พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ( อีคอมเมอร์ซ หรือ ecommerce or e-Commerce )
เว็บเพจสำรอง (Backup Webpages) : thaiabc.com | thaiall.korattown.com | perlphpasp.com | thaiall.com
ปรับปรุง : 2551-09-22 (เพิ่ม แผนการสอน)
    สารบัญ (Content)
  1. e-Commerce คืออะไร
  2. e-Commerce ทำอย่างไร (คำถามยอดนิยม มากเลยครับ)
  3. กรณีศึกษาขอพื้นที่ทำฟรี e-Commerce
  4. เว็บเกี่ยวกับ e-Commerce ที่น่าสนใจ
  5. สรุปจากนิตยสาร และหนังสือ หลายเล่ม
      หนังสือ e-Commerce และกลยุทธ์การทำเงิน วัชระพงศ์ ยะไวทย์(ซีเอ็ด)
      ผู้จัดทำเว็บ eximworld.com, maxcyber.com, thainic.net เป็นต้น
    1. ขั้นตอนการเข้าสู่ธุรกิจ e-Commerce 5 ขั้นตอน
    2. ขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติเพื่อความสำเร็จในการทำ e-Commerce มี 9 ขั้นตอน
      นิตยสาร Computer Review ฉบับ 189 เดือนพฤษภาคม 2543
    1. กลยุทธ์ที่จำเป็นสำหรับการเปิดร้านออนไลน์
    2. สิ่งที่ควรมีสำหรับการเปิดร้านบนอินเทอร์เน็ต
    3. การชำระเงิน
    4. ธนาคารที่ให้บริการรับชำระเงินด้วยบัตรเครดิตผ่าน internet
      : thaiepay.com เริ่มต้น 295 บาทต่อเดือน และ 4% จากยอดรายได้
      : paysbuy.com ไม่มีค่าธรรมเนียมต่อเดือน
      : taradpay.com เริ่มต้น 300 บาทต่อเดือน
      : siampay.com (egold + WIRE + ATM)
      : escrow.com (For Buyers : Receive merchandise before the Seller is paid. For Sellers : Protect yourself from credit card and payment fraud.)
      : thailandpay.com (ทดสอบ 27 มกราคม 49 : น่าจะปิดบริการ)
  6. การพิจารณาอนุมัติการให้มีการตัดบัตรเครดิต (เขียนโดย jjshop.com ซึ่งเปลี่ยนแนวการทำเว็บไซต์ไปแล้ว)
  7. e-Commerce คือธุรกิจรูปแบบใหม่ในศตวรรษที่ 21 (เมษายน 2543)
  8. e-Commerce ในไทย (มีนาคม 2543)
  9. Pricing ของ Siam-e-Commerce.com (updated 2 กรกฏาคม 2543)
  10. กลยุทธ์ไม้ตาย 7 ข้อที่จะเพิ่มทราฟฟิก และยอดขาย จาก thaimarketingcenter.com
  11. แผนการสอนภาคปฏิบัติ 2 ชั่วโมง
    เปิดร้านขายของ .. ฟรี
  1. wosbee.com
  2. tarad.com (Fax ID Card)
  3. marketathome.com (Fax ID Card)
  4. be2hand.com
  5. market2u.com
  6. is.in.th
  7. thaionlinemarket.com
  8. freethailand.com
  9. thaionlinemarket.com
  10. cookkoo.com
  11. veloshopping.com (ไม่ฟรี)
  12. sitepackage.com (ปิดรับ)
  13. thaisalecenter.com (Expired)
  14. topsiamshop.com (Expired)
    แนะนำเว็บ (Web Guides)
  1. ecommerce-magazine.com
  2. shop4thai.com
  3. powerbuy.co.th
  4. pcresource.co.th
  5. pantipmarket.com
  6. กล้องดิจิตอลกับการถ่ายภาพ
ผู้สนับสนุน + ผู้สนับสนุน
+ รับผู้สนับสนุน
ผมยังไม่เคยลงทุนทำ e-Commerce เชิงธุรกิจด้วยตนเอง
แต่ต้องศึกษา หาข้อมูล เพื่อเล่า และแนะนำนักศึกษา
Demo e-Commerce ฟรี .. ฟรี .. ฟรี
บริการนี้ยอมให้ท่านจัดหน้าร้าน กำหนดราคา เปลี่ยนสี เปลี่ยนภาพ เปลี่ยนคำบรรยายบริษัท เพิ่มกลุ่มสินค้า กำหนดราคาพิเศษของสินค้า ด้วยตัวท่านเอง เพื่อให้ท่านเปิดร้านขายของฟรี โดยไม่เสียอะไรยกเว้นค่า online เข้า isp ของท่าน แต่ท่านต้องดูแล และบำรุงรักษา ซึ่งโปรแกรมทั้งหมด ถูกเปิดให้ copy และใช้งานได้ที่ hypermart.net แต่ถ้าไม่อยาก copy ต้องการให้ผมส่งให้ ซึ่งเป็นค่าบริการส่งแฟ้มนี้ คือ สินค้าของผม คิดค่าบริการ 500 บาทครับ โปรแกรมนี้ขียนด้วย perl และเคยทดสอบกับ hypermart.net ก่อนที่เขาจะปิดบริการ Free Webhosting
source code + download
e-Commerce ด้วย perl ที่ thaiabc.com
เปิดให้ท่านทำ code ไปฝึกเป็นเจ้าของร้าน
ให้ฝึกเพิ่ม ลด หรือแก้สินค้า (Free Source Code)
ecommerce.ppt # Slide สอน ปวส. 1.5 ชม.[700KB]
e-Commerce คืออะไร
ข้อมูลจากเอกสารเผยแพร่ ศูนย์พัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce Resource Center) (http://www.ecommerce.or.th e-mail: webmaster-ecrc@nectec.or.th)
+ ความหมายของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce Meaning)
+ ทิศทาง e-Commerce กับการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
    - พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การดำเนินธุรกิจ โดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ECRC Thailand,1999)
    - พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การผลิต การกระจาย การตลาด การขาย หรือการขนส่งผลิตภัณฑ์ และบริการโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (WTO,1998)
    - พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ ขบวนการที่ใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อทำธุรกิจที่จะบรรลุเป้าหมายขององค์กร พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ใช้เทคโนโลยีประเภทต่าง ๆ และตรอบคลุมรูปแบบทางการเงินทั้งหลาย เช่น ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์, การค้าอิเล็กทรอนิกส์, อีดีไอหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์, ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์, โทรสาร, คะตะล้อกอิเล็กทรอนิกส์, การประชุมทางไกล และรูปแบบต่าง ๆ ที่เป็นข้อมูลระหว่างองค์กร (ESCAP,1998)
    - พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ ธุรกรรมทุกรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเชิงพาณิชย์ ทั้งในระดับองค์กร และส่วนบุคคล บนพื้นฐานของการประมวล และการส่งข้อมูลดิจิทัล ที่มีทั้งข้อความ เสียง และภาพ (OECD,1997)
    - พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การทำธุรกิจทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งขึ้นอยู่กับการประมวล และการส่งข้อมูลที่มีข้อความ เสียง และภาพ ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงการขายสินค้า และบริการด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์, การขนส่งผลิตภัณฑ์ที่เป็นเนื้อหาข้อมูลแบบดิจิทัลในระบบออนไลน์, การโอนเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์, การจำหน่วยหุ้นทางอิเล็กทรอนิกส์, การประมูล, การออกแบบทางวิศวกรรมร่วมกัน, การจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ, การขายตรง, การให้บริการหลังการขาย ทั้งนี้ใช้กับสินค้า (เช่น สินค้าบริโภค, อุปกรณ์ทางการแพทย์) และบริการ (เช่น บริการขายข้อมูล, บริการด้านการเงิน, บริการด้าน กฎหมาย) รวมทั้งกิจการทั่วไป (เช่น สาธารณสุข, การศึกษา, ศูนย์การค้าเสมือน (Virtual Mall) (European union,1997)
    - พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic commerce) หรือ อี-คอมเมิร์ช (E-Commerce) คือ การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในทุกช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อขายสินค้าและบริการ การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ โทรทัศน์ วิทยุ หรือแม้แต่อินเทอร์เน็ต เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพื่มประสิทธิภาพขององค์กร โดยการลดบทบาทองค์ประกอบทางธุรกิจลง เช่น ทำเลที่ตั้ง อาคารประกอบการ โกดังเก็บสินค้า ห้องแสดงสินค้า รวมถึงพนักงานขาย พนักงานแนะนำสินค้า พนักงานต้อนรับลูกค้า เป็นต้น จึงลดข้อจำกัดของระยะทาง และเวลาลงได้
    - Electronic commerce, commonly known as e-commerce or eCommerce, consists of the buying and selling of products or services over electronic systems such as the Internet and other computer networks. The amount of trade conducted electronically has grown dramatically since the wide introduction of the Internet. A wide variety of commerce is conducted in this way, including things such as electronic funds transfer, supply chain management, e-marketing, online marketing, online transaction processing, electronic data interchange (EDI), automated inventory management systems, and automated data collection systems. Modern electronic commerce typically uses the World Wide Web at at least some point in the transaction's lifecycle, although it can encompass a wide range of technologies such as e-mail as well.
      กระบวนการพื้นฐาน (Basic Process) เกี่ยวกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
    1. ลูกค้า เลือกรายการสินค้า ของผู้จำหน่าย (Catalog)
    2. ลูกค้า ส่งคำสั่งซื้อ ให้ผู้จำหน่าย (Order)
    3. ลูกค้า ชำระเงิน ให้ผู้จำหน่าย (Payment)
    4. ลูกค้า รอรับสินค้า จากผู้จำหน่าย (Shipping)

      e-Commerce ช่วยอำนวยความสะดวกให้นักธุรกิจได้หลายด้าน
      เรียบเรียงจาก e-Commerce และกลยุทธ์การทำเงิน โดย วัชระพงศ์ ยะไวทย์ สำนักพิมพ์ซีเอ็ด หน้า 20
    1. ทำงานแทนพนักงานขายได้ โดยสามารถทำการค้าแบบอัตโนมัติ ได้อย่างรวดเร็ว
    2. ทำให้เปิดหน้าร้านขายของ ให้คนทั่วโลกได้ และเปิดขายได้ทุกวันโดยไม่มีวันหยุดตลอด 24 ชั่วโมง
    3. เก็บเงิน และนำฝาก เข้าบัญชีให้คุณได้โดยอัตโนมัติ
    4. ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย ในการจัดพิมพ์แคตาล็อก (กระดาษ) ออกมาเป็นเล่ม ๆ และไม่ต้องมาเสียเงิน และเวลาในการจัดส่งให้ลูกค้าทางไปรษณีย์อีก
    5. แทนได้ทั้งหน้าร้าน (Showroom) หรือบูท (Booth) แสดงสินค้าของคุณที่มีคนทั่วโลกมองเห็น ไม่ต้องเสียค่าเครื่องบิน ไปออกงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ
    6. แทน และเพิ่มประสิทธิภาพ การบริหารธุรกิจ ภายในของเราได้อีกมากมาย

      หัวข้อให้คิด ที่ส่งผลให้การทำ e-Commerce สำเร็จ
    1. สำรวจ (Research) :: สำรวจตลาดบ่อยเพียงใด เพื่อประเมินคู่แข่ง ตนเอง และลูกค้า
    2. วางแผน (Planning) :: กำหนด Gantt chart เพื่อติดตั้งระบบ แผนลงทุน และแผนคืนทุน
    3. เงินทุน (Loan) :: ต้องใช้เงินทุนทั้งหมดเท่าไร หาได้ที่ไหน คืนอย่างไร
    4. จ่ายเงิน (Payment) :: แผนรับชำระเงิน
      เช่น โอนผ่านตู้เอทีเอ็ม พกง. เพย์พาล เคาน์เตอร์ธนาคาร ดร๊าฟธนาคาร บัตรเครดิต ตั๋วเงินรับ เช็คส่วนบุคคล การโอนทางโทรเลข
    5. ขนส่ง (Transport) :: สินค้าจะจัดส่งให้ถึงมือลูกค้าอย่างไร
      เช่น Fedex, DHL, Logistic เป็นต้น
    6. สินค้า (Product) :: ความน่าสนใจของสินค้า ขายแล้วจะมีคนซื้อ หรือไม่
    7. ราคา (Price) :: ราคาที่จะส่งผลถึงกำไร จากการสั่งซื้อแต่ละครั้งมากพอ หรือไม่
    8. สถานที่ (Place) :: ขายให้คนไทย หรือต่างชาติ ที่พักสินค้า ร้านตั้งที่ไหน
    9. โฆษณา (Promotion) :: มีแผนโฆษณาอย่างไร และจะใช้วิธีการใดบ้าง
    10. คลังสินค้า (Stock) :: ระบบจัดการคลังสินค้า ควบคุมอย่างไร
    11. เวลา (Time) :: ประเมินระยะเวลาตั้งแต่สั่งซื้อ ส่งสินค้า และได้รับเงิน ทั้งหมดกี่วัน
    12. ผิดพลาด (Error) :: ส่งไปแล้วไม่มีผู้รับ ไม่ได้รับเงิน ส่งไม่ทัน ไม่ได้มาตรฐานทำอย่างไร
    13. สำนักงาน (Office) :: มีพนักงานกี่คน ลงทุนอะไรบ้าง ที่ตั้งสำนักงาน และแหล่งสินค้า
    14. หีบห่อ (Package) :: คำสั่งซื้อจะมาพร้อมรูปแบบสินค้า และลักษณะหีบห่อ ยืดหยุ่นหรือไม่
    15. เทคนิค (Technique) :: รายละเอียดของระบบที่ใช้ เพื่อให้เกิดการซื้อขายได้ เป็นแบบใด
    16. ออกแบบ (Design) :: ออกแบบผลิตภัณฑ์ หรือหน้าร้านได้น่าสนใจหรือไม่
    17. ความปลอดภัย (Security) :: ทุกระบบต้องรองรับการโจมตีจากผู้ไม่หวังดีได้ทุกรูปแบบ
    18. ขนาด (Size) :: ขนาดระบบ เช่น รองรับจำนวนลูกค้า การสั่งซื้อ หรือสินค้าได้เพียงใด
    19. การควบคุม (Controlling) :: การควบคุมกระบวนการทั้งหมด ให้ดำเนินไปอย่างถูกต้อง
    20. สำรอง (Backup) :: แผนสำรองข้อมูล ในกรณีที่ระบบล้ม หรือผู้ให้บริการเว็บไซต์ยกเลิก
    21. ภาษี (Tax) :: เข้าใจกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ ในประเทศ และกฎหมายด้าน IT

e-Commerce ทำอย่างไร
    บริการตั้งร้านค้า ในอินเทอร์เน็ต
  1. พื้นที่ตั้งร้านบน net ฟรี จาก free hosting แสดงสินค้า แล้วให้ลูกค้า มาติดต่อขอซื้อมา
  2. พื้นที่ตั้งร้านบน net ฟรี จาก free hosting ที่บริการ e-Commerce พร้อม shopping cart
  3. พื้นที่แบบเสียเงิน แต่ไม่รับชำระผ่านระบบบัตรเครดิต เนื่องจากยุ่งยาก และมีเรื่องค่าใช้จ่ายเข้ามา
  4. พื้นที่แบบเสียเงิน พร้อมเข้าระบบรับชำระผ่านบัตรเครดิตที่สมบูรณ์ เพราะหวังขายได้มาก ๆ เปิดช่องทางกว้างขึ้น
    เรื่องน่าคิดอื่น ๆ ก่อนทำ e-Commerce
  1. ขายอะไร (ผมเองก็ติดปัญหาเรื่องนี้ เพราะไม่รู้จะขายอะไร ที่เหมาะสมกับตัวที่สุด .. จึงยังไม่ขาย)
    ธุรกิจที่น่าสนใจในปัจจุบัน เช่น ดอกไม้, Hand-make, หนังสือ, CDเพลง, โปรแกรม, ให้เช่า server, รับโฆษณา หรือเข้าไปดูที่ shoppingthai.com ก็ได้ครับ
  2. จด Domain Name และจดกับใคร
    1. จด .com หรือ .net หรือ .co.th
    2. จดกับผู้ให้บริการจดชาวไทย หรือชาวต่างชาติดี
  3. เป็น SME (Small and Medium Enterprises) เพื่อรับความช่วยเหลือจากภาครัฐ และจะตั้งเป็นบริษัท หรือไม่
  4. ระบบ stock เป็นอย่างไร เช่นฝากสินค้า หรือขนถ่ายสินค้าสะดวกไห
  5. ภาษีคิดอย่างไร ทั้งในและต่างประเทศ
  6. ระบบเงินตราที่ขายสินค้าเป็นบาท dollar หรือบาท
  7. ราคาขาย เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ต้องกำหนดให้เหมาะสม ไม่ถูกหรือแพงเกินไป และต้องมีเหตุผล อธิบายเสมอ
  8. ทำเอง หรือให้ผู้เชี่ยวชาญที่เขาให้บริการ ครบวงจร
  9. การขนส่งคิดค่าใช้จ่ายอย่างไร (ตามน้ำหนัก ตามระยะทาง ตามมูลค่า หรือตามขนาด)
  10. ความปลอดภัย (ถ้าไม่รับเรื่องบัตรเครดิต หรือไม่ serius เรื่องความลับก็ไม่ต้องสนใจก็ได้ครับ)
    1. SSL (Secure Socket Layer) จะเข้ารหัสก่อนส่ง ไปให้ผู้บริการ เป็นระบบที่นิยมกันมาก และใช้ key เฉพาะจากผู้ส่งเท่านั้น แต่มีจุดบกพร่อมของระบบที่ ข้อมูลที่ถูกเข้ารหัสแล้ว เมื่อส่งไปยังปลายทางจะถูกถอดรหัส เป็นเลขบัตรเครดิตให้เห็น ซึ่งอาจถูก hack ข้อมูลไปได้
    2. SET (Secure Electronic Transactions) เป็นระบบที่ปลอดภัยมาก เพราะผู้ซื้อ และผู้ขาย ต่างก็มีรหัสที่ต้องขอจากหน่วยงานกลาง เพื่อยืนยันการทำธุรกรรม (Certification Autority : CA) ร้านค้าจะได้รับเฉพาะข้อมูลการสั่งซื้อ ส่วนรหัสบัตร ร้านค้าจะไม่ทราบ แต่จะส่งไปให้ธนาคารโดยตรง (ปัจจุบัน ค่าใช้จ่ายของระบบนี้ยังสูงอยู่)
  11. เลือกรูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (ท่านอาจทำทุกรูปแบบ หรือแบบใดแบบหนึ่ง)
    รูปแบบที่ 1: B-to-B (Business to Business) เป็นการค้าระหว่างองค์กร หรือบริษัท (ปริมาณขายต่อครั้งจะมาก)
    รูปแบบที่ 2: B-to-C (Business to Consumer) เป็นการค้าจากองค์กร สู่ลูกค้าบุคคล (ค้าส่งขนาดย่อม ประมาณพอประมาณ)
    รูปแบบที่ 3: C-to-C (Consumer to Consumer) เป็นการค้าระหว่างบุคคล ถึง บุคคล (ค้าปลีก ปกติปริมาณขายจะน้อย)
    รูปแบบที่ 4: G-to-C (Government to Consumer) เป็นการค้าระหว่างภาครัฐ กับผู้บริโภค (การให้บริการประชาชน)
    รูปแบบที่ 5: G-to-B (Government to Business) เป็นการค้าระหว่างภาครัฐ กับองค์กร (ปริมาณการค้ามาก)

เว็บเกี่ยวกับ e-Commerce ที่น่าสนใจ
oscommerce.com (แนะนำให้ผมรู้จักโดย คุณนิเวช งามสง่า)
เว็บ Open Source Commerce เป็น PHP ที่ Download (>1300 site)
osCommerce is an online shop e-commerce solution under on going development by the open source community. Its feature packed out-of-the-box installation allows store owners to setup, run, and maintain their online stores with minimum effort and with absolutely no costs or license fees involved.
osCommerce combines open source solutions to provide a free and open e-commerce platform, which includes the powerful PHP web scripting language, the stable Apache web server, and the fast MySQL database server.
With no restrictions or special requirements, osCommerce is able to run on any PHP enabled web server, on any environment that PHP and MySQL supports, which includes Linux, Solaris, BSD, Mac OS X, and Microsoft Windows environments.
ให้บริการจัดตั้ง e-Commerce website
  1. Shoppingthailand.com (ชมรม OTOP Thailand)
  2. weloveshopping.com (TRUE)
  3. Bigstep.com
  4. Freemerchant.com
  5. Payaftersale.com
  6. Vstore.com
  7. Econgo.com
  8. Bizland.com
  9. Yahoo.com
  10. veloshopping.com
  11. velocall.com
    หลายเว็บไซต์ ได้ปิดบริการไปแล้ว
  1. Gobizgo.com (ปิดบริการไปแล้ว)
  2. JJShop.com (ปิดบริการไปแล้ว)
  3. Bcity.com (ปิดบริการไปแล้ว)
  4. Ebusiness.th.com (ปิดบริการไปแล้ว)
  5. Thaietrade.com (ปิดบริการไปแล้ว)
  6. thaibid.com (ปิดบริการไปแล้ว)
  7. Bizez.com (ปิดบริการไปแล้ว)
  8. Centralbiz.com (ปิดบริการไปแล้ว)
  9. Bizexp.com (ปิดบริการไปแล้ว)
  10. Thaicybermall.com (farangs.com)
เว็บไทย เว็บต่างประเทศ
  1. thaitradepoint.com (Ecommerce ลูกทุ่งที่น่าจับตาของเชียงใหม่)
  2. ECommerce.or.th (ให้ข้อมูลที่ดีมาก)
  3. ประมูล.คอม (รับนำสินค้าไปประมูล)
  4. thbuy.com (จำหน่ายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์)
  5. Ecombot.com (รับวาง Host และค้าขาย)
  6. Thailandbest.com (รับวาง Host และค้าขาย)
  7. Siam-e-Commerce.com
  8. Siamweb.com
  9. Thaiecommerce.net (กระทรวงพาณิชย์)
  1. Networksolutions (รับจดชื่อ domain)
  2. NASDAQ (แสดงราคาหุ้น web ที่เข้าตลาดหุ้น)
  3. YAHOO (รับตั้งร้านใน internet)
  4. Amazon (ขายหนังสือ)
  5. Barnesandnoble (ขายหนังสือ)
  6. Ebay (ประมูล Online)
  7. Apartment
  8. Shopping
  9. CDnow
  10. List by yahoo (มากกว่า 5000 เว็บ)
ผมเคยได้รับคำแนะนำจาก ม.ล.ลือศักดิ์ จักรพันธุ์ (Deputy Managing Director & CIO) ของ Siam-e-Commerce.com ซึ่งเป็นเว็บที่ให้บริการ e-Commerce ครบวงจร ท่านได้กรุณาแนะนำ หลาย ๆ เรื่องน่าสนใจ โดยเว็บของท่าน เป็นผู้ให้บริการ ระบบอีคอมเมิร์ซระดับองค์กร สามารถให้การสนับสนุนในเรื่องข้อมูลเชิงลึก และกรณีศึกษาขององค์กรต่าง ๆ ที่ประสบความสำเร็จจริง กับ e-Commerce ซึ่งน่าจะเป็นที่ทราบกันมากขึ้นว่า ผู้ประกอบการ ที่ประสบความสำเร็จจริง มีอาทิ www.chulabook.com (www.cubook.com เดิม) และ www.sandprestaurant.com เป็นต้น ซึ่งธุรกิจที่ยกตัวอย่างมานั้น ประกอบด้วยระบบ ครบวงจรคือ B2C, B2B, BackOffice, Secure Payment, Debit Card System, Call Center, workflow, intranet, WAP และ Statistic ต่างๆ ข้อมูลเหล่านี้ จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง แก่ธุรกิจไทย
จึงขอขอบคุณ มล.ลือศักดิ์ จักรพันธุ์ อย่างมาก ที่กรุณาให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์

กรณีศึกษาขอพื้นที่ทำฟรี e-Commerce
http://www.cookkoo.com
Free e-Commerce ภาคธุรกิจ ครบวงจร (จำกัดปริมาณ)
ลักษณะ
1. ระบบแคทตาล็อกสมบูรณ์มาก
http://www.tarad.com
free e-commerce ภาคธุรกิจ ครบวงจร (จำกัดปริมาณ)
ลักษณะ
1. ต้องส่งสำเนาบัตรประชาชนไปยืนยันตัวตน
http://www.thaitambon.com
free e-commerce ภาครัฐ (สำหรับตำบล)
http://www.siamvillage.net
free e-commerce ภาครัฐ (สำหรับหมู่บ้าน)
http://thaiall.safeshopper.com
กรณีศึกษาขอพื้นที่ทำฟรี e-Commerce (ปิดบริการไปแล้ว)
ลักษณะ
1. มีบริการสารพัด เพราะเป็นมืออาชีพ
2. มีคนสั่งแล้วจะส่ง mail บอกลูกค้า
3. มีคนสั่งแล้ว ต้องเข้าไปเช็คใบสั่งที่เว็บ
4. มีบริการจด dotcom
5. ใช้ shopping cart ได้ทันทีไม่ยุ่ง
6. ขอรับ credit card ยุ่งยากมาก ถึงมากที่สุด
7. Option มากจนหาอะไรลำบากนิดหน่อย
8. ใช้ภาษาไทย หรือเงินบาทไม่ได้
9. Publish เป็นเพียง icon เล็กรูปจานส่งสัญญาณ
10.freemerchant.com ให้ชื่อเป็น safeshopper.com
http://thaiall.bigstep.com
กรณีศึกษาขอพื้นที่ทำฟรี e-Commerce (ปิดบริการไปแล้ว)
ลักษณะ
มีบริการสารพัด เพราะเป็นมืออาชีพ
มีบริการจด dotcom
ใช้ shopping cart ไม่ได้ถ้าไม่รับ credit card
ขอรับ credit card ยุ่งยากมาก ถึงมากที่สุด
เปลี่ยน template ได้หลายหลาย
Publish ง่าย และมี to-do list แนะนำ
ปัจจุบันผมยังขอใช้ shopping cart ไม่ได้
http://tambon.khonthai.com/List_ABT.php?cc=52&Province=ลำปาง
free e-commerce ภาครัฐ (สำหรับหมู่บ้าน)
    ข้อมูลเกี่ยวกับ walmart.com 
    1. ใช้ภาษา gsp + aspx ซึ่งใช้ C++ ในการให้บริการ
    
      อ่านเรื่อง gsp จาก http://gsp.eduvax.net นอกจากนี้ยังใช้ aspx ที่ http://photo.walmart.com/photo/messages/terms_of_use.aspx
    2. ระบบสมาชิก ไม่ต้องมีการยืนยัน
      เพราะสมัครแล้วได้เลย ไม่ต้องกลับไปอ่าน e-mail ใช้เพียง e-mail และ password ก็ login เข้าไปได้
    3. ดูจาก http://www.whois.sc/walmart.com
      - server ที่ใช้ Microsoft-IIS/6.0.0 - name server คือ NS3-AUTH.SPRINTLINK.NET - จด domain กับ NETWORK SOLUTIONS, LLC. Registrant: Wal-Mart Stores, Inc (WALMART6-DOM) 7000 Marina Blvd. 7000 Marina Blvd. Brisbane, CA 94005 US Record expires on 23-Sep-2010. Record created on 23-Feb-1995. NS3-AUTH.SPRINTLINK.NET 144.228.255.10 NS2-AUTH.SPRINTLINK.NET 144.228.254.10 NS-C.PNAP.NET 64.95.61.4 NS-A.PNAP.NET 64.94.123.4
    4. เมื่อซื้อสินค้า และมีการขนส่ง
      สามารถตรวจสอบการขนส่ง ว่าสินค้าอยู่ในขั้นตอนไหนได้ http://www.walmart.com/cservice/li_trackorder.gsp?NavMode=2
    5. มีระบบ credit card ของ เขาเอง คล้าย BigC card
      You can use your Wal-Mart Credit Card to make purchases on our Web site, Walmart.com, at SAM's Clubs and in Wal-Mart stores. For information about your existing Wal-Mart Credit Card account, call 1-877-969-1130 from 8 a.m. to midnight (ET) Monday-Friday; from 8 a.m. to 9 p.m. (ET) Saturday, and from noon to 5 p.m. (ET) Sunday. Automated account balance and basic information is available 24 hours a day, 7 days a week. Or visit the Wal-Mart Credit Card Web site. To apply for a Wal-Mart Credit Card today, call toll-free 1-877-969-3668 from 8 a.m. to midnight (ET) Monday-Friday; from 8 a.m. to 9 p.m. (ET) Saturday, and from noon to 5 p.m. (ET) Sunday. http://www.walmart.com/catalog/catalog.gsp?cat=128920
    6. เขาไม่ขายนอก U.S.
      International Shipping The Walmart.com Web site only ships orders within the 50 states, APO/FPO military addresses as well as major offshore territories and protectorates of the United States. All prices are in U.S. dollars, and we do not accept checks, money orders or credit cards issued by foreign (non-U.S.) banks. http://www.walmart.com/catalog/catalog.gsp?cat=163543
    7. มีการรับประกันเช่น แหวนเพชรจาก ผู้ผลิต
      เพราะ walmart ไม่ใช่ผู้ผลิต ก่อนซื้อสามารถดูรายละเอียดต่าง ๆ ได้

ขั้นตอนการเข้าสู่ธุรกิจ e-Commerce 5 ขั้นตอน
เรียบเรียงจาก e-Commerce และกลยุทธ์การทำเงิน โดย วัชระพงศ์ ยะไวทย์ สำนักพิมพ์ซีเอ็ด หน้า 28
    ขั้นตอนทั้ง 5 นี้ ทำให้รู้ว่าจะพัฒนา e-Commerce .. อย่างไร
  1. ขั้นตอน 1 - สำรวจโอกาสทางการตลาดด้วยระบบค้นหาข้อมูล (Market Search)
  2. ขั้นตอน 2 - วางแผนการตลาด และพัฒนาเว็บเพจ (Planning and Development)
  3. ขั้นตอน 3 - นำเว็บเพจเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต และจัดตั้งเว็บไซต์ (Install)
  4. ขั้นตอน 4 - โฆษณา และประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ (Promotion)
  5. ขั้นตอน 5 - ติดตามผล ปรับปรุง และบำรุงรักษา (Evaluation and Maintainance)
    ลักษณะพิเศษของการทำการค้าบนเว็บ : ไม่มีพรมแดน, ตัวต่อตัว, ตัดสินใจจากข้อมูล, กิจกรรมผสม, ไปถึงคนทั่วโลก, โต้ตอบทันควัน, ทำได้ 24 ชั่วโมง

ขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติเพื่อความสำเร็จในการทำ e-Commerce มี 9 ขั้นตอน
เรียบเรียงจาก e-Commerce และกลยุทธ์การทำเงิน โดย วัชระพงศ์ ยะไวทย์ สำนักพิมพ์ซีเอ็ด หน้า 234

ขั้นตอนทั้ง 9 นี้ มีความชัดเจนที่ส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติในทาง e-Commerce อย่างมาก
1. แต่งตั้ง คณะกรรมการควบคุมดูแล (Committee) ซึ่งควรจะมี ฝ่ายขาย การตลาด และผู้บริหารที่มีอำนาจตัดสินใจเป็นแกนหลัก
2. วิจัยตลาด (Marget Research) โดยผ่านทางระบบค้นหา เพื่อหาช่องว่าง และโอกาสทางการตลาด
3. กำหนด กลุ่มเป้าหมาย (Marget Target) ที่เราจะขายสินค้าให้ ซึ่งในที่นี้จะเน้นที่กลุ่มที่มีพฤติกรรมที่เหมือนกัน
4. วางแผนกลยุทธ์ (Strategic Planning) ด้านสินค้าว่า จะขายอะไร หรือปรับปรุงอย่างไร ตั้งราคาเท่าใด โดยปรับตามปัจจัย และพฤติกรรมที่ใช้ในการตัดสินใจซื้อของกลุ่มเป้าหมาย และวางกลยุทธิ์การพัฒนาเว็บเพจ หลังจากนั้นมอบหมายให้คณะทำงานอีคอมเมอร์ซที่แต่งตั้งขึ้นมา เพื่อนำไปปฏิบัติการ
5. ทำการ พัฒนาเว็บเพจ (Webpage Developing) ตามที่ได้วางกลยุทธ์ไว้ ซึ่งการจัดรูปแบบจะต้องสอดคล้องกับพฤติกรรมในการตัดสินใจซื้อ
6. ติดตั้ง ระบบอีคอมเมิร์ซ (e-Commerce System) เลือกระบบตะกร้า และวิธีการจ่ายเงินที่เหมาะสม
7. จดทะเบียนชื่อโดเมน (Domain Name Registration) (อาจจะทำการจดไว้ก่อนตั้งแต่ขึ้นตอนแรก หากกลัวชื่อที่ต้องการหมด และสามารถตกลงกันได้ว่าจะเอาชื่อใด) และนำเว็บเพจที่ออกแบบเสร็จแล้ว เข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต หรืออัปโหลดขึ้น เว็บเซิร์ฟเวอร์ เสร็จแล้วก็ทำการลงทะเบียนในระบบค้นหา และประชาสัมพันธ์ด้วยวิธี หรือสื่ออื่น
8. ตรวจวัดผลระยะเวลา 1, 3 และ 6 เดือน (Evaluation) เพื่อปรับแต่งจนสอดคล้องกับพฤติกรรม และความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย
9. เฝ้าดูแล (Monitor) และปรับปรุงเนื้อหา ตามกำหนดระยะเวลา เช่น ทุกสัปดาห์ หรือทุกเดือน
ลักษณะพิเศษของการทำการค้าบนเว็บ : ไม่มีพรมแดน, ตัวต่อตัว, ตัดสินใจจากข้อมูล, กิจกรรมผสม, ไปถึงคนทั่วโลก, โต้ตอบทันควัน, ทำได้ 24 ชั่วโมง

กลยุทธ์ที่จำเป็นสำหรับการเปิดร้านออนไลน์
เรียบเรียงจาก Computer review ฉบับ 189 เดือนพฤษภาคม 2543
  1. สินค้าต้องน่าสนใจ และมีจำนวนมากพอ เพื่อให้ผู้ใช้รู้สึกเห็นความหลายหลาย และเข้ามาที่ร้านอีก
  2. รายละเอียดสินค้าครบถ้วน ตรงตามความจริง ไม่คุยสรรพคุณเกินจริง หรือแอบใส่ไข่ เป็นอันขาด
  3. สินค้ามีอยู่จริง และต้องหาให้ลูกค้าได้ทันทีที่สั่งซื้อ
  4. การออกแบบเว็บต้องดี น่าดู น่าสนใจ มีลูกเล่นที่ดี
  5. การประชาสัมพันธ์ต้องเยี่ยม มีการส่งจดหมายข่าว หรือโฆษณาผ่าน banner exchange

สิ่งที่ควรมีสำหรับการเปิดร้านบนอินเทอร์เน็ต
เรียบเรียงจาก Computer review ฉบับ 189 เดือนพฤษภาคม 2543
  1. หน้าร้าน และพื้นที่ของร้าน ยิ่งกว้างยิ่งดี (Shop Showing)
  2. ต้องมีตะกร้า ซื้อและคำนวณเงินได้ ก่อนจ่ายจริง (Shopping Cart)
  3. อีเมล์ตอบรับ เมื่อมีผู้สนใจสั่งสินค้า ควรสั่งให้ทั้งลูกค้า และตัวคุณ(E-Mail response)
  4. รับชำระด้วยบัตรเครดิต หลังจากทุกอย่างลงตัว (Credit Card Acception)
  5. สถิติ และรายงาน เห็นความก้าวหน้าของเว็บ (Statistic)
  6. เทมเพลตการออกแบบ ช่วยให้ออกแบบหน้าร้านได้ง่ายขึ้น (Template)
  7. การประชาสัมพันธ์ ต้องถึงกลุ่มลูกค้า (Advertising)

การชำระเงิน
เรียบเรียงจาก Computer review ฉบับ 189 เดือนพฤษภาคม 2543
  1. รับชำระเงินสด เมื่อส่งสินค้า
  2. รับสินค้าที่ร้าน พร้อมชำระเงินสด
  3. พัสดุเก็บเงินปลายทาง
  4. การโอนเงิน หรือ เช็ค เข้าบัญชี ก่อนส่งสินค้า
  5. ขอผู้ขายติดต่อไปยังผู้ซื้อ หลังสั่งซื้อ เพื่อตกลงกัน
  6. การชำระเงินด้วยบัตรเครดิต

ธนาคารที่ให้บริการรับชำระเงินด้วยบัตรเครดิตผ่าน internet
  1. asianpay.com :: มีทั้งภาษาไทย และอังกฤษ สำนักงานอยู่เชียงใหม่
  2. thaiepay.com :: ทำให้เว็บเรา รับชำระเงินผ่านบัตรเครดิตได้
    THAIEPAY เป็นบริการตัดบัตรเครดิตออนไลน์ ที่พัฒนาระบบขึ้นโดยบริษัท โพลาร์ เว็บแอปพลิเคชั่น จำกัด กล่าวคือ หากคุณมีเว็บไซต์ ที่ขายสินค้า หรือบริการออนไลน์ แล้วต้องการอำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าของคุณ สามารถจ่ายเงินผ่านระบบออนไลน์ได้ทันทีด้วยบัตรเครดิต คุณสามารถใช้ระบบของ THAIEPAY เป็นตัวกลางในกระบวนการเหล่านี้ได้ เมื่อลูกค้าจ่ายเงินผ่านระบบของเรา เราก็จะจัดส่งเงินเหล่านี้ต่อให้แก่คุณโดยตรง (ปรับปรุง : สิงหาคม 2547)
  3. thailandpay.com :: คล้าย thaiepay.com (ตรวจเมื่อ มกราคม 2549 และกันยายน 2551 พบว่าปิดปรับปรุง)
    "ระบบชำระเงินผ่านบัตรเครดิตออนไลน์"(Online Payment Gateway) ที่อำนวยความสะดวก ให้ลูกค้าทุกท่านสามารถทำการค้า ผ่านระบบออนไลน์ e-commerce ได้อย่างสะดวกปลอดภัยในราคาที่คุณพึงพอใจโดยท่านสามารถ รับเงินจากบัตรเครดิตของลูกค้าท่านได้โดยตรงผ่านระบบของ Thailand Pay ซึ่งท่านสามารถที่จะจัดการการชำระเงิน จาก ลูกค้าได้อย่างอิสระไม่ว่าจะเป็นการตัดวงเงินหรือการยกเลิกวงเงิน ระบบ E-PAYMENT ของ Thailand Pay เป็นระบบมาตรฐานเดียวกับสถาบันการเงินชั้นนำ ที่ให้ความสะดวกในการ ใช้บริการแก่ท่านโดยที่
    - ไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนเป็นบริษัทฯ
    - ไม่จำเป็นต้องวางเงินมัดจำ ในการขอใช้บริการ
    - ระบบพร้อมใช้งานภายใน 24 ชม. หลังจากที่ลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว
    ได้รับคำแนะนำเว็บนี้จาก คุณนิเวช งามสง่า niwechn@yahoo.com 09-7688-200
  4. บัตรเครดิต ไทยพาณิชย์ Tel.0-2777-7777 scbcreditcard.com
  5. ธนาคารกรุงเทพ Tel.0-2638-4000 bangkokbank.com
  6. ธนาคารกรุงไทย Tel.0-2255-2222 ktb.co.th

การพิจารณาอนุมัติการให้มีการตัดบัตรเครดิต
คัดลอกมาจาก http://www.jjshop.com/MES/business.html (ตรวจสอบ jjshop.com เมื่อ กรกฎาคม 47 พบว่าเว็บนี้หายไปแล้ว)
ข้อมูลเมื่อ 4 กรกฏาคม 2543
    1. จะต้องมีทะเบียนนิติบุคคล เช่น สามัญนิติบุคคล (ร้านค้า) ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือ บริษัท จำกัด
    2. ทุนจดทะเบียน จะไม่ต่ำกว่า 5 แสนบาท (ตัวเลขนี้ เปลี่ยนแปลงตามสถาบันการเงิน บางแห่ง อาจต้องการทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 2 ล้านบาท และหวังว่า จะมีการลดหย่อน ภายในปีนี้)
    3. ระยะเวลาในการประกอบการ จนถึงวันพิจารณา จะไม่น้อยกว่า 3 ปี (ตัวเลขนี้ เป็นปัญหากับผู้ประกอบการขนาดเล็ก หรือ ผู้ที่ริเริ่มเข้ามาประกอบธุรกิจ ซึ่งอาจมีการลดหย่อน ภายในปีนี้)
    4. จะต้องมีเงินมัดจำ 3-5 หมื่นบาท เป็นเงินฝากประจำ ถอนไม่ได้ เป็นเงินสดค้ำประกันบัญชี
    5. ในบางกรณี ทางสถาบันการเงิน จะจัดเจ้าหน้าที่เข้าเยี่ยมเยียน สถานประกอบการของท่าน เพื่อดูความเสี่ยง ในการประกอบธุรกิจของท่าน ต่อสถาบันการเงินนั้น (บุคคลธรรมดา หมดสิทธิ์แน่นอน)
    ด้วยกฏเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น ในปัจจุบัน จะพบได้ว่า จะมีเพียง ผู้ประกอบการขนาดกลางที่มั่นคง เท่านั้น ที่อาจจะผ่านกฏเกณฑ์ข้างต้นดังกล่าว แต่โอกาสแทบจะไม่มี ของผู้ประกอบการขนาดเล็ก หรือบุคคลธรรมดา ที่อยากเริ่มประกอบธุรกิจ โดยอาศัยการบริการตัดบัตรเครดิต จะได้รับการพิจารณาจากสถาบันการเงินในประเทศไทย
    JJshop.com จะประกอบด้วย ผู้ประกอบการขนาดเล็ก หรือบุคคลธรรมดา ที่อยากเริ่มประกอบธุรกิจ เป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น หนทางของกลุ่มส่วนใหญ่ดังกล่าว คือ การผ่อนคลายกฏเกณฑ์ของสถาบันการเงินในประเทศ หรือ การหันไปใช้ การบริการของต่างประเทศ ที่ไม่ได้เคร่งครัดกฏเกณฑ์ในข้างต้น

บทความนี้ผมเขียนส่ง สถาบันวิจัยโยนก เพื่อลงในจุลสารโยนกรีวิว เดือนมิถุนายน 2543
e-Commerce คือธุรกิจรูปแบบใหม่ในศตวรรษที่ 21
ในอดีต การลงทุนค้าขายอะไรสักอย่าง จะต้องใช้เงินลงทุนสูง เลือกทำเล กู้เงินก้อนโต จ้างพนักงานประจำ และต้องโฆษณาประชาสัมพันธ์ แต่หลังจากที่ Internet เข้ามามีอิทธิพลต่อการใช้ชีวิต ทำให้พฤติกรรมการลงทุนของคนกลุ่มหนึ่งเปลี่ยนไป พวกเขาสามารถขายของ โดยไม่ต้องเช่า หรือสร้างอาคารสำหรับเปิดร้าน ไม่ต้องกู้เงินก้อนโตมาลงทุนจัดการสำนักงาน ไม่ต้องจ้างพนักงานนั่งหน้าร้าน เพราะนี่คือยุคของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce หรือ e-Commerce) เป็นคลื่นอีกลูกที่ต้องจับตา
เหตุที่พฤติกรรมการทำธุรกิจได้เริ่มมีการเปลี่ยนแปลง เพราะระบบ Internet ได้เข้ามาเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะเอื้ออำนวยต่อการลงทุนค้าขาย นักธุรกิจสามารถทำหน้าร้านใน Internet ให้สวยงามอย่างไรก็ได้เพื่อดึงดูดลูกค้า มีภาพสินค้า สี รุ่น ให้ลูกค้าเลือกได้ตลอด 24 ชั่วโมง จากทุกมุมโลก หากมีข้อสงสัยจะสามารถปรึกษาแบบ Online ผ่านเครื่องมือสื่อสารที่มีค่าใช้จ่ายต่ำเช่น ICQ หรือ IRC หรือ E-Mail ติดต่อสื่อสารกัน เมื่อมีคำสั่งซื้อสินค้าจากลูกค้า ก็เพียงแต่นำสินค้านั้นจัดส่งให้ทางไปรษณีย์ ไม่จำเป็นต้องมีโกดังเก็บสินค้าใหญ่โต การรับชำระเงินผ่านบัตรเครดิตจะทำให้ผู้ใช้สะดวกกว่าการจ่ายเงินสดอย่างมาก สิ่งเหล่านี้มิใช่ความฝันอีกต่อไป แต่กำลังดำเนินอยู่ในโลกปัจจุบันนี่เอง
ความแพร่หลายของการนำระบบ Internet เข้ามาใช้ในปัจจุบัน ที่พอมีตัวอย่างให้สังเกตุได้ง่าย เช่น การหนังสือผ่าน Internet การส่งข้อความเข้าโทรศัพท์มือถือ หรือ Pager ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากในปัจจุบัน การตรวจผลฉลากกินแบ่งรัฐบาล การนำสินค้าไปประกาศขาย หรือประกาศซื้อ การลงทะเบียนเรียนของสถาบันการศึกษาทาง Internet การสมัครเป็นสมาชิกกับองค์กร หรือสมาคมต่าง ๆ แบบ Online การรับสอน ให้คำปรึกษา หรือจัดอบรม การซื้อขายโปรแกรม รูปภาพ เอกสาร หรือเพลง เป็นต้น
จากข้อมูลในตลาดหุ่น NASDAQ Stock market ที่อาจทำให้ใครต่อใครที่ยังไม่รู้ว่า Internet คืออะไร ถึงกับตะลึงได้ว่า หุ่นของบริษัท Yahoo! ซึ่งเป็นบริษัทที่ให้บริการค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ตนั้น มีมูลค่ารวมถึง 8.2 หมื่นล้านเหรียญ ซึ่งมูลค่าของบริษัทเท่ากับระบบเศรษญกิจของประเทศออสเตรเลียทั้งประเทศทีเดียว แม้ปัจจุบันมีเว็บไซต์ใน Internet เพียงไม่กี่รายที่มีกำไรจากผลประกอบการ แต่ส่วนใหญ่ต้องการทำเว็บให้ดีมีผู้เข้ามาเยี่ยมชมมาก และส่งเข้าขายในตลาดหุ้น เพราะทันทีที่เข้าตลาดหุ้น หุ้นของบริษัทจะสูงขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อทีเดียว และนักพัฒนาเว็บก็จะนำหุ้นออกจำหน่ายกลายเป็นเศรษฐีใหม่กันทันที นักลงทุนส่วนใหญ่ที่กล้าซื้อหุ้นของเว็บไซต์ มักต้องการซื้ออนาคตของเว็บนั้น เพราะเมื่อใครมีเว็บที่ทุกคนรู้จัก และมีอนาคต ต่อไปจะสามารถนำข้อมูล หรือสินค้าอะไรไปขายผ่านเว็บก็จะได้รับความสนใจ นักท่องเว็บก็จะเข้าเยี่ยมชม และใช้บริการสินค้าเหล่านั้น ดังที่ทุกคนต่างรู้กันดีว่า เว็บที่ให้บริการสืบค้นจะไม่มีใครล้มราชาอย่าง Yahoo ได้ และปัจจบัน Yahoo ก็เริ่มเข้ามาทำ Ecommerce ขายสินค้า แทนการให้บริการสืบค้นเพียงอย่างเดียว นั่นจึงเป็นเหตุผลที่นักลงทุนกล้าที่จะซื้อหุ้นของเว็บไซต์ใน Internet ซึ่งมีราคาสูงอย่างไม่น่าเชื่อ ด้วยหวังทีว่าเขาจะได้ผลตอบแทนจากการลงทุนกลับคืนมาเป็นก้อนมหาศาลในอนาคต
เว็บที่มีราคาหุ้นในตลาดหุ้นที่สูงยังมีอีกมากเช่น www.amazon.com ซึ่งให้บริการขายหนังสือแบบ Online หรือ www.ebay.com ซึ่งให้บริการประมูลสินค้า ซึ่งทั้ง 2 เว็บนี้ต่างเป็นบริษัทที่ให้บริการในลักษณะ e-Commerce ที่ประสบความสำเร็จในการขายหุ้น แต่ในด้านการทำกำไรแล้ว ทั้ง 2 เว็บยังคงมีผลประกอบการขาดทุน หรือเว็บที่มีลักษณะใกล้เคียงกันแต่เป็นของคนไทย ก็เช่น www.thaiamazon.com , www.thaicybermall.com หรือ www.pramool.com เป็นต้น ซึ่งเป็นเว็บสัญชาติไทยที่ผู้คนรู้จักกันดี แต่สำหรับประเทศไทยการที่จะนำเว็บเข้าตลาดหุ้นนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย แม้แต่เว็บอันดับหนึ่งของไทย เช่น www.hunsa.com หรือ www.sanook.com ก็ยังไม่ได้เข้าไปในตลาดหุ้น เพราะเว็บที่จะเข้าตลาดหุ้นได้นั้นจะต้องผ่านข้อกำหนด และเงื่อนไขหลาย ๆ อย่าง เช่นต้องมีทุนจดทะเบียนหลายสิบล้านเป็นต้น
รัฐบาลไทยได้เข้ามามีบทบาทให้การสนับสนุน e-Commerce อย่างเต็มที่ โดยมีหน่วยงานที่ชื่อ ศูนย์พัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce Resource Center) ซึ่งเปิดเว็บไซต์ให้ข้อมูลข่าวสารที่ www.e-Commerce.or.th เช่นข่าวการประชุมสัมมนาที่เกี่ยวข้อง หรือร่างพระราชบัญญัติใหม่ ๆ ในด้าน Electronic เป็นต้น รวมทั้งการแจกเอกสารการสัมมนาที่มีประโยชน์ในรูปแบบ PDF ให้ชายไทยที่สนใจได้ Download ไปศึกษา
ประโยชน์ของ e-Commerce
1. ไม่ต้องมีพนักงานนั่งประจำ เพราะสามารถให้บริการแบบอัตโนมัติได้
2. สามารถเปิดขายได้ตลอด 7 วัน ๆ ละ 24 ชั่วโมง ไม่มีวันหยุด
3. สามารถเก็บเงิน และโอนเงินเข้าบัญชีบริษัทอัตโนมัติ
4. ตอบสนองนักลงทุนได้ทุกระดับ ตั้งแต่มืออาชีพทุนหนา ไปถึงมือใหม่ทุนน้อย
5. ประหยัดค่าพิมพ์เอกสารแนะนำสินค้า เพราะรายละเอียดทั้งหมด เสนอผ่านเว็บ
ปัญหาการขนส่ง ซึ่งขึ้นกับประเภทธุรกิจ
1. ค่าขนส่งอันเนื่องจาก น้ำหนัก และขนาด โดยปกติการซื้อสินค้าใน Internet จะมีบริการขนส่งให้ถึงบ้าน ตัวสินค้าอาจมีราคาถูกจริง แต่ค่าขนส่งจะสูง ทำให้บางครั้งจะต้องขายสินค้าเป็นชุด หรือเป็นแพ็ค เพราะไม่คุ้มที่จะขนส่งสินค้าเพียงชิ้นเดียว และลูกค้าโดยทั่วไป มักไม่ยินดีชำระค่าขนส่งที่สูงกว่าราคาสินค้า เช่นเทปเพลงตลับละ 90 บาท แต่มีค่าขนส่ง 100 บาท ทำให้ราคารวมสูงถึง 190 บาท เป็นต้น
2. ปัญหาการส่งของสด เช่นร้านดอกไม้ ที่รับส่งดอกไม้ อาจต้องจำกัดให้บริการเฉพาะในพื้นที่เช่นในกรุงเทพฯ ดังนั้นลูกค้าในต่างจังหวัดจึงไม่สามารถใช้บริการ
3. การรับประกัน และนโยบายการคืนของ หรือรับประกันความพึงพอใจ ในสินค้าบางอย่างที่แตกหักเสียหาย หรือเสื่อมสภาพได้โดยง่ายเช่น อุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ Diskette หรือ CD หากการขนส่งไม่ดี ปล่อยให้ตากแดด หรือมีความชื้นสูง อาจเป็นปัญหากับสินค้าได้ และภาระความรับผิดชอบจะต้องตกเป็นของผู้ขาย หรือผู้ซื้อ
4. ถ้าเกิดปัญกาการขนส่ง ซึ่งมีที่อยู่ของผู้รับผิด หรือผู้ที่รับไม่ใช่ผู้สั่งซื้อ เป็นต้น อาจเป็นปัญหาที่ต้องพิจารณา วางมาตรการแก้ไข และป้องกันไว้อย่างดี ก่อนเริ่มกิจการ
5. สินค้าราคาสูง เช่น คอมพิวเตอร์ เพชร พลอย ทอง ภาพเขียนโบราณ หรือเครื่องแก้ว ซึ่งมีปัญหาทั้งความปลอดภัย และการประกันสินค้า โดยปรกติบริษัทขนส่งมักให้ความคุ้มครองสินค้าไม่สูงนัก การส่งสินค้าประเภทนี่จึงมีความเสี่ยงสูง
พื้นฐานสำคัญของ e-Commerce ประกอบด้วยฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ที่ต้องทำงานประสานกัน ถ้าจะทำเว็บ e-Commerce จะต้องเลือกอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่นตัวเครื่อง Server และระบบ Network ซึ่งต้องทำงานประสานกันอย่างสอดคล้อง เพราะต้องเปิด 24 ชั่วโมง ตลอด 7 วัน ส่วนซอฟต์แวร์จะเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการจัดการระบบฐานข้อมูล และมีประสิทธิภาพในการนำเสนอ เพื่อสร้างความประทับใจ และดึงดูดลูกค้า ซึ่งจำเป็นที่ผู้ต้องการทำ e-Commerce ด้วยตนเองต้องตระหนัก แต่การทำ e-Commerce มีหลายรูปแบบ ถ้าท่านมีทุนน้อยอาจไม่ต้องสนใจเรื่องของฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ หรือการขอ Domain name จาก networksolutions.com หรือ thnic.net เพียงไปขอใช้บริการจากเว็บที่ให้บริการทำ e-Commerce ครบวงจร พวกเขาจะทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์ รับจัดการเรื่องการเงิน รับดูแลฐานข้อมูลสินค้า รับออกแบบเว็บ รับให้คำปรึกษา หรือรับส่งสินค้า เป็นต้น เพียงแต่ท่านต้องชำระค่าบริการเป็นรายเดือนเท่านั้น
หากท่านคิดจะทำ e-Commerce โดยติดตั้ง Hardware และ Software เอง และสามารถรับชำระเงินจากบัตรเครดิต เรื่องหนึ่งที่ต้องพิจารณาอย่างระมัดระวังคือความปลอดภัย ถึงแม้ในปัจจุบันจะมีการใช้ระบบ SSL(Secure Socket Layer) ซึ่งใช้ในการเข้ารหัสข้อมูลสำหรับการสื่อสารของไคลแอนต์กับเซิร์ฟเวอร์ หรือระบบ SET(Secure Electronic Transactions) จะคล้าย SSL แต่จะมีหน่วยงานกลางที่ยืนยันการทำธุรกรรม(Certification Authority:CA) และยืนยันความมีตัวตนโดยนำ Private key และ Public key มาใช้ ซึ่งผู้ขายสินค้าจะไม่ได้รับข้อมูลของรหัสบัตรเครดิต แต่จะได้รับเฉพาะข้อมูลการสั่งซื้อ รหัสบัตรเครดิตนั้นทางหน่วยงานกลางจะส่งไปให้ธนาคารเพื่อเรียกเก็บเงินต่อไป
นอกจากนี้ความปลอดภัยยังต้องรวมไปถึงการออกแบบฐานข้อมูล ที่จะต้องมีการป้องกันการเข้าถึงข้อมูลความลับเป็นอย่างดี อาจหาระบบ Firewall มาป้องกันการเข้าถึงจากผู้ไม่มีสิทธิ์ และกำหนดสิทธิ์อันควรให้กับผู้ที่เข้าถึงข้อมูลได้ ในปัจจุบันการรับชำระเงินด้วยบัตรเครดิตผ่านเครื่อง EDC (Electronic Data Capture) ตามห้างสรรพสินค้า หรือร้านอาหารอยู่แล้ว และต่อมาได้มีการพัฒนาให้สามารถรับชำระเงินผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย Internet ได้แล้ว โดยเว็บที่มีการนำระบบนี้มาใช้เป็นรายแรกคือ thaicybermall.com ซึ่งได้ทำการพัฒนาร่วมกับธนาคารกรุงไทย และเปิดให้บริการในปัจจุบัน ระบบนี้จะสามารถตรวจบัตรเครดิตแบบ Online ได้เหมือนกับการใช้จ่ายตามห้างสรรพสินค้าทันที เพราะการจ่ายชำระเงินด้วยบัตรเครดิตนั้น ลูกค้าเพียงแต่กรอกเลขบัตรเครดิต และเดือนปีที่บัตรหมดอายุ ผู้ขายก็สามารถติดต่อให้ธนาคารโอนเงินให้แบบอัตโนมัติผ่านเครื่อง EDC ที่เตรียมไว้นั่นเอง
ปัจจุบันการชำระเงินในระบบเครือข่าย Online สามารถกระทำได้หลายวิธีเช่น ใช้บัตรเครดิต(Credit card) ส่งเช็คอิเล็กทรอนิกส์(E-Cheque) เงินสดดิจิตอล(Digital cash) ระบบไมโครแคช(Micro cash) หรือ EDI (Electronic Data Interchange)สำหรับการซื้อขายระหว่างกัน โดยใช้เอกสารแบบฟอร์มอิเล็กทรอนิคส์ที่เป็นมาตราฐาน และต่อมาได้มีการออกแบบระบบ EFT (Electronic Funds Transfer) เพื่อให้สามารถส่งผ่านรายการโอนเงินในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้อำนวยต่อการพัฒนาระบบ e-Commerce ในปัจจุบันเป็นอย่างมาก
e-Commerce เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่าน การตัดสินใจลงทุนในธุรกิจประเภทนี้ จะต้องวางแผนให้รัดกุม ถึงแม้จะใช้เงินลงทุนในระยะแรกไม่สูง และไม่ต้องมีความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์มากนัก ก็สามารถทำธุรกิจประเภทนี้ได้ แต่ปัจจุบันมีคู่แข่งเข้ามาในธุรกิจมาก เพราะนักลงทุนสามารถเปิดธุรกิจได้ง่าย และกำลังอยู่ในความสนใจของคนรุ่นใหม่ แต่ถ้าคิดจะลงทุนค้าขายสินค้าให้คนไทย อาจจะต้องพบปัญหาที่คนไทยยังมีอัตราการใช้จ่ายเงินผ่านบัตรเครดิต ในระบบ Internet น้อย ทำให้มี Supply มากกว่า Demand นั่นจึงเป็นปัญหาที่ต้องพิจารณา และหาทางแก้ไข อย่างเป็นขั้นตอนต่อไป จึงจะทำให้ระบบ e-Commerce ในประเทศเราก้าวไปได้อย่างมั่นคง

บทความนี้ผมเขียนส่ง YONOK Business monthly ปีที่2 ฉบับที่2 วันที่ 1-31 มีนาคม 2543
e-Commerce ในไทย
เรื่องเกี่ยวกับ e-Commerce ที่ผมกำลังเขียนนี้ เป็นความคิดเห็น ไม่ใช่ theory หรือ conclusion จึงไม่สามารถนำไปอ้างอิงได้ตามหลักวิชาการ ที่เขียนนี้ก็เพื่อให้ข้อมูล ในอีกมุมมองหนึ่งของคนทำเว็บ ซึ่งอาจจะสวนกระแสอยู่เล็กน้อย ตามประสาของคนเจ้าปัญหา เพราะใคร ๆ หลายคนรอบข้างผม มักว่าผมเป็นมนุษย์ Conservative เสมอ e-Commerce ในทางทฤษฏี คืออะไรที่ยอดเยี่ยมสำหรับนักลงทุน เป็นอะไรที่ แปลกใหม่ กำลังอยู่ในความสนใจของ ผู้ประกอบการนักวิชาการ นักพัฒนาเว็บ และประชาชนผู้มีฐานะดีทั่วโลกด้วยเหตุที่ e-Commerce คือคำที่ใช้เรียก ระบบการซื้อขายผ่าน internet ไม่ว่าจะเต็มรูปแบบ หรือกึ่งรูปแบบ โดยมีเงื่อนไขง่าย ๆ ว่า e-Commerce คือเรื่องที่ต้องมีผู้ขาย และผู้ซื้อ ติดต่อกันเป็นหลักส่วนรายละเอียดปลีกย่อยอีก 108 เป็นเพียงส่วนประกอบเท่านั้น e-Commerce เต็มรูปแบบในความหมายของผมคือการทำเว็บโฆษณาขายสินค้า ให้ลูกค้าเข้ามาดู หากถูกใจก็จะทำการเลือกสินค้า แล้วจ่ายเงินผ่านบัตร เครดิตหรือโอนเงินเข้าธนาคาร ตามเลขบัญชี หรือส่งตั๋วแลกเงินไปให้ ผู้ขาย จากนั้นผู้ขายก็จะส่งสินค้าไปให้ผู้ซื้อถึงบ้าน คำว่าเต็มรูปแบบในความหมายนี้ก็คือ ผู้ขายมักได้เงินก่อน หรือมั่นใจว่าได้เงินแน่นอน จึงส่งสินค้าไปให้ แต่วิธีนี้เป็นวิธีที่ค่อนข้างยุ่งยากและสลับซับซ้อน ดังนั้นร้านค้าธรรมดาต้องอาศัย การฝากข้อมูลไว้กับเว็บที่ชำนาญ เช่น www.thaicybermall.com หรือ www.shopingthailand.com เสมือนกับห้าง central ที่เราสามารถไปเช่าพื้นที่ขายสินค้า โดยทางเว็บจะให้บริการรับชำระเงินผ่านบัตรเครดิต ทำระบบ stock และแจ้งให้เราทราบเกี่ยวกับรายการซื้อขาย พร้อมให้ คำแนะนำต่าง ๆ กับเราสารพัดที่จะทำให้เราขายสินค้าได้ e-Commerce กึ่งรูปแบบคือ การทำเว็บขายสินค้าเหมือนแบบเต็มรูปแบบ แต่จุดที่ แตกต่างกันอยู่ที่วิธีการจ่ายเงิน โดยจะไม่มีการชำระเงินผ่านบัตรเครดิต แต่อาจเป็นวิธีโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารหลังรับสินค้า หรือให้ไปรับสินค้า ผ่าน พ.ก.ง. ซึ่งลูกค้าต้องไปจ่ายเงินที่ ณ ที่ทำการไปรษณีย์ แต่เป็นวิธี ที่ไม่ปลอดภัยกับผู้ขาย เพราะเสี่ยงที่ลูกค้าจะไม่ไปรับสินค้าทำให้ต้อง เสียค่าใช้จ่ายในส่วนนี้โดยไม่จำเป็น แต่ก็เหมาะกับธุรกิจที่ไม่ถูกกฏหมาย เช่นขาย cd เถื่อน หรือธุรกิจที่ไม่ได้ทำระบบรับชำระอัตโนมัติ ที่สมบูรณ์ แต่ต้องการความง่าย หรือต้องการคุยกับลูกค้ารายตัว ก่อนส่งสินค้าเป็นต้น เรื่องของ e-Commerce ในอเมริกา นั่นรุ่งเรืองมาก เพราะผู้ขายมีเทคโนโลยี ผู้ซื้อเข้าถึงคอมพิวเตอร์ได้ง่ายและก็มีบัตรเครดิตกันเหมือนกับจะใช้ แทนเงินสดกันเลยทีเดียว ปัจจุบันชาวอเมริกาในพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศสามารถใช้บัตรเครดิตซื้อขายกันเป็นเรื่องปกติ การใช้เงินสดซื้อขอซะอีก ที่เป็นเรื่องผิดปกติ เมื่อหันกลับมามองเมืองไทยก็จะพบปัญหาในการทำธุรกิจ แบบนี้ นานาประการ แต่ผมก็เห็นนักวิชาการ และนักธุรกิจ กลุ่มหนึ่ง พยายามที่จะผลักดันเรื่องนี้ให้เป็นไปได้ แต่ผมบอกแล้วว่าผมเป็นพวก conservative จึงเห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องยากเพราะผมมองเห็นปัญหาที่แก้ได้ยากกว่าจะทำให้ e-Commerce เจริญในทางรูปธรรมในเมืองไทย
ปัญหาของ e-Commerce ในไทย
1. คนไทยค่าครองชีพต่ำทำให้อำนาจซื้อที่จะไปซื้อของผ่านเว็บยังน้อย
2. คนไทยน้อยคนมากที่จะใช้บัตรเครดิต และยิ่งน้อยเข้าไปอีกที่จะนำไปซื้อของ ผ่าน internet อันมีเหตุผลมาจากความเชื่อถือในความปลอดภัย ผมรู้จักผู้มีฐานะ ท่านหนึ่ง เขาไปซื้อของใน internet แบบให้ลงทะเบียนเลขบัตรไว้ แต่จะยังไม่เก็บตัง พอเดือนต่อมา ปรากฏว่ามียอดการใช้บัตร เป็นค่าโทรศัพท์ในอเมริกาที่เจ้าของบัตร ไม่รู้ไม่เห็นด้วยเลย นี่ก็คือตัวอย่างหนึ่งที่อาจไม่เกิดกับท่านก็ได้ .. อย่ากลัว ผมไม่ได้ขู่นะครับเพียงแต่ให้ข้อมูลเรื่องจริงเท่านั้น
3. คนไทยน้อยคนที่สนใจ ใช้งานคอมพิวเตอร์เพื่อจับจ่ายซื้อของ ส่วนใหญ่จะใช้ทำงานและเพื่อการศึกษา และเล่นเกมส์ สังเกตุว่า ร้านขาย cd เกือบทุกร้านจะมีแผ่น cd เกมส์กันเกือบครึ่งร้านและผู้ไปซื้อคอมพิวเตอร์กว่าครึ่งหนึ่งจะถามว่า คอมพิวเตอร์มีเกมส์อะไรบ้าง
4. เมื่อ demand น้อย ทำให้ supply น้อยไปด้วยทำให้เกิดการแข่งขัน และความพยายามที่จะพัฒนาระบบน้อย เนื่องจากไม่คุ้มกับการลงทุน
5. คนไทยส่วนใหญ่นิยมใช้เงินสดและได้เลือกสินค้าก่อนซื้อ มิใช่เห็นแต่ในภาพ
e-Commerce ในทางปฏิบัติ ของเมืองไทย เป็นเรื่องปกติที่ทุกคนต้องการอะไรที่สะดวกสบาย โดยเฉพาะการซื้อของผ่านเว็บ ดังนั้นนักวิชาการ นักพัฒนา และนักลงทุน จึงร่วมมือกันที่จะทำให้เรื่องนี้เป็นจริงในเมืองไทย จึงได้ทำเว็บลักษณะนี้กันขึ้นมากมาย และใช้กันในปัจจุบัน แต่เท่าที่ผมสังเกตุ เห็นในเว็บ e-Commerce เมื่อต้นปี2000 เช่น www.thaicybermall.com หรือ www.shoppingthailand.com ซึ่งเป็นเว็บ e-Commerce ของ ISP(Internet Service Provider) ชื่อดังระดับ top5 ของเมืองไทย แต่มีสินค้า และร้านค้า น้อยมาก นอกจากนี้ยังสังเกตุได้จากเว็บรับประมูล ที่ใคร ๆ ก็เสนอขายสินค้าอะไรก็ได้ เช่น www.thaibid.com และ www.pramool.com สำหรับทั้งสองเว็บนี้ ผมก็ได้ทดลองลงประกาศขายเว็บส่วนตัวของผม ในราคา 39,999 บาท ที่ขายไปก็เพื่อศึกษาการทำธุรกิจ จะได้นำประสบการณ์มาเล่าให้นักศึกษาฟัง เว็บที่ผมขายคือ thainame.net ส่วนรายละเอียดผมจะมาเล่าให้ฟังในฉบับต่อไป
สุดท้ายนี้ ผมขอฝากคำถามไว้ให้ท่านตอบ แต่ตอบในใจนะครับไม่ต้องบอกผมว่าท่านคิดว่า e-Commerce จะเป็น fashion เหมือน ทามาก๊อต หรือ DanceZone หรือไม่ หรือจะเป็น trend ของโลก แต่ค่อย ๆ ก้าวไป หรือเป็นไปอะไรที่มาแรงสุด ๆ ทั้งใน ทางทฤษฎี และทางปฏิบัติ ก่อนตอบคำถามผม ขอถามหน่อยว่าท่านเคยหรือเห็นใครรอบข้างท่านเข้าไปใช้บริการ e-Commerce บ่อยเพียงใด แล้วค่อยตอบคำถาม ขอให้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกว่าปัจจุบันเว็บ e-Commerce ชื่อดังอย่าง amazon.com หรือ ebay.com นั้น มียอดหุ้นสูงมาก แต่ผลการดำเนินการยังขาดทุนอยู่ครับ แต่ที่ยอดหุ่นสูงเพราะนักเก็งกำไรบอกว่า เขาซื้ออนาคต ไม่ได้ซื้อปัจจุบัน ในความเห็นของผมแล้ว ผมไม่ใช่นักเก็งกำไร จะให้ซื้ออนาคตผมคงไม่เอาด้วยแน่ แล้วถ้าเป็นท่าน เห็นเขาดำเนินธุรกิจขาดทุน ท่านคิดจะไปซื้อหุ้นเขาไหมครับ

กลยุทธ์ไม้ตาย 7 ข้อที่จะเพิ่มทราฟฟิก และยอดขาย
เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2545 ได้รับ mail ดี ๆ จาก [ bunlue@thaimarketingcenter.com] แนะนำ thaimarketingcenter.com ซึ่งมีบทความดี ๆ อยู่มากที่จะช่วยให้การทำ e-Commerce ประสบความสำเร็จ (ตรวจสอบ 27 มกราคม 49 ไม่พบเว็บไซต์นี้)
กลยุทธ์ที่ 1: เริ่มต้นใช้ Affiliate Program ของคุณเอง
เปิดรับสมาชิก เพื่อให้สมาชิกสามารถนำบริการของเราไปใส่ในเว็บสมาชิก (Resell program) ถ้ามีลูกค้าเข้ามาจากเว็บสมาชิก ก็จะจ่ายค่า commission ให้แก่สมาชิก
กลยุทธ์ที่ 2: สร้าง Newsletter ของคุณเอง
รับสมาชิก เมื่อมีอะไรใหม่ ก็ส่งจดหมายข่าวไปให้สมาชิกทราบ เช่น promotion หรือสินค้าใหม่ เป็นต้น
กลยุทธ์ที่ 3: Pay-Per-Click Search Engine Listings
เสียเงินให้ search engine เมื่อมีคน click เข้าเว็บของเราผ่าน search engine ที่เราไปใช้บริการ
กลยุทธ์ที่ 4: ซื้อโฆษณาในราคาถูก
เช่น banner, spam mail หรือ auto submit เป็นต้น
กลยุทธ์ที่ 5: ฟอร์มทีมหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์
ขอแลก link กับเว็บที่มีลักษณะคล้ายกับเว็บของเรา
กลยุทธ์ที่ 6: พยายามเกาะติดรายชื่อท็อปเท็นของ Search Engine
Submit เข้า search engine แต่ละแห่งด้วยความระมัดระวัง โดยหวังผลการนำไปสู่การเป็นอันดับต้น ๆ ของผลการสืบค้น
กลยุทธ์ที่ 7: เขียนบทความฟรี และ eBooks
ให้ความรู้กับผู้คน จะทำให้ผู้คนเข้าสู่เว็บของคุณ เพื่อเข้ามาหาข้อมูล และนำไปสู่ผลด้านอื่น ๆ ต่อไป

แผนการสอนภาคปฎิบัติ 2 ชั่วโมง
หัวข้อที่ 1 : การติดตั้งเครื่องบริการและสคริปต์
วัตถุประสงค์ : 
- เพื่อศึกษาส่วนต่าง ๆ ที่รวมกันเป็นระบบบริการ
- เพื่อฝึกให้นักศึกษาติดตั้งระบบบริการทั้งชุด เพื่อใช้งานจริงได้ แบบที่ 1 : ติดตั้งทีละส่วน
1. Download โปรแกรม e-Commerce จาก oscommerce.com
2. Download โปรแกรม apache, php และ mysql
3. ติดตั้งแต่ละโปรแกรม และ config ให้ทำงานร่วมกัน แบบที่ 2 : ติดตั้งชุด all in one
1. Download โปรแกรมจาก thaiabc.com
2. ติดตั้ง และใช้งาน หัวข้อที่ 2 : ศึกษา e-Commerce แต่ละแบบ วัตถุประสงค์ :
- เพื่อศึกษาระบบที่ใช้งานจริงจากกรณีศึกษา 3 ระบบ กรณีที่ 1. ร้านอาหารออนไลน์ (Pizza Case Study) กรณีที่ 2. ร้านค้าอุปกรณ์จานดาวเทียม (Sattelite Case Study) กรณีที่ 3. ร้านค้าสื่อบันเทิงครบวงจร (OSCommerce Case Study) หัวข้อที่ 3 : ฝึกบริหารร้านค้า วัตถุประสงค์ :
- เพื่อฝึกนำสินค้าเข้าเครื่องบริการ
- เพื่อฝึกจัดการกับใบสั่งซื้อ ขั้นตอนที่ 1. เตรียมภาพสินค้า ข้อมูลสินค้า
- จัดเตรียมภาพที่เหมาะสม
- จัดกลุ่มสินค้าออกเป็นหมวดหมู่ ขั้นตอนที่ 2. upload ข้อมูลเข้าเครื่องบริการ
- ส่งสินค้าเข้าเครื่องบริการผ่านระบบ admin ขั้นตอนที่ 3. ตรวจสอบใบสั่งซื้อ และดำเนินการ
- ตรวจสอบ และบันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับใบสั่งซื้อ
- ดำเนินการจัดเตรียมสินค้า และบันทึกการจัดส่ง

Pricing ของ Siam-e-Commerce.com (ราคาเมื่อ สิงหาคม 2543)
เคยได้ข้อมูลนี้จาก http://www.siam-e-Commerce.com/content/framepricing.htm แต่ปัจจุบัน เว็บเพจนี้หายไปแล้ว
ตัวอย่างราคาโดยประมาณเอาไว้เปรียบเทียบ หรือตัดสินใจ หรือไปใช้บริการครับ
Basic price
Overall Charge for Web Update1,500 - 35,000 บาท
Web Page (A4 Size)1,000 บาท/หน้า
Static Graphic300 - 1,500 บาท
Graphic Animation500 - 2,000 บาท
Dynamic Graphic Animation500 - 2,500 บาท
Flash Presentation1,000 - 20,000 บาท
CGI Scripting and Interfacing800 - 1,200 บาท/ชั่วโมง
Web Board10,000 บาท
Shopping Cart25,000 - 60,000 บาท
Updating System5,000 บาท
Banner Advertising Design1,000 - 5,000 บาท
Domain Name Registration3,000 บาท/2 ปี
Hosting1,000 - 2,000 บาท
e-Commerce website
(รับทำ น่าจะเหมือนที่ให้บริการฟรีที่ jjshop.com bigstep.com และ safeshopper.com)
Small Business35,000 - 50,000 บาท
Medium Business50,000 - 100,000 บาท
Large Business100,000 บาท
Web based e-mail
(น่าจะคล้ายกับที่ everyone.net ให้บริการ อย่าง yourname@thaiall.com ก็ฟรี ผมเขียน บทความ นี้ด้วย)
Mail Installation & Configuration25,000 บาท
Web-based Mail Application30,000 บาท
Basic Database Design25,000 บาท
SQL Server Installation & Configuration30,000 บาท

การวางแผนธุรกิจ (Business Plan)
  1. รายละเอียดโครงการ (Profile)
    นำเสนอภาพรวมของโครงการ เช่น วัตถุประสงค์ ความเป็นไปได้ เป้าหมาย และข้อสรุป เป็นต้น
  2. แผนที่เว็บไซต์ (Site Map)
    แสดงการเชื่อมโยงเว็บเพจทั้งหมดอย่างเป็นหมวดหมู่
  3. แผนการทำงาน (Working Plan)
    อธิบายแผนการทำงาน เกี่ยวกับบุคลากร ระบบงานที่สัมพันธ์ กับแผนกต่าง ๆ และแบ่งเป็นช่วงเวลาอย่างชัดเจน
  4. แผนการลงทุน (Investment Plan)
    สรุปแผนที่จะใช้จ่ายเงินในด้านต่าง ๆ ตามช่วงเวลา และรายละเอียดการใช้จ่าย
  5. แผนการเงิน (Financial Plan)
    วางแผนบริหารการเงิน ประกอบด้วยการคำนวณจุดคุ้มทุน งบกำไรขาดทุน งบดุล และกระแสเงินสด
  6. แผนการตลาด (Marketing Plan)
    แผนการตลาดในด้านต่าง ๆ เช่น 4P เป็นต้น

4 ขั้นตอน ในการขายบนอีเบย์ (ebay staring)
1. ลงทะเบียน
- ลงทะเบียนเป็นสมาชิกอีเบย์
- การตั้งค่าแอคเคาน์ หรือรหัสผู้ขายอีเบย์ 2. ประกาศขาย
- เลือกรูปแบบการขาย
- เลือกหมวดหมู่
- กำหนดหัวข้อ (Title) สินค้าของคุณในการขาย
- เลือกทางเลือกสำหรับการประกาศขาย
- เขียนคำอธิบายสินค้าให้ดี
- การตั้งราคา
- ตั้งเวลาในการประมูล
- ให้ข้อมูลที่ตั้งของสินค้า
- เพิ่มรูปภาพของสินค้าของคุณ
- ทำให้สินค้าของคุณเด่นด้วยการเพิ่มจุดสนใจ
- การให้ข้อมูลการชำระเงิน
- การให้ข้อมูลการขนส่ง 3. ส่งของ
- กำหนดวิธีการส่งของ (dhl.co.th, thailandpost.co.th, fedex.com/th) 4. ชำระเงิน
- เลือกวิธีรับชำระเงิน
rspsocial
Thaiall.com