thaiall logomy background
อาเซียน (ASEAN)
my town
ASEAN = Association of South East Asia Nations
จุดเริ่มต้น        อาเซียน (ASEAN = Association of South East Asia Nations) หรือสมาคมประชาชาติแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ มีจุดเริ่มต้นเมื่อเดือน ก.ค. ปี 2504 โดยประเทศฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และไทย ได้ร่วมมือจัดตั้งสมาคมอาสา หรือ Association of South east Asia เพื่อที่จะร่วมมือกันทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม แต่ดำเนินการได้ 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงัก เนื่องจากความผันแปรทางการเมืองระหว่างอินโอนีเซียกับมาเลเซีย จนกระทั่งมีการฟื้นฟูสัมพันธภาพ จึงมีการมองสู่ทางที่จะจัดตั้งองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมภาคนี้ ดังนั้น สมาคมประชาชาติแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 ส.ค. พ.ศ. 2510 โดยมีสมาชิกแรกเริ่ม 5 ประเทศ ได้แก่ ประเทศอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์และประเทศไทย และได้ทำการลงนามปฎิญญากันที่กรุงเทพ ฯ ปัจจุบันอาเซียน มีสมาชิก 10 ประเทศ ซึ่งมีสมาชิกที่เพิ่มขึ้น คือ บรูไน พม่า ลาว เวียดนาม และกัมพูชา
       วัตถุประสงค์ในการก่อตั้ง เพื่อความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ โดยประเทศอาเซียนได้ตกลงที่จะลดอากรขาเข้าทางการค้าเป็นพิเศษสำหรับสินค้าในกลุ่มมิอาเซียน มีการทำสัญญาซื้อขายระยะยาวสำหรับสินค้าบางชนิดระหว่างกัน ให้สิทธิพิเศษแก่สินค้าอาเซียนในการจัดซื้อของหน่วยงานและองค์กรของรัฐ ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่การซื้อขายสินค้าอาเซียน ในอัตราดอกเบี้ยพิเศษ เป็นต้น ส่วนสำนักงานของอาเซียน หรือที่เรียกกันว่า สำนักงานเลขาธิการอาเซียน ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการดำเนินงานของกลุ่มอาเซียน ตั้งอยู่ที่ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย
ประชาคมอาเซียน คือ อะไร
       อาเซียน (ASEAN) ประกอบด้วย 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย (2510) สิงคโปร์ (2510) อินโดนีเซีย (2510) มาเลเซีย (2510) ฟิลิปปินส์ (2510) บรูไน (2527) เวียดนาม (2538) ลาว (2540) พม่า (2540) กัมพูชา (2542) มีประชากรรวมกันประมาณ 570 ล้านคน มีขนาดเศษฐกิจที่โตมาก
       เมื่อเดือนตุลาคม 2546 ผู้นำอาเซียนได้ร่วมลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน ที่เรียกว่า ข้อตกลงบาหลี 2 เห็นชอบให้จัดตั้ง ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) คือ การให้อาเซียนรวมตัวเป็นชุมชนหรือประชาคมเดียวกันให้สำเร็จภายในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) แต่ต่อมาได้ตกลงร่นระยะเวลาจัดตั้งให้เสร็จในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) เนื่องจากการแข่งขันรุนแรง เช่น อัตราการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจของจีนและอินเดียสูงมากในช่วงที่ผ่านมา ในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 14 ที่ชะอำ หัวหิน เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2552 ผู้นำอาเซียนได้ลงนามรับรอง ปฏิญญาชะอำ หัวหิน ว่าด้วยแผนงานจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ค.ศ. 2009-2015) เพื่อจัดตั้งประชาคมอาเซียนภายในปี 2558 (ค.ศ. 2015)
       กรอบความร่วมมืออาเซียน+3 (ASEAN+3) เป็นกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนกับประเทศนอกกลุ่ม 3 ประเทศ คือ จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในระดับอนุภูมิภาคเอเชียตะวันออก และเพื่อนำไปสู่การจัดตั้งชุมชนเอเชียตะวันออก (East Asian Community) โดยให้อาเซียนและกระบวนการต่างๆ ภายใต้กรอบความร่วมมืออาเซียน+3 เป็นกลไกสำคัญในการผลักดันให้บรรลุเป้าหมาย เนื่องในโอกาสครบรอบ 10 ปีของการจัดตั้งกรอบความร่วมมืออาเซียนบวกสามเมื่อปี 2007 (พ.ศ.2550)
       แนวคิด "อาเซียน +6" เริ่มครั้งแรกในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น (AEM-METI) และ AEM+3 (จีน ญี่ปุ่น เกาหลี) ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2549 โดยญี่ปุ่นเสนอให้กลุ่มผู้เชี่ยวชาญภาควิชาการ (Track II) ของกลุ่มประเทศ East Asia Summit (EAS ประกอบด้วยอาเซียน จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย) ทำการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้ง Comprehensive Economic Partnership in East Asia (CEPEA) ซึ่งเป็น FTA ระหว่างประเทศอาเซียน+6 (จีน ญี่ปุ่น เกาหลี อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์) สำหรับ "อาเซียน +6" คือ การรวมกลุ่มกันของ 16 ประเทศ ที่ประกอบไปด้วยกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม, พม่า, กัมพูชา, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, มาเลเซีย, ลาว, สิงคโปร์, ไทย และเวียดนาม รวมกับประเทศที่อยู่นอกอาเซียนอีก 6 ประเทศ คือ จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์ และอินเดีย ซึ่งหากนับจำนวนประชากรในกลุ่มนี้แล้ว จะพบว่า อาเซียน +6 มีประชากรรวมกันกว่า 3 พันล้านคน หรือคิดเป็น 50% ของประชากรโลก
    เสาหลัก 3 เสา
    ประชาคมอาเซียนประกอบด้วยเสาหลัก 3 เสา
  1. ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Security Community -- ASC)
    มุ่งให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีระบบแก้ไขความขัดแย้ง ระหว่างกันได้ด้วยดี มีเสถียรภาพอย่างรอบด้าน มีกรอบความร่วมมือเพื่อรับมือกับภัยคุกคามความมั่นคงทั้งรูปแบบเดิมและรูป แบบใหม่ๆ เพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัยและมั่นคง
  2. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community -- AEC)
    มุ่งให้เกิดการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ และการอำนวยความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างกัน อันจะทำให้ภูมิภาคมีความเจริญมั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆ ได้เพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชนในประเทศอาเซียน โดย
           (ก)มุ่งให้เกิดการไหลเวียนอย่างเสรีของ สินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน การพัฒนาทางเศรษฐกิจ และการลดปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางสังคมภายในปี 2020
           (ข)ทําให้อาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว (single market and production base)
           (ค)ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียนเพื่อลดช่องว่างการพัฒนา และช่วยให้ประเทศเหล่านี้เข้าร่วมกระบวนการรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียน
           (ง)ส่งเสริมความร่วมมือในนโยบายการเงินและเศรษฐกิจมหภาคตลาดการเงินและตลาด ทุน การปะกันภัยและภาษีอากร การพัฒนาโครงสร้างพิ้นฐานและการคมนาคม พัฒนาความร่วมมือด้านกฎหมาย การเกษตร พลังงาน การท่องเที่ยว การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยการยกระดับการศึกษาและการพัฒนาฝีมือแรงงาน
           กลุ่มสินค้าและบริการนำร่องที่สำคัญ ที่จะเกิดการรวมกลุ่มกัน คือ สินค้าเกษตร / สินค้าประมง / ผลิตภัณฑ์ไม้ / ผลิตภัณฑ์ยาง / สิ่งทอ / ยานยนต์ /อิเล็กทรอนิกส์ / เทคโนโลยีสารสนเทศ (e-ASEAN) / การบริการด้านสุขภาพ, ท่องเที่ยวและการขนส่งทางอากาศ (การบิน) กำหนดให้ปี พ.ศ. 2558 เป็นปีที่เริ่มรวมตัวกันอย่างเป็นทางการ โดยผ่อนปรนให้กับประเทศ ลาว กัมพูชา พม่า และเวียตนาม
           ประเทศไทยได้รับมอบหมายให้ทำ Roadmap ทางด้านท่องเที่ยวและการขนส่งทางอากาศ (การบิน)
  3. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community -- ASCC)
    เพื่อให้ประชาชนแต่ละประเทศอาเซียนอยู่ร่วมกันภายใต้แนวคิดสังคมที่เอื้ออาทร มีสวัสดิการทางสังคมที่ดี และมีความมั่นคงทางสังคม
introduction

กิจกรรมที่บ้านดง ลำปาง

เพลง The ASEAN Way
รวมเว็บไซต์อาเซียน
+ aseanthailand.org
+ school.net.th
+ http://en.wikipedia.org
+ รวมแหล่งข่าวในอาเซียน [FB]
แรงงานเชี่ยวชาญ        การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 9 เมื่อ 7 ตุลาคม 2546 ที่บาหลี อินโดนีเซีย ได้กำหนดจัดทำข้อตกลงร่วมกัน (Mutual Recognition Arrangements : MRAs) เกี่ยวกับคุณสมบัติของวิชาชีพหลัก แรงงานเชี่ยวชาญ หรือผู้มีความสามารถพิเศษ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรี โดยจะเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2558
    ในเบื้องต้นได้ทำข้อตกลงร่วมกันแล้ว 7 สาขา
  1. วิศวกรรม (Engineering Services)
  2. พยาบาล (Nursing Services)
  3. สถาปัตยกรรม (Architectural Services)
  4. การสำรวจ (Surveying Qualifications)
  5. แพทย์ (Medical Practitioners)
  6. ทันตแพทย์ (Dental Practitioners)
  7. บัญชี (Accountancy Services)

อินโดนีเซีย (Indonesia)
budy

ฟิลิปปินส์ (Philippines)
fosia

พม่า (Mienma)
moemoe

ลาว (Lao)
kumsuoy

มาเลเซีย (Malaysia)
pipiet

กัมพูชา (Cambodia)
trium xieng

ไทย (Thailand)
siam

บรูไน (Brunei)
maria

สิงคโปร์ (Singapore)
peter

เวียดนาม (Vietnam)
kiew
สมาคมอาเซียน ประเทศไทย        สมาคมอาเซียน ประเทศไทย (ASEAN Association -- Thailand) ได้รับการประกาศจัดตั้งขึ้นโดยกระทรวงการต่างประเทศเมื่อปลายปี พ.ศ. 2551 โดยมุ่งหวังให้สมาคมฯ มีบทบาทสำคัญในการช่วยส่งเสริมการดำเนินงานของภาครัฐและสร้างความตระหนักรับรู้เกี่ยวกับความร่วมมือของอาเซียนใน ด้านการเมือง เศรษฐกิจสังคม และวัฒนธรรม เพื่อทำให้กระบวนการสร้างประชาคมอาเซียนประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ในปี พ.ศ. 2558
       สมาคมอาเซียน ประเทศไทย มีเป้าหมายที่จะช่วยทำให้ประชาชนได้เข้าใจ และตระหนักถึงประโยชน์ของอาเซียนที่มีต่อการดำเนินชีวิต ทั้งยังมุ่งหวังที่จะเป็นช่องทางให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการสร้าง ประชาคมอาเซียนผ่านการดำเนินกิจกรรมของสมาคมฯ และจะเป็นเวทีที่เปิดกว้างเพื่อรับฟังความคิดเห็นต่างๆ เกี่ยวกับอาเซียนจากภาคประชาชนหลากหลายสาขาอาชีพ
    วัตถุประสงค์ของสมาคมฯ
  1. สร้างมิตรภาพและความเข้าใจระหว่างประชาชนของประเทศต่างๆ ในสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) เพื่อสันติภาพ ความมั่งคั่ง ความเป็นอยู่ที่ดี ของประเทศสมาชิกและประชาชนของประเทศสมาชิกอาเซียน
  2. เป็นกลไกคู่ขนานกับภาคราชการในการส่งเสริมให้ประชาชนไทยมีความสำนึกถึงความเป็นประชาชนอาเซียนซึ่งจะต้องมีความเอื้ออาทรต่อกัน
  3. เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับอาเซียนและของประเทศสมาชิกอาเซียน ทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ วิชาการ สังคมและวัฒนธรรมให้แก่ประชาชน
  4. ส่งเสริมความร่วมมือในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวิชาการ และการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณี ระหว่างประชาชนของประเทศสมาชิกอาเซียน รวมถึงการจัดกิจกรรมร่วมกันและการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างประเทศสมาชิกอา เซียนของภาคประชาชน หรือภาคประชาสังคม
  5. เป็นศูนย์กลางประสานการดำเนินงานขององค์การอื่นใดที่มิใช่ รัฐบาล และกับภาคประชาสังคมทั้งทางด้านสังคม วัฒนธรรม การศึกษาวิทยาศาสตร์ สิ่งแวดล้อม การจัดการภัยพิบัติ สาธารณสุข การพัฒนา สิทธิมนุษยชน และเรื่องอื่นๆ ที่จะเป็นการส่งเสริมการสร้างประชาคมอาเซียนภายใต้กฎบัตรอาเซียน
  6. วัตถุประสงค์อื่นใดตามที่คณะกรรมการของสมาคมฯ ได้มีมติเห็นชอบและได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการต่างประเทศ รวมทั้งได้รับการจดทะเบียนจากนายทะเบียนเรียบร้อยแล้ว
การนำเสนอ AEC บนอุปกรณ์ Touch Screen เราสามารถเปิดข้อมูล ASEAN ด้วยโปรแกรม Bluestack บน Windows โดย download APP ฟรี ชื่อ "รอบรู้ AEC" จาก App store ผมทดสอบเก็บภาพบนเครื่อง PC ธรรมดา แต่ถ้าเป็นจอ Touch Screen ก็จะนำเข้าติดตั้งใน "ห้อง ASEAN ศึกษา" แล้วให้บริการได้เลย มีตัวอย่าง ติดตั้งจอ Touch Screen บริการข้อมูลทั่วไปที่ BigC ลำปาง
เอกสารอ้างอิง (Reference) [1] สกลกาญจน์ วิเศษ, "สาระอาเซียน", หจก. ซี แอนด์ เอ็น บุ๊ค, กรุงเทพฯ, 2555.
rspsocial
Thaiall.com