ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน บิดาอีเลิร์นนิ่งไทย
| |
ปรับปรุง : 2563-03-17 (work and study from home)
|
| ได้รับขนานนามว่า "บิดาอินเทอร์เน็ตไทย"
โดย Bangkok Post พ.ศ. 2541 นิตยสาร GM นิตยสาร Smart Job นิตยสาร Image นิตยสาร Yuppie และ Nation
ข้อมูลจาก : http://www.elearning.au.edu/news/news_18.html
รางวัลผู้ประสบความสำเร็จแห่งคริสตวรรษที่ 21 และรางวัลผู้ประกอบคุณงามความดี
|
เป็น บิดาอีเลิร์นนิ่งไทย (Father of Thai E-learning)
|
เคมบริดจ์ อังกฤษ เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2549 ผู้อำนวยการ ผู้บริหารและนักวิจัยศูนย์ชีวประวัตินานาชาติ (International Biographical Centre) ที่แคมบริดจ์มีมติเอกฉันท์มอบรางวัลเกียรติยศ (Diploma of Honour) ให้ ศ.ดร. ศรีศักดิ์ จามรมาน ผู้ประสบความสำเร็จอย่างเด่นชัดในฐานะ “ บิดาอีเลิร์นนิ่งไทย (Father of Thai E-learning)”
เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2549 ศูนย์ชีวประวัตินานาชาติ ที่เคมบริดจ์ ได้ประกาศมอบรางวัลผู้ประกอบคุณงามความดี (Meritorious Decoration) ว่า ศ.ดร. ศรีศักดิ์ จามรมาน มีผลงานยอดเยี่ยมในฐานะ "บิดาแห่งอีเลิร์นนิ่งไทย (The Father of Thai E-Learning) "
- พ.ศ. 2507 คนไทยคนแรกที่จบปริญญาเอกด้านไอที (จบที่สถาบันเทคโนโลยีแห่งจอร์เจีย, สหรัฐอเมริกา)
- พ.ศ. 2513 คนไทยคนแรกที่ใช้อินเทอร์เน็ต ตั้งแต่อินเทอร์เน็ตแรกเกิดในอเมริกา
- พ.ศ. 2516 คนไทยคนแรกที่ทำอีเลิร์นนิ่ง ในฐานะศาสตราจารย์เต็มขั้น (Full Professor) ที่มหาวิทยาลัยแห่งรัฐนิวยอร์ก
- พ.ศ. 2511-2516 คนไทยคนแรกที่เป็นผู้อำนวยการบัณฑิตวิทยาลัยคอมพิวเตอร์ (Director of Graduate Studies in Computer Science) ในอเมริกาที่หมาวิทยาลัยมิชซูรี่
- พ.ศ. 2524 บุรุษคอมพิวเตอร์แห่งปีอาเซียน (Asian Computer Man of the Year 1981) โดยวารสารคอมพิวเตอร์เอเชียในฮ่องกง
- พ.ศ. 2527 เสนอให้ทำธนาคารข้อสอบ (Exam Bank) ในการประชุมที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- พ.ศ. 2531 คนไทยคนแรกที่เป็น ศาสตราจารย์ ระดับ 11 ด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ โดยตำแหน่งศาสตราจารย์ระดับ 11 นั้นเทียบเท่าปลัดกระทรวงด้านพลเรือน จอมพลด้านทหาร และสูงกว่าผู้ว่าราชการจังหวัด โดนเป็นศาสตราจารย์ ระดับ 11 อยู่ 10 ปี
- พ.ศ. 2541 ได้รับขนานนามเป็น “บิดาอินเทอร์เน็ตไทย” โดยบางกอกโพสต์ และอ้างถึงโดย ยัปปี จีเอ็ม สมาร์ทจอบ และเนชั่น
- พ.ศ. 2545 เป็นผู้ก่อตั้ง เป็นประธานกรรมการและเป็นประธานผู้บริหารหรือ ซีอีโอ (Chief Executive Officer) วิทยาลัยการศึกษาทางไกลอินเทอร์เน็ต มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
- พ.ศ. 2545 เป็นผู้ยกร่างกฎหมายอีเลิร์นนิ่งฉบับแรกของไทย ซึ่งต่อมาได้รับการปรับปรุงแก้ไขแล้วพิมพ์ลงในราชกิจจานุเบกษา เมื่อ ตุลาคม 2548
- พ.ศ. 2547 มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ สร้างอาคาร “ศรีศักดิ์ จามรมาน สถานเทคโนโลยีสารสนเทศ” ให้เป็นเกียรติ มี 12 ชั้น 12,000 ตารางเมตร มีคอมพิวเตอร์กว่า 1,000 เครื่อง มีห้องวีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ มีศูนย์ผลิตสื่อการสอนทางวิทยุและโทรทัศน์ มีศูนย์ผลิตสื่อการสอนแบบสิ่งพิมพ์ ฯลฯ
- พ.ศ. 2549 เป็นผู้อำนวยการหลักสูตรระดับปริญญาแบบอีเลิร์นนิ่ง หลักสูตรแรกของไทยคือ มหาบัณฑิตการจัดการ (Master of Science in Management) ที่มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
ข้อมูลจาก : http://www.elearning.au.edu/media/newspaper_01/media_01.html
ข้อมูลจาก : http://www.thannews.th.com/detialNews.php?id=R5620661&issue=2066
"ม.อัสสัมชัญ" ผนึก "สามารถเทลคอม" ขานรับนโยบายนายทักษิณ หลังบินไปดูงานหัวเหว่ย ที่เซิ่นเจิ้น ประเทศจีน เตรียมยกเครื่องระบบการเรียนการสอนของไทยก้าวสู่ไฮเทค ล่าสุดเตรียมเปิดหลักสูตรอี-เลิรน์นิ่ง ภายใต้โครงการ "AU PLUS"ระดับปริญญาโท สาขาบริหารจัดการแบบ ดีเดย์มกราคม.ปี 49 "ศรีศักดิ์" การันตีเรียนจบได้ใบรับรองจาก กระทรวงศึกษาธิการ สามารถสมัครงานและเรียนต่อได้ ด้าน "ธวัชชัย" ชี้เป็นธุรกิจดาวรุ่งดวงใหม่ที่สร้างรายได้
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานกรรมการ และ ประธานผู้บริหารวิทยาลัยการศึกษาทางไกลอินเตอร์เน็ต มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ขณะนี้ทางมหาวิทยาลัยได้เตรียมเปิดหลักสูตรการเรียนการสอนผ่านทางอินเตอร์เน็ต หรือ อี-เลิรน์นิ่ง ในระดับปริญญาโทสาขาวิชาด้านการบริหารจัดการแบบเต็มหลักสูตร เพื่อตอบสนองความต้องการของนักศึกษาในระดับดังกล่าวที่มีความสนใจศึกษาเล่าเรียนแต่ไม่มีเวลาเดินทางมาเรียนด้วยตนเองที่สถาบัน ภายใต้โครงการ "เอยู พลัส" (AU PLUS) โดยจะเปิดให้ผู้ที่สนใจสามารถสมัครเรียนได้ตั้งแต่เดือนมกราคมปีหน้า และเริ่มเปิดเรียนประมาณต้นเดือนพฤษภาคม
โดยหลักสูตรดังกล่าวจะใช้เวลาในการเรียนทั้งหมดประมาณ 1 ปี ซึ่งผู้เรียนจะต้องส่งงานให้กับอาจารย์ผู้สอนเกินกว่า 20% ขึ้นไปของการเรียน และ ต้องมีการติดต่ออาจารย์ผู้สอนรวมถึงเพื่อนร่วมชั้นเรียนอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพื่อแสดงถึงความสนใจในการศึกษา และการมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่นเหมือนดังเช่นการศึกษาเล่าเรียนตามหลักสูตรปกติในมหาวิทยาลัย โดยอาจารย์ผู้สอนจะเข้ามาตอบปัญหาของนักศึกษาที่ไม่เข้าใจภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากที่ส่งคำถามเข้ามา
นอกจากนี้ระหว่างที่ศึกษาเล่าเรียนก็จะมีการสอบไล่วัดคะแนนความรู้ ซึ่งนักศึกษาจะต้องเดินทางมาสอบด้วยตนเองที่สนามสอบที่ทางมหาวิทยาลัยจัดเตรียมไว้ให้ โดยเมื่อจบหลักสูตรก็จะได้รับใบรับรองการศึกษาจากทางกระทรวงศึกษาธิการ เหมือนดังเช่นการจบหลักสูตรตามปกติ เพื่อนำไปใช้ในการประกอบอาชีพ หรือศึกษาต่อในระดับถัดไป
สำหรับผู้ที่สนใจสามารถสมัครเรียนได้ผ่านทาง www.auplus.au.edu โดยจะเสียค่าลงทะเบียนเรียนรวมเป็นเงินทั้งหมด 170,000 บาทตลอดหลักสูตร ซี่งผู้เรียนจะได้รับอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงของบริษัท สามารถคอร์เปอเรชั่น ที่มีความเร็ว 1 เมกกะบิตไว้ใช้สำหรับเล่าเรียนและใช้บริการด้านอื่นๆได้ตามต้องการตลอดระยะเวลาเล่าเรียน โดยผู้ที่มีคุณสมบัติสามารถเรียนหลักสูตรดังกล่าวได้นั้นจะต้องจบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยที่รัฐบาลไทยให้การรับรอง
ศ.ดร.ศรีศักดิ์กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า จากการที่ทางมหาวิทยาลัยได้เปิดสอนหลักสูตรดังกล่าวนั้น ได้การเตรียมการด้วยการสร้างอาคารศรีศักดิ์ จามรมานสถานเทคโนโลยีสารสนเทศ สูง 11 ชั้นมีเนื้อที่ประมาณ 12,000 ตารางเมตรที่วิทยาเขตบางนา เพื่อเป็นวิทยาลัยที่รองรับการศึกษาทางไกลดังกล่าว และใช้เป็นสนามในการสอบไล่รวมถึงเป็นสถานที่พบปะระหว่างอาจารย์กับผู้เรียนได้อีกด้วย โดยใช้งบประมาณในการลงทุนไปกว่า 600 ล้านบาท ซึ่งเชื่อว่าภายในระยะเวลา 5 ปีจะมีผู้ที่สนใจเข้ามาเรียนกว่า 1 แสนคน
ทั้งนี้หลังจากที่เปิดหลักสูตรด้านการบริหารจัดการเรียบร้อยแล้ว ก็จะเปิดหลักสูตรเพิ่มเติมอีก 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรปริญญาโทด้านคอมพิวเตอร์ และหลักสูตรวิทยาการศึกษาทางอินเตอร์เน็ต เพื่อให้สามารถตอบรับความต้องการของผู้เรียนได้ครอบคลุมทุกความสนใจมากยิ่งขึ้น ขณะที่แนวโน้มการเติบโตด้านการการศึกษาดังกล่าว เชื่อว่าหลังจากที่มีการเปิดสอนออกไป ทุกสถาบันจะหันมาให้ความสำคัญกับการสอนทางออนไลน์ และเกิดการแข่งขันที่รุนแรงเพื่อแย่งชิงนักศึกษา โดยประโยชน์ก็จะเป็นของผู้บริโภคซึ่งจะมีทางเลือกในการศึกษาเล่าเรียนโดยไม่ต้องไปมหาวิทยาลัยเพิ่มมากขึ้น
ด้านนายธวัชชัย วิไลลักษณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สามารถคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าการร่วมมือกับมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เป็นเพราะทั้งสองฝ่ายมีความพร้อมทั้งสองด้านจึงได้ร่วมมือเป็นพันธมิตรระหว่างกัน โดยบมจ.สามารถ เทลคอม ซึ่งเป็นบริษัทลูกจะทำหน้าที่ในการวางระบบ ขณะที่ทางม. เอแบค มีความพร้อมทางด้านวิชาการ คาดว่าในเบื้องต้นจะสามารถทำรายได้ประมาณ 10 ล้านบาท
"ในอนาคตการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์จะได้รับการยอมรับเพิ่มมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันเริ่มมีคนใช้บริการเป็นลำดับ และ เชื่อว่าภายในไม่อีกกี่ปีระบบการเรียนการสอนแบบใหม่จะได้ตอบรับเพิ่มมากขึ้น"
อย่างไรก็ตาม ระบบการเรียนการสอนแบบอี-เลิร์นนิ่ง สอดคล้องกับนโยบายของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พร้อมกับได้เปิดเผยในรายการ "นายกทักษิณคุยกับประชาชน" เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ตอนหนึ่งว่าหลังจากไปเยี่ยม บริษัท หัวเหว่ย ที่สาธารณประชาธิปไตยประชาชนจีน ที่เมืองเซิ่นเจิ้น ปรากฏว่า หัวเหว่ย ได้นำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในระบบการเรียนการสอน เป็นระบบที่ข้อมูลเสียงและภาพอยู่ด้วยกัน ผ่านกล่องเดียวกันเป็นแนวที่โทรคมนาคมกับโทรทัศน์มารวมเป็นหนึ่ง พอผมดูอย่างนี้แล้วผมบอกว่ากลับมาปฏิรูปการศึกษาจะง่ายขึ้นอีกมาก เพราะว่าถ้าเราจะมานั่งพัฒนาครูรุ่นใหม่ให้เข้าไปสอน ต้องใช้เวลา
"แม่พิมพ์วันนี้ของเรายังอยู่ในแม่พิมพ์ ซึ่งต้องปรับเปลี่ยนมาก ดังนั้นผมคิดว่าเทคโนโลยีตัวนี้จะช่วยให้การสอนดีขึ้น ฉะนั้นผมคิดว่าเทคโนโลยีตัวนี้จะช่วยให้การสอนดีขึ้น ผมบอกกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) ไปแล้วว่า ไปเลือกครูมาทำการเรียนการสอน"
| |
ข้อมูลจาก : http://www.scit.au.edu/why_T.asp
อาคารศรีศักดิ์ จามรมาน สถานเทคโนโลยีสารสนเทศ
มหาวิทยาลัยทั้งหลายล้วนลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศกันมากมาย อาทิ สร้างอาคารไอทีมูลค่าเป็นร้อยล้านบาท เช่า/ซื้อและพัฒนาซอฟต์แวร์มูลค่ารวมเป็นร้อยล้านบาท จ้างบุคลากรด้านไอทีปีละหลายล้านบาท เป็นต้น สำหรับอาคารด้านไอทีนั้น ขอยกตัวอย่าง “อาคารศรีศักดิ์ จามรมาน สถานเทคโนโลยีสารสนเทศ” ที่มหาวิทยาลัย อัสสัมชัญ ภราดา ดร.ประทีป มาร์ติน โกมลมาศ อธิการบดีกิตติคุณ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้มีโครงการก่อสร้างอาคารเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหลายปีแล้ว เพราะอยากจะให้นักศึกษามหาวิทยาลัยอัสสัมชัญทุกคนมีศูนย์เทคโนโลยี สารสนเทศ แข่งขันกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศได้ ความคิดริเริ่มในการก่อสร้างอาคารเทคโนโลยีสารสนเทศมาจากวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลของ บราเดอร์ มาร์ติน ซึ่งท่านอยากให้นักศึกษาทุกคนมีการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา
ชื่อ “อาคารศรีศักดิ์ จามรมาน สถานเทคโนโลยี สารสนเทศ” ได้มาจากความกรุณาของ บราเดอร์ มาร์ติน ให้ใช้ชื่อเป็นที่ระลึกในการสร้างคุณงามความดีของ ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน บราเดอร์ มาร์ติน เคยประกาศในโบสถ์ในวันคริสมาสต์หลายปีมาแล้วว่า พระผู้เป็นเจ้าได้ส่ง ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน มาเกิดเป็น “สหชาติ” กับท่านเพื่อช่วยกันพัฒนามหาวิทยาลัยอัสสัมชัญให้เจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้นไป แล้วโดยการสนับสนุนของ บราเดอร์ มาร์ติน และ บราเดอร์ บัญชา ท่านอธิการบดีคนปัจจุบัน อาจารย์ศรีศักดิ์ก็ได้ช่วยพัฒนามหาวิทยาลัยอัสสัมชัญในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้
- คอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่ใช้กันในเอแบค เป็นเครื่องที่ ศ.ศรีศักดิ์ นำขึ้นเครื่องบินมาเองจากสหรัฐอเมริกา ชื่อ เรดิโอแชค ทีอาร์เอส 80 (Radio Shack TRS 80)
- หลักสูตรปริญญาตรีด้านไอที หลักสูตรแรกของเอแบค ศ. ศรีศักดิ์ เป็นผู้ยกร่างที่เอแบคและเป็นประธานกรรมการอนุมัติที่ทบวง
- ศ.ศรีศักดิ์ เป็นผู้ริเริ่มจัดให้เอแบคเป็น สมาชิกก่อตั้ง (Founding Member) ของสมาคมอินเทอร์เน็ตนานาชาติ โดยในเอเชียแปซิฟิก ไม่มีหน่วยงานอื่นใดได้เป็นสมาชิกก่อตั้งของสมาคมอินเทอร์เน็ต นานาชาติ
- ศ.ศรีศักดิ์ เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งสมาคมอินเทอร์เน็ตนานาชาติสาขาประเทศไทย สมาคมคอมพิวเตอร์ นานาชาติ เอซีเอ็มสาขาประเทศไทย และสมาคมคอมพิวเตอร์ในสถาบันวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สาขาประเทศไทย โดยทั้ง 3 สมาคมตั้งอยู่ที่เอแบค
- การใช้อินเทอร์เน็ตครั้งแรกที่เอแบค เป็นการใช้โดย ศ.ศรีศักดิ์ เมื่ออินเทอร์เน็ตได้เข้ามาสู่เมืองไทย เป็นครั้งแรกที่สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ซึ่งตอนนั้น ศ.ศรีศักดิ์ เป็นนายกสมาคมนักเรียนเก่า จึงได้สิทธิ์ใช้อินเทอร์เน็ตที่นั่นด้วย โดยติดตั้งคอมพิวเตอร์ที่เอแบค และใช้โทรศัพท์เชื่อมต่อไปยังเอไอที
- การบังคับให้นักศึกษาทุกคนใช้อินเทอร์เน็ตที่เอแบค ศ.ศรีศักดิ์เป็นผู้เสนอโครงการทำให้เอแบค เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในโลกที่บังคับให้นักศึกษาทุกคนใช้อินเทอร์เน็ต โดยมหาวิทยาลัยอื่นๆ มีอินเทอร์เน็ตให้ใช้ แต่ไม่มีมหาวิทยาลัยไหนบังคับให้นักศึกษาทุกคนต้องใช้อินเทอร์เน็ต
- จุดเชื่อมโยงอินเทอร์เน็ตนานาชาติ (International Internet Gateway) แห่งแรกของภาคเอกชนในประเทศไทย อยู่ที่เอแบคโดย ศ.ศรีศักดิ์ เป็นผู้เริ่มโครงการ
- ปริญญาโทไอทีหลักสูตรแรกของเอแบค คือ ระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ (CIS = Computer Information Systems) ศ.ศรีศักดิ์ เป็นผู้ยกร่างที่เอแบคและเป็นประธานคณะกรรมการอนุมัติที่ทบวง ถึง พ.ศ. 2547 มีนักศึกษาถึง 31 รุ่นแล้ว ต่อมา ศ.ศรีศักดิ์ ก็ริเริ่มตั้งหลักสูตรปริญญาโทไอที ที่เอแบค อีก 3 หลักสูตร คือ การจัดการงานคอมพิวเตอร์และวิศวกรรม (CEM = Computer and Engineering Management) อินเทอร์เน็ตและพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (IEC = Internet and E-Commerce) และ วิศวกรรมซอฟต์แวร์ (SWE = Software Engineering) ในการรับปริญญาเมื่อต้นปี พ.ศ.2547 มีผู้จบปริญญาโทสาขาดังกล่าว รวม 353 คน
- หลักสูตรปริญญาเอกแห่งแรกในบรรดามหาวิทยาลัยเอกชน ซึ่งเผอิญเป็นหลักสูตรปริญญาเอก ด้านคอมพิวเตอร์แห่งแรกในประเทศไทยด้วย โดยใช้ชื่อว่า “Ph.D. (CIS)” และ “Ph.D. (CEM)” นั้น ศ.ศรีศักดิ์ เป็นผู้ยกร่างที่เอแบค และเป็นประธานอนุมัติที่ทบวง มีผู้จบปริญญาเอกจากเอแบคทุกปี
- เอแบคโพลล์ หรือ สำนักวิจัยเอแบค-เคเอสซี อินเตอร์เนตโพลล์ ซึ่งเป็นที่ยอมรับว่าเป็นอันดับหนึ่ง เท่าเทียมกับสวนดุสิตโพลล์นั้น ศ. ศรีศักดิ์ เป็นผู้ริเริ่มและเป็นประธานตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบัน
- รายการวิทยุ “อินเตอร์เนต ไอที ทอล์ค” ที่สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย FM. 97 ทุกวันอาทิตย์ เวลา 13.00 น.-14.00 น. ศ.ศรีศักดิ์ เป็นผู้ริเริ่มและเป็นผู้ประกาศ ทำให้ได้โฆษณา ประชาสัมพันธ์เอแบคเป็นระยะๆ ต่อมาก็ได้จัดรายการวิทยุ “อินเทอร์เน็ต ไอที กับ ศรีศักดิ์ จามรมาน” ที่ AM. 891 ทุกวันอาทิตย์เวลา 09.15 น.-10.00 น. และรายการโทรทัศน์ “อินเทอร์เน็ต ไอที กับ ศรีศักดิ์ จามรมาน” ที่ UBC13 และ UBC73 ทุกวันอาทิตย์ เวลา 12.00 น. –13.00 น. โดยเป็นส่วนหนึ่งในโครงการ DLF e-Learning เฉลิมพระเกียรติ
- ศ.ศรีศักดิ์ ได้ช่วยจัดตั้งคณะต่างๆ ที่เอแบค อาทิ คณะวิทยาศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ เป็นต้น
- ศ.ศรีศักดิ์ ได้เขียนบทความและหนังสือลงตีพิมพ์ที่ต่างๆ รวมกว่า 900 เรื่อง เป็นการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ เอแบคไปในตัว
- ศ.ศรีศักดิ์ ได้จัดการสัมมนานานาชาติที่เอแบค อาทิ เรื่อง “Transborder Data Flows” สนับสนุนโดย UNTCT (United Nations Center on Transitional Corporations) และเรื่อง “Internet Technology and Application” ซึ่งสนับสนุนโดยสมาคมคอมพิวเตอร์นานาชาติ
- ศ.ศรีศักดิ์ ได้เริ่มทำงานให้เอแบคในฐานะรองอธิการบดีกิตติมศักดิ์ด้านวางแผนและพัฒนาโดยในสมัยที่ ศ.ดร. ชุบ กาญจนประกร เป็นอธิการบดีและทำหน้าที่ต่อมาในสมัย บราเดอร์ มาร์ติน เป็นอธิการบดี จนถึงปัจจุบันที่ บราเดอร์ บัญชา เป็นอธิการบดี รวมเวลาที่ ศ.ศรีศักดิ์ ทำงานให้เอแบคถึงปัจจุบันกว่า 25 ปี
- ศ.ศรีศักดิ์ เป็นศาสตราจารย์คนแรกที่ได้รับแต่งตั้งที่เอแบค โดยอาศัยความที่เคยเป็นศาสตราจารย์ระดับ 11 ที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังอยู่ 11 ปี
- ศ.ศรีศักดิ์ ได้รับมอบหมายจาก บราเดอร์ มาร์ติน ให้เป็นผู้ร่างและอ่านคำกราบบังคมทูลถวายราชสดุดีแด่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร ในคราวที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาเอก ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
- ศ.ศรีศักดิ์ เป็นผู้ริเริ่มจัดตั้งวิทยาลัยการศึกษาทางไกลอินเทอร์เน็ต เพื่อเปิดสอนระดับปริญญา และประกาศนียบัตร แก่ผู้สนใจให้ได้ปีละ 100,000 คนและสอนอินเทอร์เน็ตให้คนตาบอด คนหูหนวก เด็กพิเศษ และผู้เกษียณอายุ โดย ศ.ศรีศักดิ์ ทำหน้าที่เป็นประธานกรรมการ และประธานผู้บริหาร (CEO = Chief Executive Officer)
สรุปแล้ว โดยการสนับสนุนของ บราเดอร์ มาร์ติน และ บราเดอร์ บัญชา ศ.ศรีศักดิ์ได้ช่วยพัฒนาเอแบค จากการเป็นผู้นำด้านบริหารธุรกิจมาเป็นผู้นำทั้งด้านบริหารธุรกิจและด้านไอที โดยในปัจจุบันเอแบค มีหลักสูตรด้านไอทีถึง 26 หลักสูตร มากกว่ามหาวิทยาลัยอื่นใดในโลก
|
ผมโชคดี มีโอกาสเป็นลูกศิษย์ของท่าน
สมัยเรียน การจัดการงานคอมพิวเตอร์และวิศวกรรม (CEM = Computer and Engineering Management) #7
ที่มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ปี 2538 - 2539
Thaiall.com