มกันเป็นดาราจักร
ดาราจักร (แกแล็คซี่ - galaxy) เป็นที่รวมของดาว กระจุกดาว เนบิวลา (nebula) ฝุ่น ก๊าซ และที่ว่าง
และระบบสุริยะจะอยู่ในดาราจักรทางช้างเผือก โดยดาราจักจะมีลักษณะใหญ่ 3 ประการคือ ดาราจักวงรี ดาราจักรกังหัน และดาราจักอสัญฐาน
จักรวาล หรือ เอกภพ ในภาษาไทย แทนคำอังกฤษ Universe หรือ Cosmos
เอกภพ (จักรวาล - universe) คือ ระบบที่รวบรวมทุกสิ่งทุกอย่างในธรรมชาติ
ข้อมูลสำคัญของเอกภพคือ เส้นสเปกตรัมของดาราจักรเลื่อนไปทางสีแดงทำให้รู้ว่าเอกภพกำลังขยายตัว
การระเบิดครั้งใหญ่( Big Bang Theory ) มีแนวความคิดว่า เอกภพเริ่มแรกหรือจุดกำเนิดเอกภพ เมื่อประมาณ 10,000,000,000 ปี
มีสภาพเป็นปฐมดวงไฟมหึมาที่มีสถานะความเข้มสูงต่อมาลูกไฟนี้เกิด "การระเบิดครั้งใหญ่"เหวี่ยงสะเก็ดระเบิดออกไปทุกทิศทางต่อมาเศษสะเก็ดจากการระเบิดนี้
กลายมาเป็นแกแลกซี่มากมายในเอกภพซึ่งขณะนี้นักดาราศาสตร์ตรวจพบว่ายังคงวิ่งห่างออกไปทุกขณะเพราะแรงระเบิดครั้งนั้น
nebula เนบิวลา (ละอองฝุ่นระหว่างดวงดาว )
คือ บริเวณของก๊าซและฝุ่นในแกแลคซี่ ซึ่งอาจมองเห็นเป็นเศษธุลีหลงเหลือจากการระเบิด โดยแบ่งออกเป็น 2 อย่างคือ
1. เนบิวลาสว่างคือ เนบิวลาที่เราเห็นมันสว่างบริเวณข้างเดียว เช่น เนบิวลาสว่างใหญ่ในกลุ่มดาวนายพราน ( great nebula in Orion )
ความสว่างนี้เกิดจากพลังงานจาก ดาวที่อยู่ใกล้เคียงไปกระตุ้นให้ก๊าซในเนบิวลาเกิดการเรืองแสง บางเนบิวลาเกิดสว่างขึ้นมาเนื่องจากสะท้อนแสงจากดาวที่ใกล้เคียง
เช่น เนบิวลาในกระจุกดาวลูกไก่
2. เนบิวลามืด ในกรณีนี้ก๊าซและฝุ่นท้องฟ้ามัวและดึงดูดแสงของดาวไว้ทำให้เห็นเป็นบริเวณดำ เช่น เนบิวลารูปหัวม้า ( Horse -head nebula )
อยู่ในกลุ่มดาวนายพราน ( orion )
Quasar ควอซาร์
วัตถุที่ปรากฏคล้ายกับดาวเป็นจุดแสงสว่างแต่วัตถุนี้ปล่อยพลังงานออกมามากกว่าพลังงานที่ออกมาจากแกแลซี่ทั้งหมด ควอซาร์ส่วนมากปลดปล่อยคลื่นวิทยุ
ควอซาร์พบครั้งแรกในปี ค.ศ. 1963 และพบว่าวัตถุเหล่านี้มีเส้นสเปกตรัมเคลื่อนไปทางแสงสีแดง ( redshift ) ซึ่งเป็นแสงที่ถูกเปลี่ยนแปลงความถี่
หรือความถี่ถูกเลื่อนไปยังแสงสีแดง แสดงว่ามันกำลังเคลื่อนที่หนีเราด้วยความเร็วสูง วัตถุเหล่านี้อยู่ไกลที่สุดเท่าที่มีการค้นพบและวัตถุนี้มีการเปลี่ยนแปลงความสว่างได้ด้วย
|